✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคไตคืออะไร?
รู้ไหมว่าไตสำคัญ และไม่ได้มีหน้าที่แค่กรองของเสีย
โรคไตมีอะไรบ้าง?
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไต
อาการของโรคไต
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การวินิจฉัยโรคไต
การรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของโรคไต
การรักษาในผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานเองได้แล้ว
การป้องกันโรคไต
โรคไต หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Kidney Diseases คือกลุ่มโรคและอาการที่เกิดจากภาวะไตเสื่อมหรือทำงานได้น้อยลง ส่งผลให้มีความผิดปกติในการกำจัดสารพิษหรือของเสียต่างๆ ออกจากร่างกาย รวมถึงการหลั่งฮอร์โมนหรือการควบคุมน้ำและแร่ธาตุเพื่อรักษาสมดุล
การเสื่อมของไตอาจเกิดจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไปจนถึงโรคเรื้อรัง (Chronic Diseases) อื่นๆ ในขณะที่การเป็นโรคไตก็นำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น โรคกระดูกพรุน เส้นประสาทเสียหาย และภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition)
หากอาการของโรคไตรุนแรงขึ้น ก็อาจจะทำให้ไตเสื่อมจนเกิดภาวะไตวาย และต้องมีการฟอกไตแทนการทำหน้าที่ของไต ซึ่งการฟอกไต (Dialysis) ก็คือกระบวนการกรองและกำจัดของเสียที่อยู่ในเลือดออกไปโดยใช้เครื่องฟอกไต มักจะใช้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และแม้ว่าการฟอกไตจะไม่ช่วยรักษาโรคไต แต่ก็ช่วยยืดอายุของผู้ป่วยและรักษาระบบอื่นๆ ของร่างกายเอาไว้ได้
ก่อนจะรู้จักโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของไต มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าไตสำคัญกับร่างกายของมนุษย์ขนาดไหน
ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤติ ไตถือเป็นอวัยวะหลักที่แพทย์จะพยายามรักษาเอาไว้ให้ได้ เพราะหากไตของเราเสื่อมลง ก็จะส่งผลให้อวัยวะอื่นๆ ทำงานผิดปกติไปตามๆ กัน เพราะฉะนั้น การที่เราจะมีสุขภาพดีได้ก็ต้องรักษาไตให้มีสุขภาพดีด้วย
โรคและอาการผิดปกติของไตนั้นมีมากกว่า 10 ชนิด แต่โรคที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่
อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงเป็นโรคไตตามอาการข้างต้นก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะหลายๆ อาการเป็นหนึ่งในอาการของโรคอื่นๆ ด้วย
ในระยะแรกๆ ผู้ป่วยที่ไม่เคยมีประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคความผิดปกติของไตมาก่อน อาจจะยังไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไตหรือไม่ เพราะไม่มีอาการแสดงออกที่ชัดเจน แต่หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีคนในครอบครัวเป็นโรคไต หรือมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่อาจทำให้เกิดโรคได้ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อจะได้พบความผิดปกติของไตเร็วขึ้น
แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ อยู่ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง หรือโรคเกาต์ แพทย์ประจำตัวผู้ป่วยมักจะให้ตรวจหาภาวะแทรกซ้อนทางไตร่วมด้วยอยู่แล้ว แต่หากมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าเราอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงโรคไตสูงหรือไม่ด้วยการตรวจสอบว่าไตของเรายังทำงานได้ปกติอยู่หรือเปล่า ซึ่งการทดสอบที่มักใช้บ่อยๆ มีดังนี้
ในการรักษาโรคไต แพทย์จะให้ผู้ป่วยรักษาระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ นอกจากนี้แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยาตามอาการของโรคไตแต่ละประเภท รวมถึงให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตด้วย
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคไตมีด้วยกันหลายตัว ทั้งช่วยชะลอการเสื่อมของไต และรักษาอาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคไต เช่น
นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
ในผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานเองได้ แพทย์จะใช้วิธีรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต (Renal Replacement Therapy) โดยแบ่งเป็น
ถือเป็นวิธีการรักษาโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้ผลดีในปัจจุบัน และผู้ป่วยไม่ต้องฟอกเลือดผ่านช่องท้อง โดยวิธีการนี้จะนำไตของผู้บริจาคอาจจะเป็นผู้ที่ยังมีชีวิตหรือผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วก็ได้ นำมาตรวจสอบว่าสามารถเข้ากับผู้ป่วยได้ หลังจากนั้นก็จะทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตใหม่ให้กับผู้ป่วย
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. จิรภัทร สุริยะชัยสวัสดิ์ (GP)
โรงพยาบาลกรุงเทพ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคไตคืออะไร?
รู้ไหมว่าไตสำคัญ และไม่ได้มีหน้าที่แค่กรองของเสีย
โรคไตมีอะไรบ้าง?
สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคไต
อาการของโรคไต
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การวินิจฉัยโรคไต
การรักษาเพื่อชะลอการเสื่อมของโรคไต
การรักษาในผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานเองได้แล้ว
การป้องกันโรคไต
โรคไต หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Kidney Diseases คือกลุ่มโรคและอาการที่เกิดจากภาวะไตเสื่อมหรือทำงานได้น้อยลง ส่งผลให้มีความผิดปกติในการกำจัดสารพิษหรือของเสียต่างๆ ออกจากร่างกาย รวมถึงการหลั่งฮอร์โมนหรือการควบคุมน้ำและแร่ธาตุเพื่อรักษาสมดุล
การเสื่อมของไตอาจเกิดจากโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ไปจนถึงโรคเรื้อรัง (Chronic Diseases) อื่นๆ ในขณะที่การเป็นโรคไตก็นำไปสู่การเกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาอีกมากมาย เช่น โรคกระดูกพรุน เส้นประสาทเสียหาย และภาวะทุพโภชนาการ (Malnutrition)
หากอาการของโรคไตรุนแรงขึ้น ก็อาจจะทำให้ไตเสื่อมจนเกิดภาวะไตวาย และต้องมีการฟอกไตแทนการทำหน้าที่ของไต ซึ่งการฟอกไต (Dialysis) ก็คือกระบวนการกรองและกำจัดของเสียที่อยู่ในเลือดออกไปโดยใช้เครื่องฟอกไต มักจะใช้ในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังระยะสุดท้าย และแม้ว่าการฟอกไตจะไม่ช่วยรักษาโรคไต แต่ก็ช่วยยืดอายุของผู้ป่วยและรักษาระบบอื่นๆ ของร่างกายเอาไว้ได้
ก่อนจะรู้จักโรคเกี่ยวกับความผิดปกติของไต มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าไตสำคัญกับร่างกายของมนุษย์ขนาดไหน
ในช่วงเวลาที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะวิกฤติ ไตถือเป็นอวัยวะหลักที่แพทย์จะพยายามรักษาเอาไว้ให้ได้ เพราะหากไตของเราเสื่อมลง ก็จะส่งผลให้อวัยวะอื่นๆ ทำงานผิดปกติไปตามๆ กัน เพราะฉะนั้น การที่เราจะมีสุขภาพดีได้ก็ต้องรักษาไตให้มีสุขภาพดีด้วย
โรคและอาการผิดปกติของไตนั้นมีมากกว่า 10 ชนิด แต่โรคที่พบได้บ่อยๆ ได้แก่
อย่างไรก็ตาม หากพบว่าตนเองมีความเสี่ยงเป็นโรคไตตามอาการข้างต้นก็อย่าเพิ่งตกใจ เพราะหลายๆ อาการเป็นหนึ่งในอาการของโรคอื่นๆ ด้วย
ในระยะแรกๆ ผู้ป่วยที่ไม่เคยมีประวัติเจ็บป่วยด้วยโรคความผิดปกติของไตมาก่อน อาจจะยังไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคไตหรือไม่ เพราะไม่มีอาการแสดงออกที่ชัดเจน แต่หากอยู่ในกลุ่มเสี่ยง เช่น มีคนในครอบครัวเป็นโรคไต หรือมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่อาจทำให้เกิดโรคได้ ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเพื่อจะได้พบความผิดปกติของไตเร็วขึ้น
แต่หากผู้ป่วยเป็นโรคเรื้อรังอื่นๆ อยู่ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง หรือโรคเกาต์ แพทย์ประจำตัวผู้ป่วยมักจะให้ตรวจหาภาวะแทรกซ้อนทางไตร่วมด้วยอยู่แล้ว แต่หากมีอาการผิดปกติอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบทันที
แพทย์จะเป็นผู้วินิจฉัยว่าเราอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงโรคไตสูงหรือไม่ด้วยการตรวจสอบว่าไตของเรายังทำงานได้ปกติอยู่หรือเปล่า ซึ่งการทดสอบที่มักใช้บ่อยๆ มีดังนี้
ในการรักษาโรคไต แพทย์จะให้ผู้ป่วยรักษาระดับความดันโลหิต ระดับน้ำตาลในเลือด และระดับคอเลสเตอรอลให้อยู่ในระดับปกติ นอกจากนี้แพทย์อาจจะพิจารณาให้ยาตามอาการของโรคไตแต่ละประเภท รวมถึงให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิตด้วย
ยาที่ใช้ในการรักษาโรคไตมีด้วยกันหลายตัว ทั้งช่วยชะลอการเสื่อมของไต และรักษาอาการต่างๆ ที่เกิดจากโรคไต เช่น
นอกจากการรักษาด้วยยาแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
ในผู้ป่วยที่ไตไม่สามารถทำงานเองได้ แพทย์จะใช้วิธีรักษาด้วยการบำบัดทดแทนไต (Renal Replacement Therapy) โดยแบ่งเป็น
ถือเป็นวิธีการรักษาโรคไตระยะสุดท้ายที่ได้ผลดีในปัจจุบัน และผู้ป่วยไม่ต้องฟอกเลือดผ่านช่องท้อง โดยวิธีการนี้จะนำไตของผู้บริจาคอาจจะเป็นผู้ที่ยังมีชีวิตหรือผู้ที่เสียชีวิตไปแล้วก็ได้ นำมาตรวจสอบว่าสามารถเข้ากับผู้ป่วยได้ หลังจากนั้นก็จะทำการผ่าตัดปลูกถ่ายไตใหม่ให้กับผู้ป่วย
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. จิรภัทร สุริยะชัยสวัสดิ์ (GP)
โรงพยาบาลกรุงเทพ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล