✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร?
สาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม
อาการออฟฟิศซินโดรมมีอะไรบ้าง?
วิธีรับมือกับออฟฟิศซินโดรม
การป้องกันไม่ให้เกิดออฟฟิศซินโดรม
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม เรียกได้ว่าเป็นโรคยอดฮิตของคนทำงานออฟฟิศเลยก็ว่าได้ เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมนั้น มาจากพฤติกรรมการทำงานของชาวออฟฟิศนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน หรือเดินทำงาน ด้วยท่าใดท่าหนึ่งเป็นระยะเวลานานต่อเนื่องหลายชั่วโมงต่อวัน หรือการทำงานด้วยท่าเดิมติดต่อกันนานๆ และการจัดท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย เช่น นั่งหลังค่อม ยืนไหล่ห่อ เดินก้มคอมากเกินไป อีกทั้งยังรวมถึงสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ความเครียด หรือแม้แต่สภาพร่างกายของตัวผู้ทำงานเอง ก็ส่งผลให้เกิดออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน
โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือโรคที่เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น หรืออธิบายง่ายๆ ว่าการปวดกล้ามเนื้อมัดเดิมที่ถูกใช้งานอย่างซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนในที่สุดกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง
และรู้ไหมว่าสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้นำไปสู่การเป็นออฟฟิศซินโดรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การนั่งนานๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่ค่อยเปลี่ยนอิริยาบถยังอาจนำไปสู่การเป็นริดสีดวงพ่วงเข้ามาอีกหนึ่งโรค และหากไม่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ก็อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคอ้วนหรือโรคกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
ปรับหรือเปลี่ยนอุปกรณ์การทำงานของคุณ ให้รองรับต่อการใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตามหลักสรีรศาสตร์ ดังนี้
โรคออฟฟิศซินโดรม อาจไม่ใช่โรคที่อันตรายหรือร้ายแรงนัก โอกาสหายก็ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย แต่หากละเลยไม่ดูแลตัวเอง ไม่พยายามหาวิธีรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้นได้ จากปวดไม่กี่จุดอาจลุกลามไปหลายจุดและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด
สามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาออฟฟิศซินโดรมได้ จากโรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันตน ซึ่งจะได้รับการรักษาตามแพทย์สั่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่หากผู้ประกันตนมีความต้องการรักษานอกเหนือจากแพทย์สั่ง ในส่วนนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนต่างเอง
วิธีการรักษาเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้หายจากการเป็นออฟฟิศซินโดรมสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งการกายภาพบำบัดก็เป็น 1 ในวิธีที่ผู้ป่วยควรทำ เพราะเป็นวิธีการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด อีกทั้งยังให้คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมแก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมด้วย
อย่างไรก็ตาม ออฟฟิศซินโดรมสามารถรักษาให้หายได้เอง จากการปรับและเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน การดูแลตัวเองอย่างดี ทั้งการออกกำลังกาย หรือยืดกล้ามเนื้อ หากรู้สึกว่าทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน ก็ควรสลับสับเปลี่ยนท่าทางให้ผ่อนคลายบ้าง แต่หากมีพฤติกรรมการทำงานที่เหมาะสมดีอยู่แล้ว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนอย่างเพียงพอ เท่านี้… ก็ไม่เป็นออฟฟิศซินโดรมแล้ว
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
• ต้อลม (Pinguecula)
• แพ้อาหารทะเล (Seafood Allergies)
• อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)
• ท้องผูก (Constipation)
• เส้นเลือดขอด (Varicose Vein)
• ตากุ้งยิง (Stye)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ขัตติยะ ผลานิสงค์ (GP)
ศูนย์บริการสาธารณสุข
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร?
สาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรม
อาการออฟฟิศซินโดรมมีอะไรบ้าง?
วิธีรับมือกับออฟฟิศซินโดรม
การป้องกันไม่ให้เกิดออฟฟิศซินโดรม
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรม
ออฟฟิศซินโดรม เรียกได้ว่าเป็นโรคยอดฮิตของคนทำงานออฟฟิศเลยก็ว่าได้ เพราะสาเหตุที่ทำให้เกิดออฟฟิศซินโดรมนั้น มาจากพฤติกรรมการทำงานของชาวออฟฟิศนั่นเอง ไม่ว่าจะเป็นการนั่ง ยืน หรือเดินทำงาน ด้วยท่าใดท่าหนึ่งเป็นระยะเวลานานต่อเนื่องหลายชั่วโมงต่อวัน หรือการทำงานด้วยท่าเดิมติดต่อกันนานๆ และการจัดท่าทางการทำงานที่ไม่เหมาะสมกับสรีระร่างกาย เช่น นั่งหลังค่อม ยืนไหล่ห่อ เดินก้มคอมากเกินไป อีกทั้งยังรวมถึงสภาพแวดล้อมในที่ทำงาน ความเครียด หรือแม้แต่สภาพร่างกายของตัวผู้ทำงานเอง ก็ส่งผลให้เกิดออฟฟิศซินโดรมได้เช่นกัน
โรคออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คือโรคที่เกิดจากการปวดกล้ามเนื้อและเยื่อพังผืด (Myofascial Pain Syndrome) รวมถึงการปวดจากการอักเสบของเนื้อเยื่อและเอ็น หรืออธิบายง่ายๆ ว่าการปวดกล้ามเนื้อมัดเดิมที่ถูกใช้งานอย่างซ้ำๆ ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จนในที่สุดกลายเป็นอาการปวดเรื้อรัง
และรู้ไหมว่าสาเหตุต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้นำไปสู่การเป็นออฟฟิศซินโดรมเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่การนั่งนานๆ หน้าจอคอมพิวเตอร์โดยไม่ค่อยเปลี่ยนอิริยาบถยังอาจนำไปสู่การเป็นริดสีดวงพ่วงเข้ามาอีกหนึ่งโรค และหากไม่มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่เหมาะสม ก็อาจจะนำไปสู่การเป็นโรคอ้วนหรือโรคกระเพาะอาหารได้อีกด้วย
ปรับหรือเปลี่ยนอุปกรณ์การทำงานของคุณ ให้รองรับต่อการใช้งานได้อย่างถูกต้อง ตามหลักสรีรศาสตร์ ดังนี้
โรคออฟฟิศซินโดรม อาจไม่ใช่โรคที่อันตรายหรือร้ายแรงนัก โอกาสหายก็ขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย แต่หากละเลยไม่ดูแลตัวเอง ไม่พยายามหาวิธีรักษาอย่างถูกต้อง ก็อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพมากขึ้นได้ จากปวดไม่กี่จุดอาจลุกลามไปหลายจุดและกลายเป็นปวดเรื้อรังในที่สุด
สามารถใช้สิทธิประกันสังคมในการรักษาออฟฟิศซินโดรมได้ จากโรงพยาบาลที่มีสิทธิประกันตน ซึ่งจะได้รับการรักษาตามแพทย์สั่ง โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายแต่หากผู้ประกันตนมีความต้องการรักษานอกเหนือจากแพทย์สั่ง ในส่วนนี้ต้องเสียค่าใช้จ่ายส่วนต่างเอง
วิธีการรักษาเพื่อฟื้นฟูร่างกายให้หายจากการเป็นออฟฟิศซินโดรมสามารถทำได้หลายวิธี ซึ่งการกายภาพบำบัดก็เป็น 1 ในวิธีที่ผู้ป่วยควรทำ เพราะเป็นวิธีการรักษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้และแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด อีกทั้งยังให้คำแนะนำในการปรับพฤติกรรมแก่ผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสมด้วย
อย่างไรก็ตาม ออฟฟิศซินโดรมสามารถรักษาให้หายได้เอง จากการปรับและเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน การดูแลตัวเองอย่างดี ทั้งการออกกำลังกาย หรือยืดกล้ามเนื้อ หากรู้สึกว่าทำงานในท่าเดิมเป็นเวลานาน ก็ควรสลับสับเปลี่ยนท่าทางให้ผ่อนคลายบ้าง แต่หากมีพฤติกรรมการทำงานที่เหมาะสมดีอยู่แล้ว ออกกำลังกายสม่ำเสมอ พักผ่อนอย่างเพียงพอ เท่านี้… ก็ไม่เป็นออฟฟิศซินโดรมแล้ว
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
• ต้อลม (Pinguecula)
• แพ้อาหารทะเล (Seafood Allergies)
• อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning)
• ท้องผูก (Constipation)
• เส้นเลือดขอด (Varicose Vein)
• ตากุ้งยิง (Stye)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ขัตติยะ ผลานิสงค์ (GP)
ศูนย์บริการสาธารณสุข
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล