✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคงูสวัดคืออะไร?
ลักษณะผื่นงูสวัด
สาเหตุของโรคงูสวัด
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด
อาการของโรคงูสวัด
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคงูสวัด
ยารักษาโรคงูสวัด
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคงูสวัด
การป้องกันโรคงูสวัด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคงูสวัด
โรคงูสวัด มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Herpes Zoster หรือ Shingles คือโรคเกี่ยวกับปลายประสาทที่คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าเป็นโรคผิวหนัง เพราะแสดงอาการออกมาในลักษณะของผื่นหรือตุ่มได้ทั่วร่างกายที่มีเส้นประสาทพาดผ่าน สามารถพบได้บ่อยในคนทั่วไป
จากเว็บไซต์สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าอุบัติการณ์ของการเกิดผื่นจากงูสวัดอยู่ที่ 3.4 ราย ต่อ 1,000 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 50 – 90 ปี โดยพบ 11 ราย ต่อ 1,000 คน
ผื่นหรือตุ่มงูสวัดจะขึ้นบริเวณแนวบั้นเอว ชายโครง ใบหน้า แขน ขา หรือตามแนวเส้นประสาท ซึ่งจะขึ้นเพียงซีกหนึ่งซีกใดของร่างกายเท่านั้น
งูสวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpese) หรือชื่อเดิมคือ วาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส
โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำใสที่แตกและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หากไปสัมผัสเชื้อก็จะเป็นโรคอีสุกอีใสได้ ส่วนคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติและเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาแล้ว การสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วยมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้น้อยกว่า ซึ่งในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและเป็นงูสวัดแบบแพร่กระจาย จะสามารถแพร่เชื้อทางลมหายใจได้ด้วย
เมื่อเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะการหายใจหรือการสัมผัสตุ่มน้ำของผู้ป่วย จะทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส หลังจากนั้นเชื้อจะไปซ่อนอยู่ที่ปมประสาท เมื่อไหร่ที่ร่างกายอ่อนแอลงเชื้อก็จะเพิ่มจำนวนทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดเป็นงูสวัดตามผิวหนังนั่นเอง
ผู้ที่มีเชื้องูสวัดในสร่างกายเมื่อร่างกายอ่อนแอทำให้เชื้อกำเริบได้ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้สูงอายุที่ร่างกายเสื่อมลง ผู้ที่มีความเครียดสะสม ผู้ที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน ปัจจัยเหล่านี้ก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้เชื้องูสวัดแบ่งตัวได้มากขึ้น
อาการงูสวัดไม่ได้อันตรายร้ายแรง จะมีเพียงแค่ผื่นขึ้นตามร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง โดยเริ่มจากเกิดเป็นตุ่มแดง แล้วกลายเป็นตุ่มนูน ตุ่มใส ก่อนที่จะแตกออก ตกสะเก็ดและหายเองในที่สุด
แต่สำหรับผู้ที่ร่างกายขาดภูมิต้านทาน จะมีผื่นขึ้นได้รอบตัว และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณตุ่มน้ำใส สาเหตุจากการแกะเกาตุ่ม หรือเอาสิ่งแปลกปลอมมาทาบริเวณดังกล่าว ปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด (Post Herpetic Neuralgia) รวมถึงการที่เชื้องูสวัดกระจายทั่วร่างกายในผู้ป่วยโรคเอดส์จนทำให้เสียชีวิต
เชื้องูสวัดสามารถซ่อนอยู่ที่ปมประสาทได้นานหลายปี แต่หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น นั่นแปลว่าอาจถึงเวลาที่จะแสดงอาการ มาดูกันว่า… ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวให้พร้อมอย่างไร
ทั้งนี้ลักษณะของผื่นงูสวัดจะแตกต่างจากโรคอีสุกอีใส เพราะจะเป็นผื่นที่ขึ้นเฉพาะตามปมประสาทที่มีไวรัสซ่อนอยู่ ไม่ใช่ตุ่มแดงอักเสบเห่อขึ้นมาทั้งตัว
งูสวัดที่เกิดบริเวณดวงตาเราเรียกว่า Herpes Zoster Ophthalmicus เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์เช่นกัน อาการรุนแรงของงูสวัดขึ้นตาจะพบผื่นแดงที่หน้าผากด้วย ซึ่งจะมีอาการอักเสบ รวมถึงมีอาการปวดตารุนแรง เปลือกตาบวมน้ำ ตาแดง ภาวะเลือดคั่งในเยื่อบุกระจกตา และมีอาการตาสู้แสงไม่ได้
เมื่องูสวัดขึ้นหัวเริ่มแรกจะมีอาการปวดหัว ปวดต้นคอ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีไข้หรืออาจมีไข้อ่อนๆ ต่อมาอาการปวดจะรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจปวดเสียวเข้าไปในกกหู เอี้ยวคอไม่ได้ และเมื่อเริ่มมีผื่นขึ้นชัดเจน จะมีอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ และชาที่บริเวณซีกใดซีกหนึ่งของศีรษะ
อาการดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม (Ramsay Hunt Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ หรือโรคงูสวัดขึ้นสมองที่พบได้ยาก ทำให้ใบหน้าเป็นอัมพาตครึ่งซีก เกิดตุ่มที่หูและปาก มีอาการหูอื้อ โรคนี้อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
โรคงูสวัดเป็นโรคที่ไม่ส่งผลต่อเด็กในครรภ์และไม่เป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์มาก โดยอาการงูสวัดของหญิงตั้งครรภ์จะไม่เกิน 4 สัปดาห์ อาการเหมือนโรคงูดสวัดมั่วไปคือมีผื่นขึ้นที่แนวประสาท และจะแตกก่อนตกสะเก็ดในที่สุด แต่หากหญิงตั้งครรภ์เป็นงูสวัดในช่วงใกล้คลอด อาจทำให้เด็กทารกเป็นโรคอีสุกอีใสหลังคลอดได้
หากเริ่มมีอาการเจ็บแปลบที่ผิวหนังเหมือนมีเข็มทิ่ม ปวดร้าวที่ผิว เกิดผื่นแดง มีไข้ ปวดศีรษะ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคงูสวัดหรือไม่ และทำการรักษาอย่างถูกวิธี
เมื่อมีอาการคล้ายเป็นโรคงูสวัดให้ไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการรักษาตามอาการ เช่น การให้ทานยาแก้ปวด ยาทาแก้ผื่นคันต่างๆ โดยเฉพาะการให้ผู้ป่วยทานยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง หรือการฉีดยาต้านไวรัสเข้าหลอดเลือดดำ ซึ่งจะใช้สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเท่านั้น
ยาทาภายนอกเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในการรักษา เพราะผู้ป่วยมักจะมั่นใจมากกว่ายาทาน โดยยาทางูสวัดที่สำคัญมีดังนี้
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง ต้องใช้ยาทานควบคู่ไปกับยาทางูสวัดด้วย ซึ่งมีดังนี้
สำหรับสตรีมีครรภ์ หากเกิดผื่นงูสวัด แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาในกรณีที่จำเป็น เพราะโรคจะไม่ส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ ส่วนงูสวัดในเด็กบางกรณีอาจไม่ต้องทำการรักษา เพราะมีแนวโน้มที่จะมีอาการไม่รุนแรง และมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ยกเว้นที่อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ เช่น กรณีที่เด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจต้องใช้ยาต้านไวรัส
การปฏิบัติตนของผู้ป่วยงูสวัด เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
แม้เชื้อของโรคงูสวัดจะไม่หายขาด แต่ก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการแสดงอาการ หรือป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้หลายวิธี ดังนี้
ผื่นงูสวัดจะแตกและแห้งไปเองโดยไม่ต้องรักษาภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่กว่าจะหายสนิทมักใช้เวลา 2-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้ป่วย
โรคงูสวัดสามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ระยะที่ติดต่อจึงเป็นระยะที่ตุ่มน้ำใสแตกและตกสะเก็ด ผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หากไปสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะดังกล่าวก็จะเป็นโรคอีสุกอีใสได้
ส่วนคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติและเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาแล้ว การสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย มีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสได้น้อยมาก แต่ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและเป็นงูสวัดแบบแพร่กระจายจะสามารถแพร่เชื้อทางลมหายใจได้ ควรแยกตัวผู้ป่วยไปรักษาในโรงพยาบาล
เป็นงูสวัดอาบน้ำได้ เพราะการอาบน้ำเป็นการทำความสะอาดแผลที่ดีที่สุด สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ โดยควรอาบน้ำเย็นเพื่อปลอบประโลมผิว เนื่องจากน้ำร้อนจะทำให้เลือดไหลเวียนดีแผลจะยิ่งพุพองมากขึ้น แต่ความเย็นจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและลดอาการคันได้ดี
หลังอาบน้ำควรเช็ดตัวให้แห้งแล้วเก็บผ้าขนหนูอย่างเป็นสัดส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น หากจะทาโลชั่นควรทาเท่าที่จำเป็น และหลีกเลี่ยงโลชั่นที่ผสมน้ำหอม เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
เมื่อเป็นงูสวัด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ของหมักดอง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มเติมได้
คำตอบคือได้ เพราะเมื่อใดที่ร่างกายอยู่ในสภาวะอ่อนแอหรือภูมิต้านทานต่ำ ก็มีโอกาสที่จะเป็นงูสวัดซ้ำได้อีก เพราะเชื้อไวรัสไม่ได้หายไปไหน แต่ซ่อนตัวอยู่ในปมประสาททั่วร่างกายของเราไปตลอดชีวิต
การทานอาหารในช่วงที่เป็นโรคงูสวัด ถ้าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปรุงสุกใหม่ ถูกสุขลักษณะ และครบถ้วนตามหลักโภชนาการ อาทิ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และผักผลไม้ เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้ร่างกายมีสารอาหารครบถ้วนและทำให้แผลหายเร็วขึ้น
งูสวัดเป็นได้ตามแนวเส้นประสาทผิวหนัง โดยจะพบบ่อยบริเวณเอว ก้นกบ ใบหน้า และต้นขา แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ขึ้นมาถึงจมูกตา นั่นคือสัญญาณเตือนอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์ก่อนจะสายไป
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
• โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
• โรคหิด (Scabies)
• โรคหัด (Measles)
• โรคภูมิแพ้ (Allergy)
• โรคเริม (Herpes Simplex)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. ชวพร สุดโนรีกูล (ตจแพทย์)
โรงพยาบาลสมิติเวช
MCs SWU in Dermatology
Diploma in Dermatology and Dermatosurgery
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคงูสวัดคืออะไร?
ลักษณะผื่นงูสวัด
สาเหตุของโรคงูสวัด
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคงูสวัด
อาการของโรคงูสวัด
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคงูสวัด
ยารักษาโรคงูสวัด
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคงูสวัด
การป้องกันโรคงูสวัด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคงูสวัด
โรคงูสวัด มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Herpes Zoster หรือ Shingles คือโรคเกี่ยวกับปลายประสาทที่คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจผิดว่าเป็นโรคผิวหนัง เพราะแสดงอาการออกมาในลักษณะของผื่นหรือตุ่มได้ทั่วร่างกายที่มีเส้นประสาทพาดผ่าน สามารถพบได้บ่อยในคนทั่วไป
จากเว็บไซต์สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่าอุบัติการณ์ของการเกิดผื่นจากงูสวัดอยู่ที่ 3.4 ราย ต่อ 1,000 คน และมีแนวโน้มสูงขึ้นในกลุ่มผู้สูงอายุตั้งแต่อายุ 50 – 90 ปี โดยพบ 11 ราย ต่อ 1,000 คน
ผื่นหรือตุ่มงูสวัดจะขึ้นบริเวณแนวบั้นเอว ชายโครง ใบหน้า แขน ขา หรือตามแนวเส้นประสาท ซึ่งจะขึ้นเพียงซีกหนึ่งซีกใดของร่างกายเท่านั้น
งูสวัดเกิดจากการติดเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpese) หรือชื่อเดิมคือ วาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella Zoster Virus: VZV) ซึ่งเป็นเชื้อตัวเดียวกับที่ทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส
โรคนี้สามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสตุ่มน้ำใสที่แตกและสารคัดหลั่งของผู้ป่วย โดยผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หากไปสัมผัสเชื้อก็จะเป็นโรคอีสุกอีใสได้ ส่วนคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติและเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาแล้ว การสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วยมีโอกาสที่จะติดเชื้อได้น้อยกว่า ซึ่งในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและเป็นงูสวัดแบบแพร่กระจาย จะสามารถแพร่เชื้อทางลมหายใจได้ด้วย
เมื่อเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์เข้าสู่ร่างกายไม่ว่าจะการหายใจหรือการสัมผัสตุ่มน้ำของผู้ป่วย จะทำให้เกิดโรคอีสุกอีใส หลังจากนั้นเชื้อจะไปซ่อนอยู่ที่ปมประสาท เมื่อไหร่ที่ร่างกายอ่อนแอลงเชื้อก็จะเพิ่มจำนวนทำให้เส้นประสาทอักเสบ เกิดเป็นงูสวัดตามผิวหนังนั่นเอง
ผู้ที่มีเชื้องูสวัดในสร่างกายเมื่อร่างกายอ่อนแอทำให้เชื้อกำเริบได้ เช่น พักผ่อนไม่เพียงพอ ผู้สูงอายุที่ร่างกายเสื่อมลง ผู้ที่มีความเครียดสะสม ผู้ที่ได้รับยากดภูมิต้านทาน ปัจจัยเหล่านี้ก็จะเป็นตัวกระตุ้นให้เชื้องูสวัดแบ่งตัวได้มากขึ้น
อาการงูสวัดไม่ได้อันตรายร้ายแรง จะมีเพียงแค่ผื่นขึ้นตามร่างกายซีกใดซีกหนึ่ง โดยเริ่มจากเกิดเป็นตุ่มแดง แล้วกลายเป็นตุ่มนูน ตุ่มใส ก่อนที่จะแตกออก ตกสะเก็ดและหายเองในที่สุด
แต่สำหรับผู้ที่ร่างกายขาดภูมิต้านทาน จะมีผื่นขึ้นได้รอบตัว และอาจเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาหรืออาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิต เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียที่บริเวณตุ่มน้ำใส สาเหตุจากการแกะเกาตุ่ม หรือเอาสิ่งแปลกปลอมมาทาบริเวณดังกล่าว ปวดประสาทหลังเป็นงูสวัด (Post Herpetic Neuralgia) รวมถึงการที่เชื้องูสวัดกระจายทั่วร่างกายในผู้ป่วยโรคเอดส์จนทำให้เสียชีวิต
เชื้องูสวัดสามารถซ่อนอยู่ที่ปมประสาทได้นานหลายปี แต่หากมีอาการเหล่านี้เกิดขึ้น นั่นแปลว่าอาจถึงเวลาที่จะแสดงอาการ มาดูกันว่า… ผู้ป่วยต้องเตรียมตัวให้พร้อมอย่างไร
ทั้งนี้ลักษณะของผื่นงูสวัดจะแตกต่างจากโรคอีสุกอีใส เพราะจะเป็นผื่นที่ขึ้นเฉพาะตามปมประสาทที่มีไวรัสซ่อนอยู่ ไม่ใช่ตุ่มแดงอักเสบเห่อขึ้นมาทั้งตัว
งูสวัดที่เกิดบริเวณดวงตาเราเรียกว่า Herpes Zoster Ophthalmicus เกิดจากการติดเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์เช่นกัน อาการรุนแรงของงูสวัดขึ้นตาจะพบผื่นแดงที่หน้าผากด้วย ซึ่งจะมีอาการอักเสบ รวมถึงมีอาการปวดตารุนแรง เปลือกตาบวมน้ำ ตาแดง ภาวะเลือดคั่งในเยื่อบุกระจกตา และมีอาการตาสู้แสงไม่ได้
เมื่องูสวัดขึ้นหัวเริ่มแรกจะมีอาการปวดหัว ปวดต้นคอ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีไข้หรืออาจมีไข้อ่อนๆ ต่อมาอาการปวดจะรุนแรงขึ้น ผู้ป่วยบางรายอาจปวดเสียวเข้าไปในกกหู เอี้ยวคอไม่ได้ และเมื่อเริ่มมีผื่นขึ้นชัดเจน จะมีอาการวิงเวียนศีรษะ หูอื้อ และชาที่บริเวณซีกใดซีกหนึ่งของศีรษะ
อาการดังกล่าวมีชื่อเรียกว่า โรครัมเซย์ฮันท์ ซินโดรม (Ramsay Hunt Syndrome) เป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสวาริเซลลา ซอสเตอร์ หรือโรคงูสวัดขึ้นสมองที่พบได้ยาก ทำให้ใบหน้าเป็นอัมพาตครึ่งซีก เกิดตุ่มที่หูและปาก มีอาการหูอื้อ โรคนี้อาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงควรรีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
โรคงูสวัดเป็นโรคที่ไม่ส่งผลต่อเด็กในครรภ์และไม่เป็นอันตรายต่อหญิงตั้งครรภ์มาก โดยอาการงูสวัดของหญิงตั้งครรภ์จะไม่เกิน 4 สัปดาห์ อาการเหมือนโรคงูดสวัดมั่วไปคือมีผื่นขึ้นที่แนวประสาท และจะแตกก่อนตกสะเก็ดในที่สุด แต่หากหญิงตั้งครรภ์เป็นงูสวัดในช่วงใกล้คลอด อาจทำให้เด็กทารกเป็นโรคอีสุกอีใสหลังคลอดได้
หากเริ่มมีอาการเจ็บแปลบที่ผิวหนังเหมือนมีเข็มทิ่ม ปวดร้าวที่ผิว เกิดผื่นแดง มีไข้ ปวดศีรษะ ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยว่าเป็นโรคงูสวัดหรือไม่ และทำการรักษาอย่างถูกวิธี
เมื่อมีอาการคล้ายเป็นโรคงูสวัดให้ไปพบแพทย์ โดยแพทย์จะทำการรักษาตามอาการ เช่น การให้ทานยาแก้ปวด ยาทาแก้ผื่นคันต่างๆ โดยเฉพาะการให้ผู้ป่วยทานยาต้านไวรัสที่มีประสิทธิภาพสูง หรือการฉีดยาต้านไวรัสเข้าหลอดเลือดดำ ซึ่งจะใช้สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเท่านั้น
ยาทาภายนอกเป็นตัวเลือกแรก ๆ ในการรักษา เพราะผู้ป่วยมักจะมั่นใจมากกว่ายาทาน โดยยาทางูสวัดที่สำคัญมีดังนี้
นอกจากนี้ ในผู้ป่วยที่ภูมิคุ้มกันร่างกายไม่แข็งแรง ต้องใช้ยาทานควบคู่ไปกับยาทางูสวัดด้วย ซึ่งมีดังนี้
สำหรับสตรีมีครรภ์ หากเกิดผื่นงูสวัด แพทย์จะพิจารณาการใช้ยาในกรณีที่จำเป็น เพราะโรคจะไม่ส่งผลอันตรายต่อทารกในครรภ์ ส่วนงูสวัดในเด็กบางกรณีอาจไม่ต้องทำการรักษา เพราะมีแนวโน้มที่จะมีอาการไม่รุนแรง และมีความเสี่ยงน้อยที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อน ยกเว้นที่อยู่ในดุลยพินิจของแพทย์ เช่น กรณีที่เด็กมีภูมิคุ้มกันต่ำ อาจต้องใช้ยาต้านไวรัส
การปฏิบัติตนของผู้ป่วยงูสวัด เป็นหนึ่งในปัจจัยหลักที่จะทำให้ร่างกายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้น มาดูกันว่ามีอะไรบ้าง
แม้เชื้อของโรคงูสวัดจะไม่หายขาด แต่ก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดการแสดงอาการ หรือป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่นได้หลายวิธี ดังนี้
ผื่นงูสวัดจะแตกและแห้งไปเองโดยไม่ต้องรักษาภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่กว่าจะหายสนิทมักใช้เวลา 2-8 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความแข็งแรงของร่างกายผู้ป่วย
โรคงูสวัดสามารถติดต่อกันได้ผ่านการสัมผัสสารคัดหลั่งจากผู้ป่วย ระยะที่ติดต่อจึงเป็นระยะที่ตุ่มน้ำใสแตกและตกสะเก็ด ผู้ที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาก่อน หากไปสัมผัสกับผู้ป่วยในระยะดังกล่าวก็จะเป็นโรคอีสุกอีใสได้
ส่วนคนที่มีภูมิคุ้มกันปกติและเคยเป็นโรคอีสุกอีใสมาแล้ว การสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ป่วย มีโอกาสที่จะติดเชื้อไวรัสได้น้อยมาก แต่ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและเป็นงูสวัดแบบแพร่กระจายจะสามารถแพร่เชื้อทางลมหายใจได้ ควรแยกตัวผู้ป่วยไปรักษาในโรงพยาบาล
เป็นงูสวัดอาบน้ำได้ เพราะการอาบน้ำเป็นการทำความสะอาดแผลที่ดีที่สุด สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อ โดยควรอาบน้ำเย็นเพื่อปลอบประโลมผิว เนื่องจากน้ำร้อนจะทำให้เลือดไหลเวียนดีแผลจะยิ่งพุพองมากขึ้น แต่ความเย็นจะช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและลดอาการคันได้ดี
หลังอาบน้ำควรเช็ดตัวให้แห้งแล้วเก็บผ้าขนหนูอย่างเป็นสัดส่วน เพื่อหลีกเลี่ยงการแพร่กระจายเชื้อไปยังผู้อื่น หากจะทาโลชั่นควรทาเท่าที่จำเป็น และหลีกเลี่ยงโลชั่นที่ผสมน้ำหอม เพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
เมื่อเป็นงูสวัด ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ ของหมักดอง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เพราะอาหารเหล่านี้จะทำให้เกิดการติดเชื้อเพิ่มเติมได้
คำตอบคือได้ เพราะเมื่อใดที่ร่างกายอยู่ในสภาวะอ่อนแอหรือภูมิต้านทานต่ำ ก็มีโอกาสที่จะเป็นงูสวัดซ้ำได้อีก เพราะเชื้อไวรัสไม่ได้หายไปไหน แต่ซ่อนตัวอยู่ในปมประสาททั่วร่างกายของเราไปตลอดชีวิต
การทานอาหารในช่วงที่เป็นโรคงูสวัด ถ้าเป็นอาหารที่มีประโยชน์ สะอาด ปรุงสุกใหม่ ถูกสุขลักษณะ และครบถ้วนตามหลักโภชนาการ อาทิ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน และผักผลไม้ เป็นเรื่องที่ดี เพราะจะทำให้ร่างกายมีสารอาหารครบถ้วนและทำให้แผลหายเร็วขึ้น
งูสวัดเป็นได้ตามแนวเส้นประสาทผิวหนัง โดยจะพบบ่อยบริเวณเอว ก้นกบ ใบหน้า และต้นขา แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ขึ้นมาถึงจมูกตา นั่นคือสัญญาณเตือนอันตรายที่ต้องรีบพบแพทย์ก่อนจะสายไป
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
• โรคสะเก็ดเงิน (Psoriasis)
• โรคหิด (Scabies)
• โรคหัด (Measles)
• โรคภูมิแพ้ (Allergy)
• โรคเริม (Herpes Simplex)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. ชวพร สุดโนรีกูล (ตจแพทย์)
โรงพยาบาลสมิติเวช
MCs SWU in Dermatology
Diploma in Dermatology and Dermatosurgery
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล