✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
ความเครียดคืออะไร?
ความเครียดเกิดจากอะไร?
ความเครียดและความวิตกกังวลต่างกันอย่างไร?
ความเครียดมีกี่ประเภท?
อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเครียด
ภาวะแทรกซ้อนจากความเครียด
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
จัดการกับความเครียดอย่างไร?
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเกิดความเครียด
ความเครียด (Stress) เป็นภาวะทางจิตใจที่ร่างกายตอบสนองต่อความทุกข์ และความกดดันในรูปแบบของอารมณ์โกรธ สับสนและเสียใจเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์รวมถึงสถานการณ์ใหม่ๆ ความเครียดที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนาความรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาและสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ รวมถึงด้านพฤติกรรม
เราทุกคนต่างเคยเผชิญกับ “ความเครียด” แต่ความสามารถในการรับมือกับความเครียดของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม เหตุการณ์ในชีวิตที่เคยเผชิญ รวมถึงบุคลิกหรือลักษณะนิสัยส่วนบุคคล
ความเครียดเกิดจากการเผชิญสิ่งต่างๆ ในชีวิต สามารถจำแนกต้นเหตุของความเครียดได้ ดังนี้
เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนความเครียด เพื่อต่อสู้กับความเครียดรวมถึงกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้นกันในร่างกาย ประโยชน์ของฮอร์โมนความเครียดคือ ช่วยให้เราตอบสนองหรือหาทางแก้ไขเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียดเหล่านี้ เช่น ช่วยให้เรากล้าที่จะพูด กล้าที่จะทำอะไรบางอย่าง แต่หากร่างกายหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้มากเกิดไปหรือติดต่อกันนานๆ อาจกลายเป็นผลเสียได้ เช่น ทำให้เรารับมือกับความเครียดได้ยาก ทำให้รู้สึกอึดอัดใจ นานไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจและร่างกายได้
ความเครียดและความวิตกกังวลมีความแตกต่างอยู่ที่ช่วงเวลาของเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยประสบ โดยความเครียดจะเป็นภาวะทางจิตใจที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ตัวเองกำลังประสบอยู่ หรือเคยเผชิญเหตุการณ์ในอดีตแล้วย้อนกลับมาเกิดซ้ำอีก
ในขณะที่ความวิตกกังวลจะเป็นภาวะความไม่สบายใจ หวาดหวั่นและตึงเครียด เมื่อได้รับรู้หรือคาดการณ์ความเลวร้าย รวมถึงความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองในอนาคต ความวิตกกังวลก็สามารถสร้างผลเสียให้กับร่างกายและจิตใจได้เช่นกัน
ความเครียดสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รวบรวมกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียดโดยเฉพาะไว้ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับที่ 11 (ICD-11) ไว้ทั้งหมด 8 โรค ดังนี้
อาการเครียดที่เกิดขึ้นได้เปลี่ยนแปลงร่างกายหลายๆ ด้าน จะเป็นสัญญาณเตือนที่ดีว่าผู้ป่วยกำลังเครียดอยู่ โดยจะแบ่งกลุ่มอาการได้ ดังนี้
นอกจากความรู้สึกที่เปลี่ยนไปแล้ว ความเครียดยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบต่างๆ ในร่างกายได้อีกด้วย ได้แก่
ถือเป็นอาการแทรกซ้อนจากความเครียดที่พบบ่อยที่สุด โดยลักษณะการปวดจะเป็นชนิดกดบีบหรือรัดแน่นบริเวณท้ายทอย ร้าวขึ้นไปถึงบริเวณขมับและหน้าผาก บางกรณีอาจรู้สึกปวดทั้งศีรษะหรืออาจปวดร่วมกับไมเกรนด้วยก็ได้
ความเครียดส่งผลต่อการสื่อสารระหว่างสำไส้และสมอง ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าลำไส้ปั่นป่วนซึ่งเกิดมาจากความเครียด โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดท้องหรือมีแก๊สในท้อง รวมถึงส่งผลให้จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุลจนนำไปสู่โรคระบบทางเดินอาหาร (Digestive disease) ต่างๆ ตามมา อย่างโรคกระเพาะอาหารหรือที่เรียกว่า เครียดลงกระเพาะ
ความเครียดจะส่งผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวกับการกิน ทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ที่มีภาวะเครียดเปลี่ยนแปลงไป บางรายมีพฤติกรรมกินจุบจิบ กินมากกว่าปกติ รวมถึงกินหนักกลางดึก แต่ในบางรายกลับกินน้อยกว่าปกติ
เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ซึ่งอะดรีนาลีนจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ในขณะที่คอร์ติซอลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและเพิ่มคอเลสเตอรอล ในระยะยาวส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง
หากผู้ป่วยมีอาการเครียดหนักขึ้นดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา
การจัดการกับความเครียดไม่เพียงแค่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
ไม่เหมือนกัน เนื่องจากความเครียดเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อเหตุการณ์กดดันหรือความทุกข์ใจและไม่ใช่โรคจิตเวช ส่วนโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากเหตุการณ์ร้ายแรงหรือมีสิ่งที่กระทบจิตใจจนทำให้รู้สึกเศร้าหมองหรือเสียใจติดต่อกันเป็นเวลานาน
ภาวะเครียดไม่เพียงแต่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะเท่านั้น ยังทำให้เลือดมีความหนืดเนื่องจากมีไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวใจบีบตัวแรงและเต้นเร็วขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำรู้สึกเจ็บหัวใจเมื่อเผชิญกับความเครียด
อันดับแรก จิตแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตั้งคำถามเพื่อประเมินอาการและความรุนแรงของภาวะเครียด และทำการบำบัดด้วยวิธีการต่างๆ รวมถึงการแนะนำให้ผู้ป่วยรับมือหรือกำจัดความเครียดได้ดีขึ้น ในกรณีที่มีความเครียดเรื้อรังจนส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร จิตแพทย์อาจจ่ายยารักษาอาการทางร่างกายร่วมด้วย
ต่อมน้ำเหลืองบวมโตอาจมีความสัมพันธ์กับความเครียดได้ เนื่องจากต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เมื่อเกิดความเครียดทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อปกป้องร่างกาย จึงอาจเป็นที่มาของความเครียดทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. ศิริลักษณ์ ลอดทอน (จิตแพทย์)
คลินิกส่วนตัว
แพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง จิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
ความเครียดคืออะไร?
ความเครียดเกิดจากอะไร?
ความเครียดและความวิตกกังวลต่างกันอย่างไร?
ความเครียดมีกี่ประเภท?
อาการที่บ่งบอกว่าคุณกำลังเครียด
ภาวะแทรกซ้อนจากความเครียด
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
จัดการกับความเครียดอย่างไร?
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการเกิดความเครียด
ความเครียด (Stress) เป็นภาวะทางจิตใจที่ร่างกายตอบสนองต่อความทุกข์ และความกดดันในรูปแบบของอารมณ์โกรธ สับสนและเสียใจเมื่อต้องเผชิญกับเหตุการณ์หรือสิ่งแวดล้อมที่ไม่พึงประสงค์รวมถึงสถานการณ์ใหม่ๆ ความเครียดที่เกิดขึ้นสามารถพัฒนาความรุนแรงจนกลายเป็นปัญหาและสามารถส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งด้านร่างกาย ด้านจิตใจ รวมถึงด้านพฤติกรรม
เราทุกคนต่างเคยเผชิญกับ “ความเครียด” แต่ความสามารถในการรับมือกับความเครียดของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับลักษณะทางพันธุกรรม เหตุการณ์ในชีวิตที่เคยเผชิญ รวมถึงบุคลิกหรือลักษณะนิสัยส่วนบุคคล
ความเครียดเกิดจากการเผชิญสิ่งต่างๆ ในชีวิต สามารถจำแนกต้นเหตุของความเครียดได้ ดังนี้
เมื่อต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ เหล่านี้ ร่างกายจะผลิตฮอร์โมนความเครียด เพื่อต่อสู้กับความเครียดรวมถึงกระตุ้นการทำงานของระบบภูมิคุ้นกันในร่างกาย ประโยชน์ของฮอร์โมนความเครียดคือ ช่วยให้เราตอบสนองหรือหาทางแก้ไขเมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ตึงเครียดเหล่านี้ เช่น ช่วยให้เรากล้าที่จะพูด กล้าที่จะทำอะไรบางอย่าง แต่หากร่างกายหลั่งฮอร์โมนชนิดนี้มากเกิดไปหรือติดต่อกันนานๆ อาจกลายเป็นผลเสียได้ เช่น ทำให้เรารับมือกับความเครียดได้ยาก ทำให้รู้สึกอึดอัดใจ นานไปอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตใจและร่างกายได้
ความเครียดและความวิตกกังวลมีความแตกต่างอยู่ที่ช่วงเวลาของเหตุการณ์ที่ผู้ป่วยประสบ โดยความเครียดจะเป็นภาวะทางจิตใจที่ตอบสนองต่อเหตุการณ์ที่ตัวเองกำลังประสบอยู่ หรือเคยเผชิญเหตุการณ์ในอดีตแล้วย้อนกลับมาเกิดซ้ำอีก
ในขณะที่ความวิตกกังวลจะเป็นภาวะความไม่สบายใจ หวาดหวั่นและตึงเครียด เมื่อได้รับรู้หรือคาดการณ์ความเลวร้าย รวมถึงความไม่แน่นอนของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นกับตัวเองในอนาคต ความวิตกกังวลก็สามารถสร้างผลเสียให้กับร่างกายและจิตใจได้เช่นกัน
ความเครียดสามารถจำแนกได้เป็น 3 ประเภทหลักๆ ดังนี้
นอกจากนี้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้รวบรวมกลุ่มโรคที่เกี่ยวข้องกับความเครียดโดยเฉพาะไว้ในบัญชีจำแนกทางสถิติระหว่างประเทศของโรคและปัญหาสุขภาพที่เกี่ยวข้อง ฉบับที่ 11 (ICD-11) ไว้ทั้งหมด 8 โรค ดังนี้
อาการเครียดที่เกิดขึ้นได้เปลี่ยนแปลงร่างกายหลายๆ ด้าน จะเป็นสัญญาณเตือนที่ดีว่าผู้ป่วยกำลังเครียดอยู่ โดยจะแบ่งกลุ่มอาการได้ ดังนี้
นอกจากความรู้สึกที่เปลี่ยนไปแล้ว ความเครียดยังทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่อระบบต่างๆ ในร่างกายได้อีกด้วย ได้แก่
ถือเป็นอาการแทรกซ้อนจากความเครียดที่พบบ่อยที่สุด โดยลักษณะการปวดจะเป็นชนิดกดบีบหรือรัดแน่นบริเวณท้ายทอย ร้าวขึ้นไปถึงบริเวณขมับและหน้าผาก บางกรณีอาจรู้สึกปวดทั้งศีรษะหรืออาจปวดร่วมกับไมเกรนด้วยก็ได้
ความเครียดส่งผลต่อการสื่อสารระหว่างสำไส้และสมอง ทำให้เกิดอาการที่เรียกว่าลำไส้ปั่นป่วนซึ่งเกิดมาจากความเครียด โดยผู้ป่วยจะรู้สึกปวดท้องหรือมีแก๊สในท้อง รวมถึงส่งผลให้จุลินทรีย์ในลำไส้เสียสมดุลจนนำไปสู่โรคระบบทางเดินอาหาร (Digestive disease) ต่างๆ ตามมา อย่างโรคกระเพาะอาหารหรือที่เรียกว่า เครียดลงกระเพาะ
ความเครียดจะส่งผลต่อระบบประสาทที่เกี่ยวกับการกิน ทำให้พฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ที่มีภาวะเครียดเปลี่ยนแปลงไป บางรายมีพฤติกรรมกินจุบจิบ กินมากกว่าปกติ รวมถึงกินหนักกลางดึก แต่ในบางรายกลับกินน้อยกว่าปกติ
เมื่อเกิดความเครียดร่างกายจะหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนและคอร์ติซอล ซึ่งอะดรีนาลีนจะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วขึ้น ในขณะที่คอร์ติซอลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและเพิ่มคอเลสเตอรอล ในระยะยาวส่งผลให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ ทั้งโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ โรคหัวใจวาย และโรคหลอดเลือดสมอง
หากผู้ป่วยมีอาการเครียดหนักขึ้นดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษา
การจัดการกับความเครียดไม่เพียงแค่ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ เท่านั้น แต่ยังช่วยให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น ด้วยวิธีต่างๆ ดังนี้
ไม่เหมือนกัน เนื่องจากความเครียดเป็นภาวะที่ร่างกายตอบสนองต่อเหตุการณ์กดดันหรือความทุกข์ใจและไม่ใช่โรคจิตเวช ส่วนโรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากเหตุการณ์ร้ายแรงหรือมีสิ่งที่กระทบจิตใจจนทำให้รู้สึกเศร้าหมองหรือเสียใจติดต่อกันเป็นเวลานาน
ภาวะเครียดไม่เพียงแต่ทำให้หัวใจเต้นผิดจังหวะเท่านั้น ยังทำให้เลือดมีความหนืดเนื่องจากมีไขมันในเลือดเพิ่มขึ้น ส่งผลให้หัวใจบีบตัวแรงและเต้นเร็วขึ้น จึงเป็นสาเหตุที่ทำรู้สึกเจ็บหัวใจเมื่อเผชิญกับความเครียด
อันดับแรก จิตแพทย์จะทำการวินิจฉัยโดยการตั้งคำถามเพื่อประเมินอาการและความรุนแรงของภาวะเครียด และทำการบำบัดด้วยวิธีการต่างๆ รวมถึงการแนะนำให้ผู้ป่วยรับมือหรือกำจัดความเครียดได้ดีขึ้น ในกรณีที่มีความเครียดเรื้อรังจนส่งผลให้เกิดปัญหาด้านสุขภาพ เช่น เกิดแผลในกระเพาะอาหาร จิตแพทย์อาจจ่ายยารักษาอาการทางร่างกายร่วมด้วย
ต่อมน้ำเหลืองบวมโตอาจมีความสัมพันธ์กับความเครียดได้ เนื่องจากต่อมน้ำเหลืองเป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย เมื่อเกิดความเครียดทำให้ระบบภูมิคุ้มกันลดลง ส่งผลให้ต่อมน้ำเหลืองต้องทำงานหนักขึ้นเพื่อปกป้องร่างกาย จึงอาจเป็นที่มาของความเครียดทำให้ต่อมน้ำเหลืองโต
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. ศิริลักษณ์ ลอดทอน (จิตแพทย์)
คลินิกส่วนตัว
แพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง จิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล