✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคแพนิคคืออะไร?
สาเหตุของโรคแพนิค
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแพนิค
อาการของโรคแพนิค
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคแพนิค
ยารักษาโรคแพนิค
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคแพนิค
การป้องกันโรคแพนิค
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคแพนิค
โรคแพนิค ภาษาอังกฤษเรียกว่า Panic Disorder คือ โรควิตกกังวลแพนิค คนไข้จะมีอาการตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่สมเหตุสมผลหรือหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งแตกต่างจากอาการหวาดกลัวหรือวิตกกังวลทั่วไปที่มีตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าที่ชัดเจน
ผู้ป่วยโรค Panic จะมีอาการแพนิค (Panic Attack) หรือหวาดกลัวแบบรุนแรง ใจเต้นแรง ทั้งๆ ที่ไม่ได้กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ กับตนเอง และเกิดขึ้นบ่อยครั้งโดยคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดเมื่อใด โรคแพนิค พบได้ถึงร้อยละ 3 – 5 ในประชากรทั่วไปและถือว่าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย
โรคแพนิค (Panic) เกิดจากการที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ระบบประสาทอัตโนมัติมีความไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความตื่นตระหนกหรือกังวลเป็นอย่างมาก โดยมีปัจจัยด้านจิตใจที่ส่งเสริมให้มีอาการมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถจัดการกับความกังวลนั้นได้ ส่งผลให้เกิดอาการทางกายตามมา
โรคแพนิคเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ อาการเจ็บป่วยทางกาย ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ ใช้สารเสพติด มีอาการเครียดสะสม
อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดเมื่อไร แต่ละครั้งอาจกินเวลาประมาณ 10 – 30 นาที ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกังวลมากขึ้นและกลัวว่าอาการจะกำเริบขึ้นมาอีก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเมื่อไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ก็ยิ่งทำให้รู้สึกกังวลมากขึ้นหรืออาจหมดหวัง หดหู่ จนเกิดอาการซึมเศร้าตามมาได้
ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์หลายครั้งด้วยอาการใจสั่น กลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ และจากการตรวจร่างกายและการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ไม่พบความผิดปกติ
หากมีอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นอาการของโรควิตกกังวล ทั้งตื่นตะหนก ตัวสั่น ไม่มีแรง มือเท้าเย็นหรือชา ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก ใจสั่น หรือใจเต้นแรงเร็ว เหงื่อออกคล้ายจะเป็นลม ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง
โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยละเอียด ตรวจคลื่นหัวใจและเจาะเลือดเพื่อวัดระดับไทรอยด์ในเบื้องต้น และหากผลวินิจฉัยที่ออกมายืนยันว่าเป็นโรคแพนิค แพทย์จะทำการรักษาต่อไป ทั้งการรักษาด้วยยาและการทำจิตบำบัด
โดยการทำจิตบำบัดควบคู่กันไปก็มีส่วนสำคัญในการรักษา โดยในระยะแรกที่มีอาการฉับพลัน การรักษาแบบ Cognitive Behavioral Therapy จะช่วยลดอาการได้ดี รวมถึงการฝึกการผ่อนคลาย ฝึกการหายใจ สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ นอกจากนี้การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคแพนิค
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
เราสามารถป้องกันการเกิดโรคแพนิคในเบื้องต้นได้ด้วยการดูแลรักษาร่างกายและสภาพจิตใจให้แข็งแรง ดำเนินชีวิตอย่างสมดุล ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ฝึกการผ่อนคลายเมื่อต้องเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ที่ไม่คาดหมาย หมั่นสังเกตอาการและพบแพทย์เมื่อสงสัยว่ามีอาการของโรค
โรคแพนิคสามารถรักษาได้ที่โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตหรือแผนกจิตเวชศาสตร์ในโรงพยาบาลทั่วไป
เนื่องจากโรคแพนิคต่างจากอาการวิตกกังวลและหวาดกลัวทั่วไป โดยอาการของโรคแพนิคที่ได้กล่าวไปข้างต้น คนไข้มักมีอาการรุนแรงถึงขั้นรู้สึกอึดอัด ไม่สามารถขยับแขนขาได้ หัวใจเต้นเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการกลัวแบบสุดขีดถึงขั้นคิดว่าตัวเองอาจจะเสียชีวิตได้ ทำให้การรักษาแบบใช้ยาร่วมด้วยจะช่วยให้ได้ผลดีและเร็วกว่า
ทั้งนี้ทั้งนั้นหากอาการไม่รุนแรง การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตัวเองให้ดีขึ้น พร้อมกับมีคนรอบข้างคอยเป็นกำลังใจอาจช่วยบรรเทาอาการ แต่การรักษาที่ถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถช่วยรักษาให้อาการดีขึ้นได้
โรคแพนิครักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องอาศัยการรักษาทางกายและทางใจที่สมดุลกัน โดยการพบแพทย์เป็นประจำ ทานยาตามที่แพทย์สั่ง ดูแลสุขภาพกายและใจของตนเองให้ดี และเมื่อรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะหายดีแล้ว ไม่ควรหยุดยาเอง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยาและให้การรักษาที่ถูกต้อง ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
โรคแพนิคอาจไม่ได้ทำอันตรายถึงชีวิต แต่สร้างความลำบากให้กับผู้ป่วยในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะต้องต่อสู้กับความวิตกกังวลอย่างรุนแรงที่เกิดบ่อยครั้ง ทำให้ไม่กล้าอยู่คนเดียวหรือไม่กล้าทำกิจกรรมบางอย่างที่เสี่ยงต่อการกำเริบของอาการ เช่น การขับรถ ขึ้นลิฟต์ และสำหรับบางรายอาจกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้ ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้อง
• โรค PTSD (Posttraumatic Stress Disorder)
• โรคฮิสทีเรีย (Hysteria)
• โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. บุฑบท พฤกษาพนาชาติ (จิตแพทย์)
โรงพยาบาลนครพิงค์
พบ. เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วว. จิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.รามาธิบดี
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคแพนิคคืออะไร?
สาเหตุของโรคแพนิค
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคแพนิค
อาการของโรคแพนิค
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคแพนิค
ยารักษาโรคแพนิค
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคแพนิค
การป้องกันโรคแพนิค
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคแพนิค
โรคแพนิค ภาษาอังกฤษเรียกว่า Panic Disorder คือ โรควิตกกังวลแพนิค คนไข้จะมีอาการตื่นตระหนกต่อสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยไม่สมเหตุสมผลหรือหาสาเหตุไม่ได้ ซึ่งแตกต่างจากอาการหวาดกลัวหรือวิตกกังวลทั่วไปที่มีตัวกระตุ้นหรือสิ่งเร้าที่ชัดเจน
ผู้ป่วยโรค Panic จะมีอาการแพนิค (Panic Attack) หรือหวาดกลัวแบบรุนแรง ใจเต้นแรง ทั้งๆ ที่ไม่ได้กำลังตกอยู่ในสถานการณ์ที่ก่อให้เกิดอันตรายใดๆ กับตนเอง และเกิดขึ้นบ่อยครั้งโดยคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดเมื่อใด โรคแพนิค พบได้ถึงร้อยละ 3 – 5 ในประชากรทั่วไปและถือว่าเป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง ซึ่งส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตของผู้ป่วย
โรคแพนิค (Panic) เกิดจากการที่มีความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง ระบบประสาทอัตโนมัติมีความไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดความตื่นตระหนกหรือกังวลเป็นอย่างมาก โดยมีปัจจัยด้านจิตใจที่ส่งเสริมให้มีอาการมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยไม่สามารถจัดการกับความกังวลนั้นได้ ส่งผลให้เกิดอาการทางกายตามมา
โรคแพนิคเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัยด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ อาการเจ็บป่วยทางกาย ได้รับความกระทบกระเทือนทางจิตใจ ใช้สารเสพติด มีอาการเครียดสะสม
อาการเหล่านี้มักเกิดขึ้นซ้ำๆ โดยคาดเดาไม่ได้ว่าจะเกิดเมื่อไร แต่ละครั้งอาจกินเวลาประมาณ 10 – 30 นาที ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกกังวลมากขึ้นและกลัวว่าอาการจะกำเริบขึ้นมาอีก ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการใช้ชีวิตประจำวัน และเมื่อไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด ก็ยิ่งทำให้รู้สึกกังวลมากขึ้นหรืออาจหมดหวัง หดหู่ จนเกิดอาการซึมเศร้าตามมาได้
ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์หลายครั้งด้วยอาการใจสั่น กลัวว่าจะเป็นโรคหัวใจ และจากการตรวจร่างกายและการตรวจเพิ่มเติม เช่น ตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ ระดับฮอร์โมนไทรอยด์ ไม่พบความผิดปกติ
หากมีอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นอาการของโรควิตกกังวล ทั้งตื่นตะหนก ตัวสั่น ไม่มีแรง มือเท้าเย็นหรือชา ปวดศีรษะ แน่นหน้าอก ใจสั่น หรือใจเต้นแรงเร็ว เหงื่อออกคล้ายจะเป็นลม ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง
โดยแพทย์จะทำการตรวจร่างกายโดยละเอียด ตรวจคลื่นหัวใจและเจาะเลือดเพื่อวัดระดับไทรอยด์ในเบื้องต้น และหากผลวินิจฉัยที่ออกมายืนยันว่าเป็นโรคแพนิค แพทย์จะทำการรักษาต่อไป ทั้งการรักษาด้วยยาและการทำจิตบำบัด
โดยการทำจิตบำบัดควบคู่กันไปก็มีส่วนสำคัญในการรักษา โดยในระยะแรกที่มีอาการฉับพลัน การรักษาแบบ Cognitive Behavioral Therapy จะช่วยลดอาการได้ดี รวมถึงการฝึกการผ่อนคลาย ฝึกการหายใจ สามารถช่วยบรรเทาอาการได้ นอกจากนี้การให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสามารถป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำในผู้ป่วยโรคแพนิค
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ด้วยกัน ได้แก่
เราสามารถป้องกันการเกิดโรคแพนิคในเบื้องต้นได้ด้วยการดูแลรักษาร่างกายและสภาพจิตใจให้แข็งแรง ดำเนินชีวิตอย่างสมดุล ทั้งการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ฝึกการผ่อนคลายเมื่อต้องเผชิญกับความเครียดหรือสถานการณ์ที่ไม่คาดหมาย หมั่นสังเกตอาการและพบแพทย์เมื่อสงสัยว่ามีอาการของโรค
โรคแพนิคสามารถรักษาได้ที่โรงพยาบาลสังกัดกรมสุขภาพจิตหรือแผนกจิตเวชศาสตร์ในโรงพยาบาลทั่วไป
เนื่องจากโรคแพนิคต่างจากอาการวิตกกังวลและหวาดกลัวทั่วไป โดยอาการของโรคแพนิคที่ได้กล่าวไปข้างต้น คนไข้มักมีอาการรุนแรงถึงขั้นรู้สึกอึดอัด ไม่สามารถขยับแขนขาได้ หัวใจเต้นเร็ว ส่งผลให้เกิดอาการกลัวแบบสุดขีดถึงขั้นคิดว่าตัวเองอาจจะเสียชีวิตได้ ทำให้การรักษาแบบใช้ยาร่วมด้วยจะช่วยให้ได้ผลดีและเร็วกว่า
ทั้งนี้ทั้งนั้นหากอาการไม่รุนแรง การดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตของตัวเองให้ดีขึ้น พร้อมกับมีคนรอบข้างคอยเป็นกำลังใจอาจช่วยบรรเทาอาการ แต่การรักษาที่ถูกต้องโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญจะสามารถช่วยรักษาให้อาการดีขึ้นได้
โรคแพนิครักษาให้หายขาดได้ แต่ต้องอาศัยการรักษาทางกายและทางใจที่สมดุลกัน โดยการพบแพทย์เป็นประจำ ทานยาตามที่แพทย์สั่ง ดูแลสุขภาพกายและใจของตนเองให้ดี และเมื่อรู้สึกว่าตัวเองกำลังจะหายดีแล้ว ไม่ควรหยุดยาเอง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อปรับยาและให้การรักษาที่ถูกต้อง ป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ
โรคแพนิคอาจไม่ได้ทำอันตรายถึงชีวิต แต่สร้างความลำบากให้กับผู้ป่วยในการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะต้องต่อสู้กับความวิตกกังวลอย่างรุนแรงที่เกิดบ่อยครั้ง ทำให้ไม่กล้าอยู่คนเดียวหรือไม่กล้าทำกิจกรรมบางอย่างที่เสี่ยงต่อการกำเริบของอาการ เช่น การขับรถ ขึ้นลิฟต์ และสำหรับบางรายอาจกลายเป็นหนึ่งในสาเหตุของโรคซึมเศร้าได้ ดังนั้นจึงควรพบแพทย์เพื่อการรักษาที่ถูกต้องต่อไป
บทความที่เกี่ยวข้อง
• โรค PTSD (Posttraumatic Stress Disorder)
• โรคฮิสทีเรีย (Hysteria)
• โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. บุฑบท พฤกษาพนาชาติ (จิตแพทย์)
โรงพยาบาลนครพิงค์
พบ. เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วว. จิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.รามาธิบดี
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล