✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคอ้วนคืออะไร?
สาเหตุของโรคอ้วน
รู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคอ้วนแล้วหรือยัง?
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคอ้วน
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคอ้วน
การป้องกันโรคอ้วน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคอ้วน
โรคอ้วน (Obesity) หรือภาวะน้ำหนักเกิน (Overweight) คือโรคที่มีไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
โรคอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดตีบ โรคข้อเข่าเสื่อม ประจำเดือนผิดปกติ และโรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) คืออาการที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการสะสมไขมันบริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะอาหาร และที่อื่นๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นด้วย
โรคอ้วน สาเหตุเกิดจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ดังนี้
โรคอ้วนสามารถวัดได้คร่าวๆ จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตามที่องค์กรอนามัยโลกได้กำหนดค่าดัชนีมวลกายไว้ว่า
ค่า BMI เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้น ร่างกายแต่ละคนมีมวลกระดูกมากน้อยแตกต่างกัน หรือสภาวะบวมน้ำ ปัสสาวะบ่อยที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวด้วย
ดัชนีมวลกายคำนวณได้จาก น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยความสูง (เมตรยกกำลังสอง)
โรคอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมามากมาย ได้แก่
นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนยังเสี่ยงเสียชีวิตเร็วกว่าคนปกติ 7-10 ปีอีกด้วย โรคอ้วนจึงอันตรายมากกว่าที่คิด
หากมีภาวะน้ำหนักเกิดแล้วให้พยายามลดน้ำหนักด้วยตัวเองอย่างถูกวิธี ห้ามใช้ยาลดน้ำหนัก แต่ควรเน้นที่การเลือกอาหารและออกกำลังกายแทน แต่หากไม่สามารถลดด้วยตัวเองได้ และความอ้วนเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
อาการที่มีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินปกติ และมีการเผาผลาญไขมันออกไปน้อย ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา เช่น เคลื่อนไหวช้า เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก นอนกรน ปวดหลัง ปวดข้อเข่า อีกทั้งยังส่งผลต่อโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมาด้วย
การสะสมไขมันของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันตามพฤติกรรมและสภาพร่างกาย ซึ่งการสะสมไขมันแต่ละส่วนมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต ได้แก่
โรคอ้วนเป็นอาการข้างเคียงของโรคอื่นได้เช่นกัน เช่น โรคไทรอยด์ในประเภทที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนจะมีผลต่อความอ้วน ซึ่งจะมีอาการบวม น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย หรืออ้วนขึ้นง่ายอย่างไม่ทราบสาเหตุ
ในผู้ป่วยที่รับประทานยาสเตียรอยด์ ผลข้างเคียงของยาทำให้ผู้ป่วยเกิดความอยากอาหารและเพิ่มการสะสมของไขมัน ทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ง่าย
ยาลดความอ้วนเป็นเพียงตัวช่วยหนึ่งในการลดน้ำหนัก ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย อีกทั้งยาลดความอ้วนที่ถูกรับรองว่าถูกกฏหมายเป็นยาที่ใช้เฉพาะกลุ่ม ใช้กับผู้ที่ไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย การใช้ยาลดความอ้วนจึงต้องให้อยู่ในความดูแลของแพทย์
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นายแพทย์รัตน์ศักดิ์ ตั้งเทอดชนะกิจ (GP)
โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคอ้วนคืออะไร?
สาเหตุของโรคอ้วน
รู้ได้อย่างไรว่าเราเป็นโรคอ้วนแล้วหรือยัง?
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคอ้วน
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคอ้วน
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคอ้วน
การป้องกันโรคอ้วน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคอ้วน
โรคอ้วน (Obesity) หรือภาวะน้ำหนักเกิน (Overweight) คือโรคที่มีไขมันสะสมตามส่วนต่างๆ ของร่างกายมากกว่าปกติ ส่งผลให้เกิดภาวะน้ำหนักเกินมาตรฐาน
โรคอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคไขมันในเลือดผิดปกติ โรคหลอดเลือดตีบ โรคข้อเข่าเสื่อม ประจำเดือนผิดปกติ และโรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) คืออาการที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกายผิดปกติ ทำให้เกิดการสะสมไขมันบริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะอาหาร และที่อื่นๆ ซึ่งเป็นหนึ่งในต้นเหตุของโรคเรื้อรังต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นด้วย
โรคอ้วน สาเหตุเกิดจากทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ดังนี้
โรคอ้วนสามารถวัดได้คร่าวๆ จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ตามที่องค์กรอนามัยโลกได้กำหนดค่าดัชนีมวลกายไว้ว่า
ค่า BMI เป็นเพียงการประเมินเบื้องต้น ร่างกายแต่ละคนมีมวลกระดูกมากน้อยแตกต่างกัน หรือสภาวะบวมน้ำ ปัสสาวะบ่อยที่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวด้วย
ดัชนีมวลกายคำนวณได้จาก น้ำหนักตัว (กิโลกรัม) หารด้วยความสูง (เมตรยกกำลังสอง)
โรคอ้วนเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังตามมามากมาย ได้แก่
นอกจากนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนยังเสี่ยงเสียชีวิตเร็วกว่าคนปกติ 7-10 ปีอีกด้วย โรคอ้วนจึงอันตรายมากกว่าที่คิด
หากมีภาวะน้ำหนักเกิดแล้วให้พยายามลดน้ำหนักด้วยตัวเองอย่างถูกวิธี ห้ามใช้ยาลดน้ำหนัก แต่ควรเน้นที่การเลือกอาหารและออกกำลังกายแทน แต่หากไม่สามารถลดด้วยตัวเองได้ และความอ้วนเริ่มส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ให้ไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างถูกต้อง
อาการที่มีไขมันสะสมในร่างกายมากเกินปกติ และมีการเผาผลาญไขมันออกไปน้อย ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมา เช่น เคลื่อนไหวช้า เหนื่อยง่าย หายใจลำบาก นอนกรน ปวดหลัง ปวดข้อเข่า อีกทั้งยังส่งผลต่อโรคเรื้อรังอื่นๆ ตามมาด้วย
การสะสมไขมันของแต่ละคนนั้นแตกต่างกันตามพฤติกรรมและสภาพร่างกาย ซึ่งการสะสมไขมันแต่ละส่วนมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต ได้แก่
โรคอ้วนเป็นอาการข้างเคียงของโรคอื่นได้เช่นกัน เช่น โรคไทรอยด์ในประเภทที่เกิดจากความผิดปกติของฮอร์โมนจะมีผลต่อความอ้วน ซึ่งจะมีอาการบวม น้ำหนักเพิ่มขึ้นง่าย หรืออ้วนขึ้นง่ายอย่างไม่ทราบสาเหตุ
ในผู้ป่วยที่รับประทานยาสเตียรอยด์ ผลข้างเคียงของยาทำให้ผู้ป่วยเกิดความอยากอาหารและเพิ่มการสะสมของไขมัน ทำให้ผู้ป่วยมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นได้ง่าย
ยาลดความอ้วนเป็นเพียงตัวช่วยหนึ่งในการลดน้ำหนัก ควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย อีกทั้งยาลดความอ้วนที่ถูกรับรองว่าถูกกฏหมายเป็นยาที่ใช้เฉพาะกลุ่ม ใช้กับผู้ที่ไม่สามารถลดน้ำหนักด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย การใช้ยาลดความอ้วนจึงต้องให้อยู่ในความดูแลของแพทย์
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นายแพทย์รัตน์ศักดิ์ ตั้งเทอดชนะกิจ (GP)
โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล