✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคหิดคืออะไร?
สาเหตุของโรคหิด
อาการของโรคหิด
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคหิด
ยารักษาโรคหิด
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคหิด
การป้องกันโรคหิด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคหิด
โรคหิด (Scabies) เป็นโรคผิวหนังอักเสบของผิวหนังชั้นหนังกำพร้าที่เกิดจาก “ตัวหิด” (Scabies Mite) พบได้ในคนทุกวัย โรคนี้สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้โดยการอยู่ใกล้ชิดและสัมผัสผิวหนังของผู้ที่เป็นหิด มักพบบ่อยในผู้ที่อยู่อาศัยกันอย่างแออัด หรือชุมชนที่ขาดความรู้เกี่ยวกับโรคหิด ตลอดจนการรักษาโรคหิดล่าช้า
ตัวหิด เป็นแมลงขนาดเล็กที่จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลเดียวกับตัวไร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sacoptes Scabiei จัดเป็นปรสิต (Parasite) ที่ต้องอาศัยบนร่างกายคน มีขนาดเล็กมากประมาณ 0.4 มิลลิเมตร มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องอาศัยการมองด้วยกล้องจุลทรรศน์ หิดมี 8 ขา สีน้ำตาล สามารถมีชีวิตอยู่บนร่างกายคนได้นานถึง 2-3 วันในอุณหภูมิห้อง ตัวหิดผสมพันธุ์กันบนผิวหนังคน หลังผสมพันธุ์หิดตัวผู้จะตาย แต่ตัวเมียจะเจาะอุโมงค์ (Burrow) ในผิวหนังกำพร้าเพื่อใช้วางไข่ โดยออกไข่วันละ 2-30 ฟองแล้วก็จะตาย ตัวอ่อนจะออกจากไข่ในวันที่ 3 หรือ 4 และจะโตเต็มที่ในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
โรคหิดนอร์เวย์ (Norwegian Scabies, Crusted Scabies) – ได้ถูกอธิบายไว้ครั้งแรกที่ประเทศนอร์เวย์ในช่วงปี พ.ศ. 2343 อาการของผู้ที่เป็นโรคหิดนอร์เวย์ จะมีอาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์ทั่วไปแต่ไม่มีอาการคัน ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคหิดนอร์เวย์คือ ผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคบกพร่องหรืออ่อนแอ ผู้สูงอายุ ผู้ขาดสารอาหาร หรือผู้ที่ปัญหาทางระบบประสาทและสมอง ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มักสูญเสียการรับรู้ที่ผิวหนังทำให้ตัวหิดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
โดยทั่วไปจะพบการแพร่กระจายอยู่ทั่วตัว ซึ่งในทารกและเด็กเล็กมักพบรอยโรคบริเวณใบหน้า ศีรษะ คอ รวมถึงฝ่ามือฝ่าเท้าร่วมด้วยได้ หากสงสัยว่าเด็กอาจจะติดเชื้อหิด ควรรีบพบแพทย์ทันที
โรคหิดเกิดจากหิดตัวเมียชื่อ Sarcoptes Scabiei Var Hominis ซึ่งมีช่วงชีวิตอยู่ในผิวหนังชั้นกำพร้า เนื่องจากตัวหิดไม่สามารถกระโดดได้ จึงเกิดการถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งที่มีการสัมผัสใกล้ชิดกันโดยตรง
อาการมักเริ่มเกิดขึ้นหลังได้รับตัวหิดมาประมาณ 2-6 สัปดาห์ โดยผู้ที่เป็นโรคหิดจะพบลักษณะผื่นเป็นตุ่มแดง ตุ่มหนอง หรือผื่นที่เกิดจากการเกา ซึ่งผื่นมีลักษณะเป็นรอยนูนคดเคี้ยวคล้ายเส้นด้ายสั้นๆ ที่ผิวหนัง ความยาว 5 – 15 มิลลิเมตร ซึ่งเกิดจากการที่หิดตัวเมียไชลงไปในหนังกำพร้าเป็นทางแบบอุโมงค์ (Burrow) ถือได้ว่าเป็นรอยโรคจำเพาะสำหรับโรคหิด พบการกระจายไปทั่วตัวโดยเฉพาะตามบริเวณอบอุ่นบนร่างกาย เช่น ตามง่ามมือ ง่ามเท้า ข้อพับ ข้อศอก ใต้ราวนม รอบหัวนม สะดือ บั้นเอว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลูกอัณฑะ ขาหนีบ และอวัยวะเพศ ซึ่งบริเวณนี้มักพบตุ่มแดงคันขนาดใหญ่และหายช้า รวมถึงลักษะที่สำคัญที่สุดคือ มีอาการคันมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืนจะคันมากเป็นพิเศษ
หากมีอาการคันอย่างมากโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะบริเวณข้อพับ หรือจุดอับของร่างกาย มีผื่นขึ้นเป็นเส้นคดเคี้ยว ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยเพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
หากผู้ป่วยมีอาการหรือลักษณะข้างต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจดูอาการและรอยโรค ร่วมกับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม
เนื่องจากเชื้อหิดสามารถตอบสนองได้ดีต่อการรักษาด้วยยาทา ควรทายาทั่วร่างกายแม้แต่บริเวณที่ไม่มีรอยโรค แต่ควรเว้นบริเวณศีรษะและใบหน้า ยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์ระคายเคือง จึงควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณาให้ยารับประทาน เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
Ivermectin – การใช้ยาตัวนี้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีการดื้อต่อการรักษาด้วยยาชนิดอื่นแล้ว หรือผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ที่ไม่สามารถทายารักษาโรคหิดทั่วร่างกายได้ ให้รับประทาน 200 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม รับประทานสองครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์
นอกจากยาที่ใช้รักษาข้างต้น แพทย์ยังอาจสั่งจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการจากโรคหิดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น
โรคหิดไม่สามารถหายเองได้ ควรได้รับการรักษาเท่านั้น และหากปล่อยไว้นานอาจเกิดอาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาได้
โรคหิดเป็นโรคติดต่อ โดยเกิดจากการติดเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคหิด เช่น สัมผัสผิวหนังโดยตรง สัมผัสเสื้อผ้า ผ้าปู และที่นอน เป็นต้นเหตุทำให้หิดสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โรคหิดติดต่อง่ายทางการสัมผัส มักพบว่าเป็นกันทั้งครอบครัวที่มีคนอยู่หนาแน่นหรือระบาดอยู่ในที่ชุมชน
โรคหิดสามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากเชื้อหิดสามารถตอบสนองได้ดีต่อการรักษาด้วยยาทา เมื่อพบอาการต้องสงสัยจึงควรรีบไปพบแพทย์ แต่หากเป็นหิดนานๆ อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมาได้ เช่น การเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง หรือโรคอื่นๆ ที่แบคทีเรียมีโอกาสทำให้เกิดได้ เช่น โรคปอดอักเสบ โรคกรวยไตอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด หากได้รับการรักษาล่าช้าก็มีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้ และในเด็กบางรายอาจคันจนนอนไม่พอ กินไม่ได้ และน้ำหนักตัวลดลง
ยาทาหิดมีราคาไม่แพงเริ่มต้นที่ 25 บาท สามารถหาซื้อได้ทั่วไป อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยาให้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและหายจากการติดเชื้อหิด รวมทั้งยาทาหิดมีฤทธ์ระคายเคืองจึงควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์
โรคหิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาทาและยารับประทาน โดยควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
• โรคหัด (Measles)
• โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever)
• โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นายแพทย์รัตน์ศักดิ์ ตั้งเทอดชนะกิจ (GP)
โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคหิดคืออะไร?
สาเหตุของโรคหิด
อาการของโรคหิด
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคหิด
ยารักษาโรคหิด
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคหิด
การป้องกันโรคหิด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคหิด
โรคหิด (Scabies) เป็นโรคผิวหนังอักเสบของผิวหนังชั้นหนังกำพร้าที่เกิดจาก “ตัวหิด” (Scabies Mite) พบได้ในคนทุกวัย โรคนี้สามารถติดต่อจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งได้โดยการอยู่ใกล้ชิดและสัมผัสผิวหนังของผู้ที่เป็นหิด มักพบบ่อยในผู้ที่อยู่อาศัยกันอย่างแออัด หรือชุมชนที่ขาดความรู้เกี่ยวกับโรคหิด ตลอดจนการรักษาโรคหิดล่าช้า
ตัวหิด เป็นแมลงขนาดเล็กที่จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลเดียวกับตัวไร มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sacoptes Scabiei จัดเป็นปรสิต (Parasite) ที่ต้องอาศัยบนร่างกายคน มีขนาดเล็กมากประมาณ 0.4 มิลลิเมตร มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ต้องอาศัยการมองด้วยกล้องจุลทรรศน์ หิดมี 8 ขา สีน้ำตาล สามารถมีชีวิตอยู่บนร่างกายคนได้นานถึง 2-3 วันในอุณหภูมิห้อง ตัวหิดผสมพันธุ์กันบนผิวหนังคน หลังผสมพันธุ์หิดตัวผู้จะตาย แต่ตัวเมียจะเจาะอุโมงค์ (Burrow) ในผิวหนังกำพร้าเพื่อใช้วางไข่ โดยออกไข่วันละ 2-30 ฟองแล้วก็จะตาย ตัวอ่อนจะออกจากไข่ในวันที่ 3 หรือ 4 และจะโตเต็มที่ในเวลาประมาณ 2 สัปดาห์
โรคหิดนอร์เวย์ (Norwegian Scabies, Crusted Scabies) – ได้ถูกอธิบายไว้ครั้งแรกที่ประเทศนอร์เวย์ในช่วงปี พ.ศ. 2343 อาการของผู้ที่เป็นโรคหิดนอร์เวย์ จะมีอาการรุนแรงกว่าสายพันธุ์ทั่วไปแต่ไม่มีอาการคัน ผู้ที่เสี่ยงเป็นโรคหิดนอร์เวย์คือ ผู้ที่มีภูมิต้านทานโรคบกพร่องหรืออ่อนแอ ผู้สูงอายุ ผู้ขาดสารอาหาร หรือผู้ที่ปัญหาทางระบบประสาทและสมอง ซึ่งผู้ป่วยเหล่านี้มักสูญเสียการรับรู้ที่ผิวหนังทำให้ตัวหิดเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก
โดยทั่วไปจะพบการแพร่กระจายอยู่ทั่วตัว ซึ่งในทารกและเด็กเล็กมักพบรอยโรคบริเวณใบหน้า ศีรษะ คอ รวมถึงฝ่ามือฝ่าเท้าร่วมด้วยได้ หากสงสัยว่าเด็กอาจจะติดเชื้อหิด ควรรีบพบแพทย์ทันที
โรคหิดเกิดจากหิดตัวเมียชื่อ Sarcoptes Scabiei Var Hominis ซึ่งมีช่วงชีวิตอยู่ในผิวหนังชั้นกำพร้า เนื่องจากตัวหิดไม่สามารถกระโดดได้ จึงเกิดการถ่ายทอดจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่งที่มีการสัมผัสใกล้ชิดกันโดยตรง
อาการมักเริ่มเกิดขึ้นหลังได้รับตัวหิดมาประมาณ 2-6 สัปดาห์ โดยผู้ที่เป็นโรคหิดจะพบลักษณะผื่นเป็นตุ่มแดง ตุ่มหนอง หรือผื่นที่เกิดจากการเกา ซึ่งผื่นมีลักษณะเป็นรอยนูนคดเคี้ยวคล้ายเส้นด้ายสั้นๆ ที่ผิวหนัง ความยาว 5 – 15 มิลลิเมตร ซึ่งเกิดจากการที่หิดตัวเมียไชลงไปในหนังกำพร้าเป็นทางแบบอุโมงค์ (Burrow) ถือได้ว่าเป็นรอยโรคจำเพาะสำหรับโรคหิด พบการกระจายไปทั่วตัวโดยเฉพาะตามบริเวณอบอุ่นบนร่างกาย เช่น ตามง่ามมือ ง่ามเท้า ข้อพับ ข้อศอก ใต้ราวนม รอบหัวนม สะดือ บั้นเอว ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ลูกอัณฑะ ขาหนีบ และอวัยวะเพศ ซึ่งบริเวณนี้มักพบตุ่มแดงคันขนาดใหญ่และหายช้า รวมถึงลักษะที่สำคัญที่สุดคือ มีอาการคันมาก โดยเฉพาะเวลากลางคืนจะคันมากเป็นพิเศษ
หากมีอาการคันอย่างมากโดยไม่ทราบสาเหตุ โดยเฉพาะบริเวณข้อพับ หรือจุดอับของร่างกาย มีผื่นขึ้นเป็นเส้นคดเคี้ยว ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยเพื่อจะได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง
หากผู้ป่วยมีอาการหรือลักษณะข้างต้น แนะนำให้ปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรับการรักษาที่ถูกต้อง โดยแพทย์จะทำการซักประวัติ ตรวจดูอาการและรอยโรค ร่วมกับการส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม
เนื่องจากเชื้อหิดสามารถตอบสนองได้ดีต่อการรักษาด้วยยาทา ควรทายาทั่วร่างกายแม้แต่บริเวณที่ไม่มีรอยโรค แต่ควรเว้นบริเวณศีรษะและใบหน้า ยาบางชนิดอาจมีฤทธิ์ระคายเคือง จึงควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์ ในผู้ป่วยบางรายแพทย์อาจพิจารณาให้ยารับประทาน เช่น ผู้ป่วยสูงอายุ หรือผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง
Ivermectin – การใช้ยาตัวนี้ก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีการดื้อต่อการรักษาด้วยยาชนิดอื่นแล้ว หรือผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ที่ไม่สามารถทายารักษาโรคหิดทั่วร่างกายได้ ให้รับประทาน 200 ไมโครกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม รับประทานสองครั้ง ห่างกัน 2 สัปดาห์
นอกจากยาที่ใช้รักษาข้างต้น แพทย์ยังอาจสั่งจ่ายยาเพื่อบรรเทาอาการจากโรคหิดอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น
โรคหิดไม่สามารถหายเองได้ ควรได้รับการรักษาเท่านั้น และหากปล่อยไว้นานอาจเกิดอาการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนตามมาได้
โรคหิดเป็นโรคติดต่อ โดยเกิดจากการติดเชื้อจากการสัมผัสใกล้ชิดกับคนที่เป็นโรคหิด เช่น สัมผัสผิวหนังโดยตรง สัมผัสเสื้อผ้า ผ้าปู และที่นอน เป็นต้นเหตุทำให้หิดสามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็ว โรคหิดติดต่อง่ายทางการสัมผัส มักพบว่าเป็นกันทั้งครอบครัวที่มีคนอยู่หนาแน่นหรือระบาดอยู่ในที่ชุมชน
โรคหิดสามารถรักษาให้หายได้ เนื่องจากเชื้อหิดสามารถตอบสนองได้ดีต่อการรักษาด้วยยาทา เมื่อพบอาการต้องสงสัยจึงควรรีบไปพบแพทย์ แต่หากเป็นหิดนานๆ อาจทำให้เกิดอาการแทรกซ้อนอย่างอื่นตามมาได้ เช่น การเพิ่มจำนวนของเชื้อแบคทีเรียบนผิวหนัง หรือโรคอื่นๆ ที่แบคทีเรียมีโอกาสทำให้เกิดได้ เช่น โรคปอดอักเสบ โรคกรวยไตอักเสบ และการติดเชื้อในกระแสเลือด หากได้รับการรักษาล่าช้าก็มีโอกาสทำให้เสียชีวิตได้ และในเด็กบางรายอาจคันจนนอนไม่พอ กินไม่ได้ และน้ำหนักตัวลดลง
ยาทาหิดมีราคาไม่แพงเริ่มต้นที่ 25 บาท สามารถหาซื้อได้ทั่วไป อย่างไรก็ตามควรให้แพทย์เป็นผู้จ่ายยาให้ เพื่อให้มีประสิทธิภาพและหายจากการติดเชื้อหิด รวมทั้งยาทาหิดมีฤทธ์ระคายเคืองจึงควรใช้ยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์
โรคหิดสามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาทาและยารับประทาน โดยควรอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์
บทความที่เกี่ยวข้อง
• โรคหัด (Measles)
• โรคไข้เลือดออก (Dengue Fever)
• โรคชิคุนกุนยา (Chikungunya)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นายแพทย์รัตน์ศักดิ์ ตั้งเทอดชนะกิจ (GP)
โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล