✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคซิฟิลิสคืออะไร?
สาเหตุของโรคซิฟิลิส
อาการของโรคซิฟิลิส
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การวินิจฉัยและการรักษาโรคซิฟิลิส
การป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิส
บุคคลที่มีความเสี่ยงและควรตรวจหาเชื้อซิฟิลิส
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคซิฟิลิส
โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema Pallidum) ที่สามารถแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางการสัมผัสผู้มีเชื้อ ทั้งการจูบ การมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสแผล การรับเลือดมาจากผู้ติดเชื้อ หรือการสัมผัสเข็มที่ติดเชื้อ
โดยปัญหาส่วนใหญ่คือผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสนั้นมักจะไม่รู้ตัวว่าตนเองได้รับเชื้อ เนื่องจากการดำเนินของโรคหลังจากที่ได้รับเชื้อแล้วจะเป็นไปอย่างเงียบๆ ก่อนจะแสดงอาการขึ้นมาในระยะเวลาหลายปีให้หลัง ซึ่งในทางการแพทย์จะเรียกระยะนี้ว่า ระยะแฝง (Latent Phase) หากเกิดการติดเชื้อแล้วตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าหากปล่อยไว้โดยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ก็อาจทำให้เกิดปัญหารุนแรงตามมาในภายหลัง
ในปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดในหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรคซิฟิลิส ความจริงแล้วเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema Pallidum) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ทำให้โรคซิฟิลิสไม่สามารถติดต่อผ่านการใส่เสื้อผ้าร่วมกัน การใช้ห้องน้ำร่วมกัน การรับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกัน หรือการติดต่อจากการสัมผัสลูกบิดประตู รวมถึงการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ร่วมกัน
ดังนั้นสาเหตุของการติดเชื้อที่พบบ่อยได้ที่สุด คือ การได้รับเชื้อโดยตรงผ่านทางรอยขีดข่วนหรือบาดแผลเล็กๆ บนผิวหนัง รวมไปถึงบริเวณเยื่อบุต่างๆ โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นแผลและมีเชื้ออยู่ นอกจากนี้เชื้อซิฟิลิสยังสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรได้อีกด้วย
การติดเชื้อซิฟิลิสจะมีการดำเนินของโรคแบ่งเป็น 4 ระยะ โดยแต่ละระยะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม การดำเนินของโรคซิฟิลิสอาจไม่ได้ดำเนินตามระยะ 1-4 อาจจะมีการสลับหรือซ้อนทับกันของระยะต่างๆ ได้
โรคซิฟิลิสโดยกำเนิดเกิดจากการแพร่เชื้อซิฟิลิสจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ โดยสามารถติดต่อผ่านทางรกหรือเกิดการติดเชื้อในระหว่างการคลอดได้ การติดเชื้อซิฟิลิสโดยกำเนิดนั้นอาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือเกิดการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดได้ โดยส่วนใหญ่ทารกที่ติดเชื้อมักจะไม่แสดงอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน บางรายอาจมีผื่นขึ้นที่บริเวณฝ่ามือหรือฝ่าเท้า
ในเวลาต่อมาทารกที่ติดเชื้อซิฟิลิสอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินผิดปกติ ตาบอด มีความผิดปกติทางโครงสร้างต่างๆ เช่น มีโครงสร้างฟันผิดปกติ หรือมีรูปร่างจมูกผิดปกติ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวเรียกว่า จมูกแบบซิฟิลิส (Syphilis nose) หรือจมูกอานม้า (Saddle nose) ซึ่งส่วนของดั้งจมูกจะแฟบบุ๋มลงไป หากสามารถตรวจพบและรักษาอาการได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการให้ยาปฏิชีวนะเพนิซิลลิน (Penicillin) ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ได้
หากเกิดการติดเชื้อและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลต่อหัวใจ สมอง และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เนื่องจากการติดเชื้อซิฟิลิสมีความเกี่ยวข้องกับโรคเส้นเลือดแดงโป่งพอง (Arterial Aneurysm) การอักเสบของเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Inflammation of Aorta) ซึ่งเป็นเส้นเลือดแดงหลักของร่างกาย และอาจก่อให้เกิดบาดเจ็บต่อลิ้นหัวใจได้เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้โรคซิฟิลิสยังก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท และระบบไหลเวียนโลหิตอีกหลายประการ เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ ตัน หรือฉีกขาด (Stroke) และโรคเยื่อหุ้มไขสันหลังอักเสบ (Meningitis) ที่สำคัญการติดเชื้อซิฟิลิสยังก่อให้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) อีกด้วย
เมื่อได้รับเชื้อซิฟิลิสอาจจะไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นในทันที แต่หากผ่านไปสัก 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นแล้วสังเกตเห็นผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ศีรษะ มีผมร่วง หรือก่อนหน้านี้มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเชื้อ ยิ่งรักษาได้เร็วเท่าไหร่ก็จะสามารถหายได้เร็วเท่านั้น
การตรวจและยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิสสามารถทำได้โดยการใช้วิธีเจาะเลือดหาแอนติบอดี (Antibody) ที่ร่างกายสร้างขึ้นมา โดยแอนติบอดีต่อเชื้อซิฟิลิสนั้นจะคงอยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานานหลายปี ทำให้การตรวจด้วยวิธีนี้สามารถบ่งบอกถึงการติดเชื้อในอดีตได้ด้วย
นอกจากนี้หากเกิดการติดเชื้อซิฟิลิสในระยะต้นและระยะที่สอง แพทย์อาจทำการเก็บตัวอย่างเซลล์จากบริเวณบาดแผลหรือบริเวณผื่นเพื่อนำไปทำการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าหากมีการติดเชื้อโรคซิฟิลิสในระยะที่สามและเกิดอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท แพทย์อาจมีความจำเป็นที่จะต้องเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar Puncture) เพื่อนำไปตรวจหาความผิดปกติต่อไป
ในผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคซิฟิลิสและได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยที่ไม่เกิดผลแทรกซ้อนในระยะยาว โดยวิธีรักษาโรคซิฟิลิสทำได้โดยการใช้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ซึ่งถ้าหากพบว่าผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี ก็จะสามารถรักษาและหยุดการลุกลามของโรคได้เพียงแค่ฉีดยาเพนิซิลลิน 1 เข็มเท่านั้น
ในช่วงของการเข้ารับการรักษา แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าผู้ป่วยจะได้รับการยืนยันว่าหายขาดจากโรคนี้แล้วแน่นอน นอกจากนี้คู่นอนของผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยโรคอย่างครบถ้วนเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อด้วยเช่นกัน
การป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ และควรมีเพศสัมพันธ์เฉพาะสามี-ภรรยาหรือคู่นอนของตนเองเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการได้รับเชื้อโรคมาโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมา หรือยาเสพติดประเภทต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการขาดสติ ขาดความยับยั้งชั่งใจ ที่อาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันได้
กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงและควรตรวจหาเชื้อซิฟิลิส คือ กลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ และมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน รวมไปถึงบุคคลที่มีความสงสัยว่าคู่นอนของตนเองมีอาการป่วยที่คล้ายกันกับโรคซิฟิลิส นอกจากนี้คู่ที่กำลังแต่งงานหรือสตรีที่เตรียมพร้อมจะมีบุตร ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายว่ามีความเสี่ยงต่อการติดโรคซิฟิลิสหรือมีเชื้อโรคซิฟิลิสแฝงอยู่ในร่างกายหรือไม่ เพราะถ้าหากมีการติดเชื้อก็จะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
การตรวจโรคซิฟิลิสมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานที่ๆ และวิธีที่ใช้ตรวจ (อัพเดทราคาล่าสุด มิถุนายน 2021)
ขึ้นอยู่กับสิทธิประกันสังคม ประกันสุขภาพต่าง ๆ มี โดยอาจมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 50 – 500 บาท
ค่าใช้จ่ายในการตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนจะแตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล จึงควรติดต่อสอบถามรายละเอียดล่วงหน้าก่อนการเข้ารับการตรวจ
ต่างกัน เนื่องจากโรคซิฟิลิสเกิดจากการได้รับเชื้อทรีโพนีมา แพลลิดัม แต่โรคเอดส์เกิดจากการได้รับเชื้อ HIV ในกรณีที่ผู้ป่วยซิฟิลิสเป็นเอดส์ด้วย เนื่องจากการเป็นโรคซิฟิลิสทำให้เกิดแผลซิฟิลิสตามร่างกายส่งผลให้ได้รับเชื้อ HIV ต้นเหตุของโรคเอดส์ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
ผู้ที่มีแผนจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อซิฟิลิสก่อน เพราะเด็กทารกที่ได้รับเชื้อซิฟิลิสทำให้มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในครรภ์ หรือเกิดมาพิการได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นซิฟิลิสและยังไม่หายขาดจึงไม่ควรมีลูก
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคซิฟิลิสคืออะไร?
สาเหตุของโรคซิฟิลิส
อาการของโรคซิฟิลิส
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การวินิจฉัยและการรักษาโรคซิฟิลิส
การป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิส
บุคคลที่มีความเสี่ยงและควรตรวจหาเชื้อซิฟิลิส
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคซิฟิลิส
โรคซิฟิลิส (Syphilis) เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema Pallidum) ที่สามารถแพร่เชื้อเข้าสู่ร่างกายได้ผ่านทางการสัมผัสผู้มีเชื้อ ทั้งการจูบ การมีเพศสัมพันธ์ การสัมผัสแผล การรับเลือดมาจากผู้ติดเชื้อ หรือการสัมผัสเข็มที่ติดเชื้อ
โดยปัญหาส่วนใหญ่คือผู้ที่เป็นโรคซิฟิลิสนั้นมักจะไม่รู้ตัวว่าตนเองได้รับเชื้อ เนื่องจากการดำเนินของโรคหลังจากที่ได้รับเชื้อแล้วจะเป็นไปอย่างเงียบๆ ก่อนจะแสดงอาการขึ้นมาในระยะเวลาหลายปีให้หลัง ซึ่งในทางการแพทย์จะเรียกระยะนี้ว่า ระยะแฝง (Latent Phase) หากเกิดการติดเชื้อแล้วตรวจพบได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ก็จะสามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ถ้าหากปล่อยไว้โดยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี ก็อาจทำให้เกิดปัญหารุนแรงตามมาในภายหลัง
ในปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดในหลายประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อโรคซิฟิลิส ความจริงแล้วเชื้อแบคทีเรียทรีโพนีมา แพลลิดัม (Treponema Pallidum) เป็นเชื้อแบคทีเรียที่ถูกทำลายได้ง่ายด้วยความร้อน สบู่ และน้ำยาฆ่าเชื้อ ทำให้โรคซิฟิลิสไม่สามารถติดต่อผ่านการใส่เสื้อผ้าร่วมกัน การใช้ห้องน้ำร่วมกัน การรับประทานอาหารจากภาชนะเดียวกัน หรือการติดต่อจากการสัมผัสลูกบิดประตู รวมถึงการใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ร่วมกัน
ดังนั้นสาเหตุของการติดเชื้อที่พบบ่อยได้ที่สุด คือ การได้รับเชื้อโดยตรงผ่านทางรอยขีดข่วนหรือบาดแผลเล็กๆ บนผิวหนัง รวมไปถึงบริเวณเยื่อบุต่างๆ โดยเฉพาะการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่เป็นแผลและมีเชื้ออยู่ นอกจากนี้เชื้อซิฟิลิสยังสามารถติดต่อจากแม่สู่ลูกในระหว่างการตั้งครรภ์และการคลอดบุตรได้อีกด้วย
การติดเชื้อซิฟิลิสจะมีการดำเนินของโรคแบ่งเป็น 4 ระยะ โดยแต่ละระยะจะมีอาการที่แตกต่างกันออกไป อย่างไรก็ตาม การดำเนินของโรคซิฟิลิสอาจไม่ได้ดำเนินตามระยะ 1-4 อาจจะมีการสลับหรือซ้อนทับกันของระยะต่างๆ ได้
โรคซิฟิลิสโดยกำเนิดเกิดจากการแพร่เชื้อซิฟิลิสจากมารดาสู่ทารกในครรภ์ โดยสามารถติดต่อผ่านทางรกหรือเกิดการติดเชื้อในระหว่างการคลอดได้ การติดเชื้อซิฟิลิสโดยกำเนิดนั้นอาจทำให้เกิดการคลอดก่อนกำหนด หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นทารกเสียชีวิตในครรภ์ หรือเกิดการเสียชีวิตในทารกแรกเกิดได้ โดยส่วนใหญ่ทารกที่ติดเชื้อมักจะไม่แสดงอาการที่สังเกตเห็นได้ชัดเจน บางรายอาจมีผื่นขึ้นที่บริเวณฝ่ามือหรือฝ่าเท้า
ในเวลาต่อมาทารกที่ติดเชื้อซิฟิลิสอาจเกิดปัญหาเกี่ยวกับการได้ยินผิดปกติ ตาบอด มีความผิดปกติทางโครงสร้างต่างๆ เช่น มีโครงสร้างฟันผิดปกติ หรือมีรูปร่างจมูกผิดปกติ ซึ่งมีลักษณะเฉพาะตัวเรียกว่า จมูกแบบซิฟิลิส (Syphilis nose) หรือจมูกอานม้า (Saddle nose) ซึ่งส่วนของดั้งจมูกจะแฟบบุ๋มลงไป หากสามารถตรวจพบและรักษาอาการได้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยการให้ยาปฏิชีวนะเพนิซิลลิน (Penicillin) ก็จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดอาการต่างๆ เหล่านี้ได้
หากเกิดการติดเชื้อและไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง อาจส่งผลต่อหัวใจ สมอง และอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ เนื่องจากการติดเชื้อซิฟิลิสมีความเกี่ยวข้องกับโรคเส้นเลือดแดงโป่งพอง (Arterial Aneurysm) การอักเสบของเส้นเลือดแดงใหญ่เอออร์ต้า (Inflammation of Aorta) ซึ่งเป็นเส้นเลือดแดงหลักของร่างกาย และอาจก่อให้เกิดบาดเจ็บต่อลิ้นหัวใจได้เช่นเดียวกัน
นอกจากนี้โรคซิฟิลิสยังก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท และระบบไหลเวียนโลหิตอีกหลายประการ เช่น โรคหลอดเลือดสมองแตก ตีบ ตัน หรือฉีกขาด (Stroke) และโรคเยื่อหุ้มไขสันหลังอักเสบ (Meningitis) ที่สำคัญการติดเชื้อซิฟิลิสยังก่อให้ความเสี่ยงต่อการติดเชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV) อีกด้วย
เมื่อได้รับเชื้อซิฟิลิสอาจจะไม่มีอาการที่แสดงให้เห็นในทันที แต่หากผ่านไปสัก 3 สัปดาห์หรือมากกว่านั้นแล้วสังเกตเห็นผื่นที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ศีรษะ มีผมร่วง หรือก่อนหน้านี้มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ป้องกัน ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจเชื้อ ยิ่งรักษาได้เร็วเท่าไหร่ก็จะสามารถหายได้เร็วเท่านั้น
การตรวจและยืนยันการติดเชื้อซิฟิลิสสามารถทำได้โดยการใช้วิธีเจาะเลือดหาแอนติบอดี (Antibody) ที่ร่างกายสร้างขึ้นมา โดยแอนติบอดีต่อเชื้อซิฟิลิสนั้นจะคงอยู่ในร่างกายเป็นระยะเวลานานหลายปี ทำให้การตรวจด้วยวิธีนี้สามารถบ่งบอกถึงการติดเชื้อในอดีตได้ด้วย
นอกจากนี้หากเกิดการติดเชื้อซิฟิลิสในระยะต้นและระยะที่สอง แพทย์อาจทำการเก็บตัวอย่างเซลล์จากบริเวณบาดแผลหรือบริเวณผื่นเพื่อนำไปทำการตรวจหาเชื้อแบคทีเรีย แต่ถ้าหากมีการติดเชื้อโรคซิฟิลิสในระยะที่สามและเกิดอาการแทรกซ้อนทางระบบประสาท แพทย์อาจมีความจำเป็นที่จะต้องเจาะน้ำไขสันหลัง (Lumbar Puncture) เพื่อนำไปตรวจหาความผิดปกติต่อไป
ในผู้ป่วยที่ตรวจพบโรคซิฟิลิสและได้รับการรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ นั้นสามารถรักษาให้หายขาดได้โดยที่ไม่เกิดผลแทรกซ้อนในระยะยาว โดยวิธีรักษาโรคซิฟิลิสทำได้โดยการใช้ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) เป็นยาปฏิชีวนะชนิดหนึ่ง ซึ่งถ้าหากพบว่าผู้ป่วยเกิดการติดเชื้อในระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี ก็จะสามารถรักษาและหยุดการลุกลามของโรคได้เพียงแค่ฉีดยาเพนิซิลลิน 1 เข็มเท่านั้น
ในช่วงของการเข้ารับการรักษา แพทย์จะแนะนำให้ผู้ป่วยงดการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าผู้ป่วยจะได้รับการยืนยันว่าหายขาดจากโรคนี้แล้วแน่นอน นอกจากนี้คู่นอนของผู้ป่วยควรเข้ารับการตรวจและวินิจฉัยโรคอย่างครบถ้วนเพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อด้วยเช่นกัน
การป้องกันการติดเชื้อซิฟิลิสสามารถป้องกันได้ด้วยการใช้ถุงยางอนามัยระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ และควรมีเพศสัมพันธ์เฉพาะสามี-ภรรยาหรือคู่นอนของตนเองเพียงคนเดียวเท่านั้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการได้รับเชื้อโรคมาโดยไม่รู้ตัว นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์ เครื่องดื่มมึนเมา หรือยาเสพติดประเภทต่างๆ ที่ส่งผลให้เกิดการขาดสติ ขาดความยับยั้งชั่งใจ ที่อาจนำไปสู่การมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกันได้
กลุ่มบุคคลที่มีความเสี่ยงและควรตรวจหาเชื้อซิฟิลิส คือ กลุ่มบุคคลที่มีพฤติกรรมการเปลี่ยนคู่นอนบ่อยๆ และมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน รวมไปถึงบุคคลที่มีความสงสัยว่าคู่นอนของตนเองมีอาการป่วยที่คล้ายกันกับโรคซิฟิลิส นอกจากนี้คู่ที่กำลังแต่งงานหรือสตรีที่เตรียมพร้อมจะมีบุตร ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจเช็คร่างกายว่ามีความเสี่ยงต่อการติดโรคซิฟิลิสหรือมีเชื้อโรคซิฟิลิสแฝงอยู่ในร่างกายหรือไม่ เพราะถ้าหากมีการติดเชื้อก็จะได้เข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที
การตรวจโรคซิฟิลิสมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับสถานที่ๆ และวิธีที่ใช้ตรวจ (อัพเดทราคาล่าสุด มิถุนายน 2021)
ขึ้นอยู่กับสิทธิประกันสังคม ประกันสุขภาพต่าง ๆ มี โดยอาจมีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 50 – 500 บาท
ค่าใช้จ่ายในการตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนจะแตกต่างกันไปในแต่ละโรงพยาบาล จึงควรติดต่อสอบถามรายละเอียดล่วงหน้าก่อนการเข้ารับการตรวจ
ต่างกัน เนื่องจากโรคซิฟิลิสเกิดจากการได้รับเชื้อทรีโพนีมา แพลลิดัม แต่โรคเอดส์เกิดจากการได้รับเชื้อ HIV ในกรณีที่ผู้ป่วยซิฟิลิสเป็นเอดส์ด้วย เนื่องจากการเป็นโรคซิฟิลิสทำให้เกิดแผลซิฟิลิสตามร่างกายส่งผลให้ได้รับเชื้อ HIV ต้นเหตุของโรคเอดส์ได้ง่ายขึ้นนั่นเอง
ผู้ที่มีแผนจะตั้งครรภ์ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจหาเชื้อซิฟิลิสก่อน เพราะเด็กทารกที่ได้รับเชื้อซิฟิลิสทำให้มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตในครรภ์ หรือเกิดมาพิการได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นซิฟิลิสและยังไม่หายขาดจึงไม่ควรมีลูก
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล