✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคย้ำคิดย้ำทำคืออะไร?
โรคย้ำคิดย้ำทำมีแบบไหนบ้าง?
สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ
อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคย้ำคิดย้ำทำ
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ
ยารักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)
การป้องกันโรคย้ำคิดย้ำทำ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคย้ำคิดย้ำทำ
โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) เรียกสั้นๆ ว่าโรค OCD คือ ภาวะที่ผู้ป่วยคิดหรือรู้สึกถึงสิ่งนั้นซ้ำๆ (Obsessions) หรือทำพฤติกรรมบางอย่างซ้ำๆ (Compulsions) มากเกินความจำเป็น เพื่อจะได้หยุดคิดหรือลดความเครียด ความวิตกกังวลลง เช่น การล้างมือซ้ำๆ การทำความสะอาดสิ่งของซ้ำแล้วซ้ำอีก ปิดประตูซ้ำๆ
สามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุประมาณ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งในช่วงแรกที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยมักยังไม่ทราบว่าพฤติกรรมที่ตนเป็นเข้าข่ายโรคย้ำคิดย้ำทำ จนกระทั่งอาการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หรือส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต จึงต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
สาเหตุของโรค OCD ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน แต่มีหลายทฤษฎีที่ระบุว่าโรคย้ำคิดย้ำทำเกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้
อาการของ OCD จะถูกแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ อาการย้ำคิด และอาการย้ำทำ
มักเกิดจากความกังวลเกินจริงของผู้ป่วย ลักษณะอาการ เช่น
ซึ่งอาการย้ำคิดเหล่านี้มักเกิดขึ้นวนเวียนในหัวของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแบบไม่สมเหตุสมผล แถมยังหยุดคิดถึงสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ สามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยสิ่งต่างๆ รอบตัว ทั้งสถานการณ์ที่เผชิญ กิจกรรมที่ทำ กลิ่นที่ได้ดม หรือเสียงที่ได้ยิน โดยอาการย้ำคิด (Obsessions) สามารถทำให้เกิดความรู้สึกตั้งแต่รำคาญใจไปจนถึงเครียด ขยะแขยง หรือตื่นตระหนกเลยทีเดียว
เป็นอาการที่ผู้ป่วยทำหรือคิดเพื่อลดความวิตกกังวล ความตื่นตระหนกจากอาการย้ำคิด เพื่อให้รู้สึกว่าทุกอย่างควบคุมได้และสถานการณ์จะดีขึ้นถ้าทำสิ่งเหล่านี้ อาการย้ำทำเช่น
ซึ่งอาการย้ำทำเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างมีลำดับและเป็นรูปแบบเดิม แม้ว่าอาการย้ำทำจะทำให้ความวิตกกังวลลดลงแต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นๆ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าอาการย้ำคิดย้ำทำหายแล้ว ดังนั้นอาการจึงกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
ผู้ป่วย OCD อาจมีอาการย้ำคิดย้ำทำจนส่งผลกระทบให้เกิดอาการและโรคอื่นๆ ตามมา เช่น เครียด นอนไม่หลับ ติดสุรา ล้างมือบ่อยจนมือเปื่อย ถลอก เป็นแผล เหงือกอักเสบจากการแปรงฟันมากเกินไป สูญเสียความมั่นใจ ไม่กล้าเข้าสังคม เก็บตัว เป็นโรคซึมเศร้า โรคแพนิค (Panic Disorder) และอาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายตนเอง หรือฆ่าตัวตายได้
หากรู้ตัวว่ามีอาจมีอาการวิตกกังวลหรือคนใกล้ตัวมีอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรค OCD และเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเข้าสังคม ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรักษา
OCD สามารถรักษาได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้
ยาที่นิยมใช้ในผู้ป่วย OCD แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
OCD อาจเป็นได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อยทั่วไป จนถึงอาการที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น กังวลว่าลืมปิดไฟ จนต้องกลับไปตรวจเช็กซ้ำๆ ทำให้เสียเวลาหรือไปทำงานสาย จนถึงขั้นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกาย เช่น กังวลเรื่องความสะอาด ทำให้ต้องล้างมือบ่อยมากๆ จนมือเปื่อย กังวลจนต้องดื่มสุราเป็นประจำ ชอบเก็บสะสมขยะหรือของที่ไม่มีประโยชน์ หรือมีความวิตกกังวลมากจนนำไปสู่โรคซึมเศร้า ทุกข์ทรมาน เก็บตัว ไม่กล้าเข้าสังคม ทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ดังนั้นหากอาการของโรคเริ่มส่งผลต่อตัวเองและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
หากไม่ได้รับการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำอาการอาจแย่ลง หรืออาการเท่าเดิมแต่เป็นๆ หายๆ เมื่อมีความเครียดมากระตุ้น อาการก็จะกลับมาเป็นอีก
OCD ถือว่าเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยที่รักษาจนหายขาดมีน้อย เมื่อรักษาแล้วมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก แต่หากผู้ป่วยดูแลตัวเอง ให้ความร่วมมือในการรักษา ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยบรรเทาอาการลงได้มากจนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และลดโอกาสที่จะกลับมาเป็นอีกได้
ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า OCD จะนำไปสู่โรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ แต่ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมมักมีอาการย้ำคิดย้ำทำนำมาก่อน
OCD อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลจนนอนไม่หลับ หรือต้องทำพฤติกรรมบางอย่างจนกว่าจะคลายความกังวลลงถึงสามารถหลับได้ เช่น ต้องทำความสะอาดซ้ำๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าสะอาดจริงๆ หรือต้องตรวจเช็กประตูซ้ำๆ ว่าล็อกเรียบร้อยแล้วจนรู้สึกสบายใจถึงไปนอนได้ ผู้ป่วย OCD จึงมักนอนดึก นอนไม่หลับ หรือนอนหลับแต่คุณภาพในการนอนไม่ดี ทำให้ตื่นมาแล้วยังรู้สึกอ่อนเพลียหรือนอนไม่พอ
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. ศิริลักษณ์ ลอดทอน (จิตแพทย์)
คลินิกส่วนตัว
แพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง จิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคย้ำคิดย้ำทำคืออะไร?
โรคย้ำคิดย้ำทำมีแบบไหนบ้าง?
สาเหตุของโรคย้ำคิดย้ำทำ
อาการของโรคย้ำคิดย้ำทำ
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคย้ำคิดย้ำทำ
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ
ยารักษาโรคย้ำคิดย้ำทำ
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ (OCD)
การป้องกันโรคย้ำคิดย้ำทำ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคย้ำคิดย้ำทำ
โรคย้ำคิดย้ำทำ (Obsessive Compulsive Disorder) เรียกสั้นๆ ว่าโรค OCD คือ ภาวะที่ผู้ป่วยคิดหรือรู้สึกถึงสิ่งนั้นซ้ำๆ (Obsessions) หรือทำพฤติกรรมบางอย่างซ้ำๆ (Compulsions) มากเกินความจำเป็น เพื่อจะได้หยุดคิดหรือลดความเครียด ความวิตกกังวลลง เช่น การล้างมือซ้ำๆ การทำความสะอาดสิ่งของซ้ำแล้วซ้ำอีก ปิดประตูซ้ำๆ
สามารถพบได้ทั้งผู้ชายและผู้หญิง โดยเฉพาะในช่วงอายุประมาณ 20 ปีขึ้นไป ซึ่งในช่วงแรกที่อาการไม่รุนแรง ผู้ป่วยมักยังไม่ทราบว่าพฤติกรรมที่ตนเป็นเข้าข่ายโรคย้ำคิดย้ำทำ จนกระทั่งอาการดังกล่าวส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน หรือส่งผลต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต จึงต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
สาเหตุของโรค OCD ยังไม่สามารถระบุได้อย่างชัดเจน แต่มีหลายทฤษฎีที่ระบุว่าโรคย้ำคิดย้ำทำเกิดได้จากสาเหตุเหล่านี้
อาการของ OCD จะถูกแบ่งได้เป็น 2 ส่วนคือ อาการย้ำคิด และอาการย้ำทำ
มักเกิดจากความกังวลเกินจริงของผู้ป่วย ลักษณะอาการ เช่น
ซึ่งอาการย้ำคิดเหล่านี้มักเกิดขึ้นวนเวียนในหัวของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องแบบไม่สมเหตุสมผล แถมยังหยุดคิดถึงสิ่งเหล่านี้ไม่ได้ สามารถถูกกระตุ้นได้ด้วยสิ่งต่างๆ รอบตัว ทั้งสถานการณ์ที่เผชิญ กิจกรรมที่ทำ กลิ่นที่ได้ดม หรือเสียงที่ได้ยิน โดยอาการย้ำคิด (Obsessions) สามารถทำให้เกิดความรู้สึกตั้งแต่รำคาญใจไปจนถึงเครียด ขยะแขยง หรือตื่นตระหนกเลยทีเดียว
เป็นอาการที่ผู้ป่วยทำหรือคิดเพื่อลดความวิตกกังวล ความตื่นตระหนกจากอาการย้ำคิด เพื่อให้รู้สึกว่าทุกอย่างควบคุมได้และสถานการณ์จะดีขึ้นถ้าทำสิ่งเหล่านี้ อาการย้ำทำเช่น
ซึ่งอาการย้ำทำเหล่านี้จะเกิดขึ้นอย่างมีลำดับและเป็นรูปแบบเดิม แม้ว่าอาการย้ำทำจะทำให้ความวิตกกังวลลดลงแต่ก็เป็นเพียงระยะสั้นๆ ทำให้ผู้ป่วยคิดว่าอาการย้ำคิดย้ำทำหายแล้ว ดังนั้นอาการจึงกลับมาเป็นซ้ำได้อีก
ผู้ป่วย OCD อาจมีอาการย้ำคิดย้ำทำจนส่งผลกระทบให้เกิดอาการและโรคอื่นๆ ตามมา เช่น เครียด นอนไม่หลับ ติดสุรา ล้างมือบ่อยจนมือเปื่อย ถลอก เป็นแผล เหงือกอักเสบจากการแปรงฟันมากเกินไป สูญเสียความมั่นใจ ไม่กล้าเข้าสังคม เก็บตัว เป็นโรคซึมเศร้า โรคแพนิค (Panic Disorder) และอาจรุนแรงถึงขั้นทำร้ายตนเอง หรือฆ่าตัวตายได้
หากรู้ตัวว่ามีอาจมีอาการวิตกกังวลหรือคนใกล้ตัวมีอาการที่บ่งชี้ว่าเป็นโรค OCD และเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน การเข้าสังคม ความสัมพันธ์กับคนรอบตัว ให้ไปพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยโรคและรักษา
OCD สามารถรักษาได้ด้วยวิธี ดังต่อไปนี้
ยาที่นิยมใช้ในผู้ป่วย OCD แบ่งได้เป็น 3 กลุ่มดังนี้
OCD อาจเป็นได้ตั้งแต่อาการเล็กน้อยทั่วไป จนถึงอาการที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น กังวลว่าลืมปิดไฟ จนต้องกลับไปตรวจเช็กซ้ำๆ ทำให้เสียเวลาหรือไปทำงานสาย จนถึงขั้นที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตและสุขภาพร่างกาย เช่น กังวลเรื่องความสะอาด ทำให้ต้องล้างมือบ่อยมากๆ จนมือเปื่อย กังวลจนต้องดื่มสุราเป็นประจำ ชอบเก็บสะสมขยะหรือของที่ไม่มีประโยชน์ หรือมีความวิตกกังวลมากจนนำไปสู่โรคซึมเศร้า ทุกข์ทรมาน เก็บตัว ไม่กล้าเข้าสังคม ทำร้ายตัวเอง หรือฆ่าตัวตาย ดังนั้นหากอาการของโรคเริ่มส่งผลต่อตัวเองและความสัมพันธ์กับคนรอบข้างควรรีบไปพบแพทย์โดยด่วน
หากไม่ได้รับการรักษาโรคย้ำคิดย้ำทำอาการอาจแย่ลง หรืออาการเท่าเดิมแต่เป็นๆ หายๆ เมื่อมีความเครียดมากระตุ้น อาการก็จะกลับมาเป็นอีก
OCD ถือว่าเป็นโรคเรื้อรัง ผู้ป่วยที่รักษาจนหายขาดมีน้อย เมื่อรักษาแล้วมีโอกาสกลับมาเป็นได้อีก แต่หากผู้ป่วยดูแลตัวเอง ให้ความร่วมมือในการรักษา ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยบรรเทาอาการลงได้มากจนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ และลดโอกาสที่จะกลับมาเป็นอีกได้
ปัจจุบันยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจนว่า OCD จะนำไปสู่โรคสมองเสื่อมและโรคอัลไซเมอร์หรือไม่ แต่ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองเสื่อมมักมีอาการย้ำคิดย้ำทำนำมาก่อน
OCD อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีความวิตกกังวลจนนอนไม่หลับ หรือต้องทำพฤติกรรมบางอย่างจนกว่าจะคลายความกังวลลงถึงสามารถหลับได้ เช่น ต้องทำความสะอาดซ้ำๆ จนกว่าจะรู้สึกว่าสะอาดจริงๆ หรือต้องตรวจเช็กประตูซ้ำๆ ว่าล็อกเรียบร้อยแล้วจนรู้สึกสบายใจถึงไปนอนได้ ผู้ป่วย OCD จึงมักนอนดึก นอนไม่หลับ หรือนอนหลับแต่คุณภาพในการนอนไม่ดี ทำให้ตื่นมาแล้วยังรู้สึกอ่อนเพลียหรือนอนไม่พอ
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. ศิริลักษณ์ ลอดทอน (จิตแพทย์)
คลินิกส่วนตัว
แพทยศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง จิตเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล