✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
Table of Content
ตากุ้งยิงคืออะไร?
ประเภทของตากุ้งยิง
สาเหตุของตากุ้งยิง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดตากุ้งยิง
อาการตากุ้งยิง
ภาวะแทรกซ้อนจากตากุ้งยิง
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาตากุ้งยิง
ยารักษาตากุ้งยิง
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นตากุ้งยิง
การป้องกันตากุ้งยิง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับตากุ้งยิง
ตากุ้งยิง (Stye) เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา สามารถเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการอุดตันของต่อมไขมันในรูขุมขนบริเวณดังกล่าวก็ได้เช่นกัน ทำให้ตากุ้งยิงมีลักษณะคล้ายกับการเป็นสิว สร้างความรู้สึกไม่สบายตา สำหรับบางกรณีอาจมีอาการคันและน้ำตาไหลร่วมด้วย
โรคตากุ้งยิงมี 2 ชนิด คือ
อาการของผู้ที่เป็นตากุ้งยิงที่เห็นได้ชัดคือ อาการบวมแดงของเปลืองตามีลักษณะคล้ายเป็นสิว บางรายมีไข้ร่วมด้วย แต่นอกจากนี้ผู้ที่เป็นตากุ้งยิ่งยังมีอาการอื่นๆ ดังนี้
ปกติแล้วตากุ้งยิงสามารถหายได้ด้วยตัวเอง แต่ในบางกรณีที่อาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้การอักเสบลุกลามมากขึ้นได้ เช่น การอับเสบอาจลามไปที่เนื้อเยื่ออื่นๆ รอบเปลือกตา ทำให้ตาอักเสบมากขึ้นและขยายวงกว้างออกไป เรียกว่า Preseptal Cellulitis ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนทางตาที่พบได้บ่อย
ถึงแม้ตากุ้งยิงที่รู้สึกเจ็บหรือบวมจากการอักเสบจะสามารถหายไปเองได้ แต่หากมีอาการติดเชื้อที่มากขึ้นหรืออาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เช่น เริ่มมีหนองที่มีลักษณะเป็นก้อนที่ตาและเริ่มปวด มีอาการบวมแดงเพิ่มขึ้น เริ่มมีอาการตาพร่า
ช่วงแรกของการเป็นตากุ้งยิงสามารถรักษาเองได้ที่บ้าน ดังนี้
ตากุ้งยิงบางชนิดเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถติดกันได้จากการสัมผัสแผลโดยตรง สัมผัสสิ่งของ หรือใช้ของร่วมกัน นอกจากนี้ตากุ้งยิงมักจะเกิดขึ้นที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง แต่การเผลอขยี้ตาหรือจับตาบ่อยๆ อาจทำให้ติดเชื้อที่ตาอีกข้างหนึ่งด้วย
อย่างไรก็ตาม โอกาสที่เชื้อตากุ้งยิงจะติดต่อจากคนสู่คนมีน้อยมากๆ
โรคตากุ้งยิงสามารถหายเองได้ โดยตุ่มหนองจะหายไปเองใน 4-5 วัน ดังนั้นเพื่อให้ไม่มีการติดเชื้อหรืออักเสบเพิ่มเติมจึงไม่ควรเอามือสัมผัสกับดวงตาและรอบๆ ดวงตาโดยเฉพาะการขยี้ตา
ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบดวงตาเพื่อลดการอักเสบบวมของเปลือกตา และทำความสะอาดรอบๆ ดวงตาให้สะอาด อาจใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตาร่วมด้วยเพื่อลดการติดเชื้อแบคทีเรีย
ผู้ป่วยที่ตุ่มหนองหายเองจากการใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตา รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะและขูดหนองออกอาจเกิดตากุ้งยิงซ้ำได้ เนื่องจากหนองออกไม่หมดทำให้เกิดการอักเสบซ้ำ รวมถึงอาจเกิดหนองซ้ำได้หากไม่รักษาความสะอาดรอบๆ ดวงตา
การบีบหนองไม่ช่วยให้ตากุ้งยิงหายเร็วขึ้น แต่กลับทำให้เสี่ยงต่อการอักเสบเพิ่มขึ้น หรือมีเชื้อแบคทีเรียลามไปติดยังเนื้อเยื่ออื่นๆ รอบดวงตาอีกด้วย หากต้องการบีบควรทำโดยแพทย์หรือพยาบาล
หากมีการอักเสบที่เปลือกตาและมีอาการบวมแดง หรือที่เรียกว่า Preseptal Cellulitis จะทำให้ผู้ป่วยมีไข้ได้
ก่อนการเจาะหนองแพทย์จะทำการหยอดยาชาที่บริเวณตาข้างที่จะดูดเพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างการดูดเจาะหนองออกมา หลังจากยาชาออกฤทธิ์แล้วแพทย์จะใช้เข็มเบอร์เล็กในการดูดหนองออกมาเพื่อให้อาการช้ำหลังจากนี้น้อยที่สุด ดังนั้นการเจาะหนองตากุ้งยิงจึงเจ็บน้อยลง
เป็นตากุ้งยิงควรใช้การประคบร้อน โดยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นแล้วประคบที่ตา 10-15 นาที เพื่อให้ลดการอักเสบที่บริเวณเปลือกตาและช่วยให้เปลือกตาที่เกิดการบวมแดงลดลงได้ด้วย
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
Table of Content
ตากุ้งยิงคืออะไร?
ประเภทของตากุ้งยิง
สาเหตุของตากุ้งยิง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดตากุ้งยิง
อาการตากุ้งยิง
ภาวะแทรกซ้อนจากตากุ้งยิง
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาตากุ้งยิง
ยารักษาตากุ้งยิง
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นตากุ้งยิง
การป้องกันตากุ้งยิง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับตากุ้งยิง
ตากุ้งยิง (Stye) เกิดจากการอักเสบของต่อมไขมันบริเวณเปลือกตา สามารถเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียหรือการอุดตันของต่อมไขมันในรูขุมขนบริเวณดังกล่าวก็ได้เช่นกัน ทำให้ตากุ้งยิงมีลักษณะคล้ายกับการเป็นสิว สร้างความรู้สึกไม่สบายตา สำหรับบางกรณีอาจมีอาการคันและน้ำตาไหลร่วมด้วย
โรคตากุ้งยิงมี 2 ชนิด คือ
อาการของผู้ที่เป็นตากุ้งยิงที่เห็นได้ชัดคือ อาการบวมแดงของเปลืองตามีลักษณะคล้ายเป็นสิว บางรายมีไข้ร่วมด้วย แต่นอกจากนี้ผู้ที่เป็นตากุ้งยิ่งยังมีอาการอื่นๆ ดังนี้
ปกติแล้วตากุ้งยิงสามารถหายได้ด้วยตัวเอง แต่ในบางกรณีที่อาการรุนแรงจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ไม่เช่นนั้นอาจทำให้การอักเสบลุกลามมากขึ้นได้ เช่น การอับเสบอาจลามไปที่เนื้อเยื่ออื่นๆ รอบเปลือกตา ทำให้ตาอักเสบมากขึ้นและขยายวงกว้างออกไป เรียกว่า Preseptal Cellulitis ซึ่งเป็นอาการแทรกซ้อนทางตาที่พบได้บ่อย
ถึงแม้ตากุ้งยิงที่รู้สึกเจ็บหรือบวมจากการอักเสบจะสามารถหายไปเองได้ แต่หากมีอาการติดเชื้อที่มากขึ้นหรืออาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยควรไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา เช่น เริ่มมีหนองที่มีลักษณะเป็นก้อนที่ตาและเริ่มปวด มีอาการบวมแดงเพิ่มขึ้น เริ่มมีอาการตาพร่า
ช่วงแรกของการเป็นตากุ้งยิงสามารถรักษาเองได้ที่บ้าน ดังนี้
ตากุ้งยิงบางชนิดเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถติดกันได้จากการสัมผัสแผลโดยตรง สัมผัสสิ่งของ หรือใช้ของร่วมกัน นอกจากนี้ตากุ้งยิงมักจะเกิดขึ้นที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง แต่การเผลอขยี้ตาหรือจับตาบ่อยๆ อาจทำให้ติดเชื้อที่ตาอีกข้างหนึ่งด้วย
อย่างไรก็ตาม โอกาสที่เชื้อตากุ้งยิงจะติดต่อจากคนสู่คนมีน้อยมากๆ
โรคตากุ้งยิงสามารถหายเองได้ โดยตุ่มหนองจะหายไปเองใน 4-5 วัน ดังนั้นเพื่อให้ไม่มีการติดเชื้อหรืออักเสบเพิ่มเติมจึงไม่ควรเอามือสัมผัสกับดวงตาและรอบๆ ดวงตาโดยเฉพาะการขยี้ตา
ควรใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นประคบดวงตาเพื่อลดการอักเสบบวมของเปลือกตา และทำความสะอาดรอบๆ ดวงตาให้สะอาด อาจใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตาร่วมด้วยเพื่อลดการติดเชื้อแบคทีเรีย
ผู้ป่วยที่ตุ่มหนองหายเองจากการใช้ยาหยอดตาหรือยาป้ายตา รวมถึงผู้ป่วยที่ได้รับการเจาะและขูดหนองออกอาจเกิดตากุ้งยิงซ้ำได้ เนื่องจากหนองออกไม่หมดทำให้เกิดการอักเสบซ้ำ รวมถึงอาจเกิดหนองซ้ำได้หากไม่รักษาความสะอาดรอบๆ ดวงตา
การบีบหนองไม่ช่วยให้ตากุ้งยิงหายเร็วขึ้น แต่กลับทำให้เสี่ยงต่อการอักเสบเพิ่มขึ้น หรือมีเชื้อแบคทีเรียลามไปติดยังเนื้อเยื่ออื่นๆ รอบดวงตาอีกด้วย หากต้องการบีบควรทำโดยแพทย์หรือพยาบาล
หากมีการอักเสบที่เปลือกตาและมีอาการบวมแดง หรือที่เรียกว่า Preseptal Cellulitis จะทำให้ผู้ป่วยมีไข้ได้
ก่อนการเจาะหนองแพทย์จะทำการหยอดยาชาที่บริเวณตาข้างที่จะดูดเพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างการดูดเจาะหนองออกมา หลังจากยาชาออกฤทธิ์แล้วแพทย์จะใช้เข็มเบอร์เล็กในการดูดหนองออกมาเพื่อให้อาการช้ำหลังจากนี้น้อยที่สุด ดังนั้นการเจาะหนองตากุ้งยิงจึงเจ็บน้อยลง
เป็นตากุ้งยิงควรใช้การประคบร้อน โดยการใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นแล้วประคบที่ตา 10-15 นาที เพื่อให้ลดการอักเสบที่บริเวณเปลือกตาและช่วยให้เปลือกตาที่เกิดการบวมแดงลดลงได้ด้วย
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล