✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
Paracetamol คือยาอะไร?
Paracetamol กับ Acetaminophen: ยาเดียวกัน แต่ทำไมมีหลายชื่อ?
ชื่อทางการค้าของยา Paracetamol
การออกฤทธิ์ของยา Paracetamol
รูปแบบของยา Paracetamol
ยา Paracetamol ราคาเท่าไหร่?
วิธีใช้ยา Paracetamol และปริมาณที่เหมาะสม
ข้อควรระวังในการใช้ยา Paracetamol
ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยาพาราเซตามอล
ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับ Paracetamol
ใช้ยา Paracetamol เกินขนาดควรทำอย่างไร?
ลืมทานยาพาราเซตามอล ควรทำอย่างไร?
การเก็บรักษายา Paracetamol
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยา Paracetamol
ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) คือยาสามัญประจำบ้าน ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง รวมถึงสามารถใช้เป็นยาลดไข้ได้ด้วย จัดอยู่ในกลุ่ม Analgesic (ยาแก้ปวด) และ Antipyretic (ยาลดไข้) โดยอาการปวดที่สามารถใช้ยาพาราเซตามอลบรรเทาได้ เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดฟัน ปวดข้อ แต่ยาพาราเซตามอลไม่สามารถใช้บรรเทาอาการปวดขั้นรุนแรงที่เกิดจากการผ่าตัด ปวดจากโรคมะเร็ง อีกทั้งยาพาราเซตามอลเดี่ยวๆ ก็ไม่สามารถใช้รักษาอาการอักเสบได้ จึงเป็นยาที่นิยมนำไปผสมกับตัวยาอื่นเพื่อให้ออกฤทธิ์ได้กว้างขึ้น
ยา Paracetamol และยา Acetaminophen เป็นคือยาตัวเดียวกันและมีสูตรทางเคมีเหมือนกันคือ C8H9NO2 เพียงแค่เรียกชื่อต่างกันเฉยๆ ซึ่งทั้งสองชื่อเป็นชื่อสากลที่ได้มาตรฐานตามที่องค์กรอนามัยโลกกำหนด แต่ชื่อที่คนไทยคุ้นหูมากที่สุดคือ พาราเซตามอล นั่นเอง
ชื่อทางการค้าของยา Paracetamol คือ ไทลินอล (Tylenol), ซาร่า (Sara), พาราแคพ (PARACAP), เทมปร้า (Tempra), Paracetamol GPO รวมถึงยังมีการนำยาพาราเซตามอลไปผสมกับยาอื่นๆ เช่น ยาที่ใช้ในการลดน้ำมูก แก้คัดจมูก ซึ่งจะมีชื่อทางการค้า เช่น Tylenol (ไทลินอล) ที่ผสม Codeine (โคเดอีน), Tiffy Dey (ทิฟฟี่ เดย์), Decolgen (ดีคอลเจน)
การออกฤทธิ์ของยาพาราเซตามอลจะเข้าไปยับยั้งสารเคมีในสมอง เช่น สารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด และทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงได้ด้วยการยับยั้งสารในสมองส่วนที่มีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งยาพาราจะออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีโดยประมาณหลังจากรับประทาน และออกฤทธิ์ต่อเนื่องได้นาน 4-6 ชั่วโมง
ยา Paracetamol มีหลายรูปแบบ สามารถรับประทานได้ทั้งเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และคนทั่วไป
วิธีใช้ยา Paracetamol
ปริมาณที่เหมาะสม
การใช้ยาพาราเซตามอลควรทานตอนที่มีอาการปวดหรือมีไข้เท่านั้น ปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานยาพาราจะแบ่งตามน้ำหนักตัว คือ 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หลักการรับประทานดังนี้
ยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด เหมาะสำหรับคนทั่วไปและเด็กอายุ 18 ปีขึ้นไป
ยาพาราเซตามอลมีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยและพบไม่บ่อยนัก การทานยาพาราเซตามอลนานๆ อาจจะส่งผลต่อตับและไต โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะการทำงานของตับและไตผิดปกติอยู่แล้ว ส่วนผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาเกินขนาด เช่น
การใช้ยาพาราเซตามอลอาจมีอาการแพ้ยา เช่น
การใช้ยาเกินขนาดจะส่งผลให้เกิดพิษจากการใช้ยาได้ เช่น ทานยาซ้ำซ้อนโดยไม่รู้ตัว การใช้ยาเกินขนาดน้ำหนักตัว เพิ่มขนาดยาเองเมื่อลืมกิน ฯลฯ หากทานในปริมาณมากจะส่งผลต่อตับ และอาจจะแสดงอาการได้ใน 1-3 วัน หากมีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนควรไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจมีอาการตับอักเสบ สมองเสื่อม หรือส่งผลถึงชีวิตได้
หากลืมทานยาพาราเซตามอลตอนใกล้จะถึงเวลาของโดสถัดไปแล้ว ให้เว้นไปเลยและรอทานในมื้อถัดไปแทน หากทานเกินขนาด อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง
ยาพารามีหลายยี่ห้อเพราะเป็นตัวยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้จากผู้ผลิตที่มีมาตรฐาน ควรดูที่ส่วนประกอบและปริมาณยา เช่น ไทลินอล ซาร่า พาราแคพ ยาเม็ดพาราเซตามอลขององค์การเภสัชกรรม 500 มก. ซึ่งแต่ไม่ต่างกันในเรื่องของปะสิทธิภาพการรักษา
ยาพารามีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งยาเม็ด ยาแคปซูล ยาน้ำ ความแตกต่างไม่มากนัก โดยยาน้ำเหมาะสำหรับเด็กและผู้ที่ทานยาแบบอื่นยาก ส่วนยาแคปซูลอาจละลายได้เร็วกว่ายาเม็ดเล็กน้อย แต่ไม่ว่าจะทานยาพาราเซตามอลแบบไหนก็ให้ผลรักษาไม่ต่างกัน ความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับปริมาณยาที่ทานเข้าไปต่อ 1 โดสมากกว่า
สามารถกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แต่ควรกินเมื่อมีอาการปวดหรือเป็นไข้เท่านั้น ไม่ควรกินยาดักเอาไว้ก่อนทั้งๆ ที่ไม่มีอาการ เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงและไม่มีประสิทธิภาพในการรักษา
ยากลุ่มที่สามารถใช้แทนพาราเซตามอลได้ คือ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) ซึ่งมีหลายชนิดและจะมีคุณสมบัติต่างกัน เช่น แอสไพริน , ไอบูโพรเฟน , ไดฟลูนิซอล
ยาพาราเซตามอลมีฤทธิ์ในการแก้อาการปวดในระดับต้นถึงระดับปานกลาง ไม่สามารถใช้แก้อักเสบและไม่สามารถใช้แก้ปวดขั้นรุนแรงได้เช่นกัน
ยาพาราจะออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีหลังจากทาน และจะมีออกฤทธิ์ได้ในระยะ 4-6 ชม. ทำให้เมื่อมีอาการต่อเนื่องควรทานยาอีกครั้งแบบเว้นระยะ 4-6 ชม. ตามอาการ
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
ทีมเภสัชกรของ Raksa
ปรึกษาเภสัชกรผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
Paracetamol คือยาอะไร?
Paracetamol กับ Acetaminophen: ยาเดียวกัน แต่ทำไมมีหลายชื่อ?
ชื่อทางการค้าของยา Paracetamol
การออกฤทธิ์ของยา Paracetamol
รูปแบบของยา Paracetamol
ยา Paracetamol ราคาเท่าไหร่?
วิธีใช้ยา Paracetamol และปริมาณที่เหมาะสม
ข้อควรระวังในการใช้ยา Paracetamol
ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยาพาราเซตามอล
ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับ Paracetamol
ใช้ยา Paracetamol เกินขนาดควรทำอย่างไร?
ลืมทานยาพาราเซตามอล ควรทำอย่างไร?
การเก็บรักษายา Paracetamol
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยา Paracetamol
ยาพาราเซตามอล (Paracetamol) หรือ ยาอะเซตามิโนเฟน (Acetaminophen) คือยาสามัญประจำบ้าน ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดเล็กน้อยถึงปานกลาง รวมถึงสามารถใช้เป็นยาลดไข้ได้ด้วย จัดอยู่ในกลุ่ม Analgesic (ยาแก้ปวด) และ Antipyretic (ยาลดไข้) โดยอาการปวดที่สามารถใช้ยาพาราเซตามอลบรรเทาได้ เช่น ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง ปวดฟัน ปวดข้อ แต่ยาพาราเซตามอลไม่สามารถใช้บรรเทาอาการปวดขั้นรุนแรงที่เกิดจากการผ่าตัด ปวดจากโรคมะเร็ง อีกทั้งยาพาราเซตามอลเดี่ยวๆ ก็ไม่สามารถใช้รักษาอาการอักเสบได้ จึงเป็นยาที่นิยมนำไปผสมกับตัวยาอื่นเพื่อให้ออกฤทธิ์ได้กว้างขึ้น
ยา Paracetamol และยา Acetaminophen เป็นคือยาตัวเดียวกันและมีสูตรทางเคมีเหมือนกันคือ C8H9NO2 เพียงแค่เรียกชื่อต่างกันเฉยๆ ซึ่งทั้งสองชื่อเป็นชื่อสากลที่ได้มาตรฐานตามที่องค์กรอนามัยโลกกำหนด แต่ชื่อที่คนไทยคุ้นหูมากที่สุดคือ พาราเซตามอล นั่นเอง
ชื่อทางการค้าของยา Paracetamol คือ ไทลินอล (Tylenol), ซาร่า (Sara), พาราแคพ (PARACAP), เทมปร้า (Tempra), Paracetamol GPO รวมถึงยังมีการนำยาพาราเซตามอลไปผสมกับยาอื่นๆ เช่น ยาที่ใช้ในการลดน้ำมูก แก้คัดจมูก ซึ่งจะมีชื่อทางการค้า เช่น Tylenol (ไทลินอล) ที่ผสม Codeine (โคเดอีน), Tiffy Dey (ทิฟฟี่ เดย์), Decolgen (ดีคอลเจน)
การออกฤทธิ์ของยาพาราเซตามอลจะเข้าไปยับยั้งสารเคมีในสมอง เช่น สารพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins) ที่เกี่ยวข้องกับอาการปวด และทำให้อุณหภูมิของร่างกายลดลงได้ด้วยการยับยั้งสารในสมองส่วนที่มีหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ซึ่งยาพาราจะออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีโดยประมาณหลังจากรับประทาน และออกฤทธิ์ต่อเนื่องได้นาน 4-6 ชั่วโมง
ยา Paracetamol มีหลายรูปแบบ สามารถรับประทานได้ทั้งเด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร และคนทั่วไป
วิธีใช้ยา Paracetamol
ปริมาณที่เหมาะสม
การใช้ยาพาราเซตามอลควรทานตอนที่มีอาการปวดหรือมีไข้เท่านั้น ปริมาณที่เหมาะสมในการรับประทานยาพาราจะแบ่งตามน้ำหนักตัว คือ 10-15 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม หลักการรับประทานดังนี้
ยาพาราเซตามอลขนาด 500 มิลลิกรัมต่อเม็ด เหมาะสำหรับคนทั่วไปและเด็กอายุ 18 ปีขึ้นไป
ยาพาราเซตามอลมีผลข้างเคียงค่อนข้างน้อยและพบไม่บ่อยนัก การทานยาพาราเซตามอลนานๆ อาจจะส่งผลต่อตับและไต โดยเฉพาะผู้ที่มีภาวะการทำงานของตับและไตผิดปกติอยู่แล้ว ส่วนผลข้างเคียงที่เกิดจากการใช้ยาเกินขนาด เช่น
การใช้ยาพาราเซตามอลอาจมีอาการแพ้ยา เช่น
การใช้ยาเกินขนาดจะส่งผลให้เกิดพิษจากการใช้ยาได้ เช่น ทานยาซ้ำซ้อนโดยไม่รู้ตัว การใช้ยาเกินขนาดน้ำหนักตัว เพิ่มขนาดยาเองเมื่อลืมกิน ฯลฯ หากทานในปริมาณมากจะส่งผลต่อตับ และอาจจะแสดงอาการได้ใน 1-3 วัน หากมีอาการรุนแรงหรือมีภาวะแทรกซ้อนควรไปพบแพทย์ เนื่องจากอาจมีอาการตับอักเสบ สมองเสื่อม หรือส่งผลถึงชีวิตได้
หากลืมทานยาพาราเซตามอลตอนใกล้จะถึงเวลาของโดสถัดไปแล้ว ให้เว้นไปเลยและรอทานในมื้อถัดไปแทน หากทานเกินขนาด อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง
ยาพารามีหลายยี่ห้อเพราะเป็นตัวยาที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถเลือกใช้ได้จากผู้ผลิตที่มีมาตรฐาน ควรดูที่ส่วนประกอบและปริมาณยา เช่น ไทลินอล ซาร่า พาราแคพ ยาเม็ดพาราเซตามอลขององค์การเภสัชกรรม 500 มก. ซึ่งแต่ไม่ต่างกันในเรื่องของปะสิทธิภาพการรักษา
ยาพารามีรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งยาเม็ด ยาแคปซูล ยาน้ำ ความแตกต่างไม่มากนัก โดยยาน้ำเหมาะสำหรับเด็กและผู้ที่ทานยาแบบอื่นยาก ส่วนยาแคปซูลอาจละลายได้เร็วกว่ายาเม็ดเล็กน้อย แต่ไม่ว่าจะทานยาพาราเซตามอลแบบไหนก็ให้ผลรักษาไม่ต่างกัน ความแตกต่างจะขึ้นอยู่กับปริมาณยาที่ทานเข้าไปต่อ 1 โดสมากกว่า
สามารถกินก่อนหรือหลังอาหารก็ได้ แต่ควรกินเมื่อมีอาการปวดหรือเป็นไข้เท่านั้น ไม่ควรกินยาดักเอาไว้ก่อนทั้งๆ ที่ไม่มีอาการ เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงและไม่มีประสิทธิภาพในการรักษา
ยากลุ่มที่สามารถใช้แทนพาราเซตามอลได้ คือ ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-steroidal anti-inflammatory drugs หรือ NSAIDs) ซึ่งมีหลายชนิดและจะมีคุณสมบัติต่างกัน เช่น แอสไพริน , ไอบูโพรเฟน , ไดฟลูนิซอล
ยาพาราเซตามอลมีฤทธิ์ในการแก้อาการปวดในระดับต้นถึงระดับปานกลาง ไม่สามารถใช้แก้อักเสบและไม่สามารถใช้แก้ปวดขั้นรุนแรงได้เช่นกัน
ยาพาราจะออกฤทธิ์ภายใน 30 นาทีหลังจากทาน และจะมีออกฤทธิ์ได้ในระยะ 4-6 ชม. ทำให้เมื่อมีอาการต่อเนื่องควรทานยาอีกครั้งแบบเว้นระยะ 4-6 ชม. ตามอาการ
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
ทีมเภสัชกรของ Raksa
ปรึกษาเภสัชกรผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล