✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
คีลอยด์คืออะไร?
สาเหตุของการเกิดคีลอยด์
ลักษณะของแผลคีลอยด์
การรักษารอยแผลคีลอยด์
ยารักษาคีลอยด์
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีรอยแผลคีลอยด์
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดแผลคีลอยด์
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแผลคีลอยด์
คีลอยด์ (Keloid) คือ แผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าแผลที่เป็นต้นเหตุ โดยมีลักษณะเป็นเนื้อนูนแข็งสีชมพู สีแดง หรืออาจจะมีสีเนื้อเข้มกว่าผิวหนัง อันเกิดจากกระบวนการสมานแผลของผิวหนังที่ผิดปกติ โดยแผลที่ทำให้เกิดคีลอยด์มักจะเป็นแผลที่ลึกถึงชั้นหนังแท้
บริเวณที่พบคีลอยด์ได้บ่อยคือ หน้าอก หัวไหล่ ใบหน้า ติ่งหูที่ผ่านการเจาะหู หรือตามข้อศอกและหัวเข่า แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของผิวหนังบนร่างกายที่มีแผลลึกและใหญ่เช่นกัน
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีไหนที่สามารถรักษาคีลอยด์ให้หายถาวรได้ มีแต่วิธีที่ทำให้คีลอยด์มีขนาดเล็กลงและกลมกลืนกับผิวหนังให้มากที่สุด หลังจากรักษาแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นได้ใหม่อีกด้วย และในช่วงวัยรุ่นมีโอกาสเป็นคีลอยด์ได้มากกว่าวัยสูงอายุ
แผลเป็นคีลอยด์มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อบนชั้นผิวหนังที่ผลิตคอลลาเจนขึ้นมาสมานบาดแผลมากเกินไป ทำให้เกิดก้อนเนื้อนูน หากก้อนนูนมีขนาดเท่ากับรอยแผลจะเรียกว่า Hypertrophic Scar แต่ถ้าก้อนนูนขยายใหญ่กว่าบาดแผลจึงจะเรียกว่า Keloid
แผลคีลอยด์มักจะเกิดขึ้นจากบาดแผลที่ลึกและใหญ่ เช่น แผลผ่าตัด แผลที่เกิดจากของมีคมบาด แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลจากอุบัติเหตุ แผลจากการเป็นอีสุกอีใส แผลจากสิว แผลจากการรับวัคซีน รวมถึงแผลจากการเจาะหูและการสัก
ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดแผลคีลอยด์ได้เท่าๆ กัน แต่ผู้ที่มีผิวสีเข้มมีแนวโน้มที่จะเกิดคีลอยด์ได้มากกว่าผู้ที่มีผิวสว่าง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่สามารถเกิดแผลคีลอยด์ได้ง่ายขึ้นคือ คนเอเชีย คนละติน ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นแผลคีลอยด์
แผลคีลอยด์มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อแข็งนูน มีความเงา และไม่มีขน เกิดขึ้นหลังจากที่แผลหายแล้วประมาณ 3 เดือนขึ้นไป สีของคีลอยด์อาจจะมีสีเนื้อเข้ม สีแดง สีชมพู หรือสีเดียวกันกับผิวหนังก็ได้ และจะขยายใหญ่กว่าขนาดแผลเดิม
เมื่อเกิดคีลอยด์ส่วนใหญ่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการเจ็บ แสบร้อน หรือคันบริเวณแผลได้ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวโดยเฉพาะเมื่อเสื้อผ้าไปสัมผัสโดน รวมถึงส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ที่มีคีลอยด์ ในกรณีที่แผลเป็นมีขนาดใหญ่และอยู่นอกบริเวณร่มผ้า
การรักษารอยแผลคีลอยด์ในปัจจุบัน มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยลดขนาดแผลเป็นคีลอยด์ให้เล็กลงได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะใช้วิธีรักษาคีลอยด์อย่างน้อย 2 วิธีร่วมกัน อย่างไรก็ตามการรักษาขึ้นอยู่กับลักษณะแผลคีลอยด์ด้วย แพทย์จะพิจารณาวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามความเหมาะสม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นอกจากวิธีการรักษาตามข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่ช่วยเสริมให้คีลอยด์มีสภาพผิวและสีกลมกลืนกับผิวหนังมากขึ้น เช่น การเลเซอร์ การจี้เย็น รวมถึงการฉายรังสี
ยารักษาที่นิยมใช้กันทั่วไปส่วนใหญ่จะเป็นยาทาภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสรรพคุณช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้คีลอยด์อ่อนนุ่ม และช่วยลดความนูนของคีลอยด์ลง ยาทารักษาคีลอยด์มีรายละเอียดดังนี้
นอกจากการป้องกันไม่เกิดการบาดเจ็บของผิวหนัง ทั้งงดสัก งดทำศัลยกรรม งดบีบสิว งดแกะเกาผิวหนังแล้ว แต่หลายครั้งก็ไม่สามารถเลี่ยงได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการดูแลแผลเมื่อเกิดบาดแผล เป็นวิธีป้องกันการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ได้ดีที่สุด สามารถทำได้ดังนี้
รอยแผลจากสิวก็สามารถสร้างคีลอยด์ได้เช่นกัน โดยกระบวนการเกิดคีลอยด์จากสิวเหมือนกับแผลคีลอยด์ในจุดอื่นๆ ของร่างกาย โดยเมื่อแผลที่เกิดจากสิวเข้าสู่การฟื้นฟูตัวเอง จะมีการผลิตคอลลาเจนและการสร้างเนื้อเยื่อใหม่เพื่อสมานแผล แต่หากผิวบริเวณนั้นสร้างเนื้อเยื่อมากเกินไปก็จะทำให้เกิดเป็นคีลอยด์ได้ สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ซิลิโคน ใช้ยาทา การฉีดยาสเตียรอยด์ และวิธีอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
ถ้ารีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผิวหนังตั้งแต่เริ่มเกิดคีลอยด์ พร้อมกับการดูแลแผลคีลอยด์เป็นอย่างดีและสม่ำเสมอ มีโอกาสที่คีลอยด์จากการเจาะหูจะมีขนาดเล็กลงได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคีลอยด์เป็นลักษณะของแผลเป็นที่มีโอกาสเกิดซ้ำได้สูง
ไม่ได้ เนื่องจากการรักษาคีลอยด์ถือว่าเป็นการรักษาเพื่อความสวยงาม จึงไม่เข้าข่ายการใช้สิทธิประกันสังคมเพื่อการรักษาโรค
แผ่นแปะคีลอยด์ที่เป็นแผ่นซิลิโคน จะช่วยให้คีลอยด์อ่อนตัวลงและยุบตัวลงได้ แต่จะต้องใช้อย่างน้อย 2-3 เดือนขึ้นไป และแปะไว้อย่างน้อย 12 ชั่วโมงต่อวัน
การฉีดคีลอยด์ คือการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เข้าไปในผิวหนังแท้ตรงบริเวณที่เกิดคีลอยด์ จะต้องอาศัยการฉีดสารเข้าไปซ้ำๆ ทุก 4-6 เดือน ก็จะทำให้แผลคีลอยด์แบนราบลง จำนวนครั้งหรือระยะเวลาในการรักษาจะขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละคน
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. ชัญญา สื่อวีระชัย (ตจแพทย์)
โรงพยาบาลลาดพร้าว
ว.ว. สาขาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.บ. คณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาธิบดี
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
คีลอยด์คืออะไร?
สาเหตุของการเกิดคีลอยด์
ลักษณะของแผลคีลอยด์
การรักษารอยแผลคีลอยด์
ยารักษาคีลอยด์
ดูแลตนเองอย่างไรเมื่อมีรอยแผลคีลอยด์
วิธีป้องกันไม่ให้เกิดแผลคีลอยด์
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับแผลคีลอยด์
คีลอยด์ (Keloid) คือ แผลเป็นชนิดหนึ่งที่มีขนาดใหญ่กว่าแผลที่เป็นต้นเหตุ โดยมีลักษณะเป็นเนื้อนูนแข็งสีชมพู สีแดง หรืออาจจะมีสีเนื้อเข้มกว่าผิวหนัง อันเกิดจากกระบวนการสมานแผลของผิวหนังที่ผิดปกติ โดยแผลที่ทำให้เกิดคีลอยด์มักจะเป็นแผลที่ลึกถึงชั้นหนังแท้
บริเวณที่พบคีลอยด์ได้บ่อยคือ หน้าอก หัวไหล่ ใบหน้า ติ่งหูที่ผ่านการเจาะหู หรือตามข้อศอกและหัวเข่า แต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนของผิวหนังบนร่างกายที่มีแผลลึกและใหญ่เช่นกัน
ปัจจุบันยังไม่มีวิธีไหนที่สามารถรักษาคีลอยด์ให้หายถาวรได้ มีแต่วิธีที่ทำให้คีลอยด์มีขนาดเล็กลงและกลมกลืนกับผิวหนังให้มากที่สุด หลังจากรักษาแล้วก็มีโอกาสกลับมาเป็นได้ใหม่อีกด้วย และในช่วงวัยรุ่นมีโอกาสเป็นคีลอยด์ได้มากกว่าวัยสูงอายุ
แผลเป็นคีลอยด์มีสาเหตุมาจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อบนชั้นผิวหนังที่ผลิตคอลลาเจนขึ้นมาสมานบาดแผลมากเกินไป ทำให้เกิดก้อนเนื้อนูน หากก้อนนูนมีขนาดเท่ากับรอยแผลจะเรียกว่า Hypertrophic Scar แต่ถ้าก้อนนูนขยายใหญ่กว่าบาดแผลจึงจะเรียกว่า Keloid
แผลคีลอยด์มักจะเกิดขึ้นจากบาดแผลที่ลึกและใหญ่ เช่น แผลผ่าตัด แผลที่เกิดจากของมีคมบาด แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก แผลจากอุบัติเหตุ แผลจากการเป็นอีสุกอีใส แผลจากสิว แผลจากการรับวัคซีน รวมถึงแผลจากการเจาะหูและการสัก
ผู้หญิงและผู้ชายมีโอกาสเกิดแผลคีลอยด์ได้เท่าๆ กัน แต่ผู้ที่มีผิวสีเข้มมีแนวโน้มที่จะเกิดคีลอยด์ได้มากกว่าผู้ที่มีผิวสว่าง นอกจากนี้ยังมีกลุ่มคนที่สามารถเกิดแผลคีลอยด์ได้ง่ายขึ้นคือ คนเอเชีย คนละติน ผู้หญิงตั้งครรภ์ ผู้ที่มีอายุน้อยกว่า 30 ปี ผู้ที่มีคนในครอบครัวเป็นแผลคีลอยด์
แผลคีลอยด์มีลักษณะเป็นก้อนเนื้อแข็งนูน มีความเงา และไม่มีขน เกิดขึ้นหลังจากที่แผลหายแล้วประมาณ 3 เดือนขึ้นไป สีของคีลอยด์อาจจะมีสีเนื้อเข้ม สีแดง สีชมพู หรือสีเดียวกันกับผิวหนังก็ได้ และจะขยายใหญ่กว่าขนาดแผลเดิม
เมื่อเกิดคีลอยด์ส่วนใหญ่ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ แต่สำหรับบางคนอาจมีอาการเจ็บ แสบร้อน หรือคันบริเวณแผลได้ ซึ่งไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่จะทำให้รู้สึกไม่สบายตัวโดยเฉพาะเมื่อเสื้อผ้าไปสัมผัสโดน รวมถึงส่งผลต่อความมั่นใจของผู้ที่มีคีลอยด์ ในกรณีที่แผลเป็นมีขนาดใหญ่และอยู่นอกบริเวณร่มผ้า
การรักษารอยแผลคีลอยด์ในปัจจุบัน มีหลากหลายวิธีที่จะช่วยลดขนาดแผลเป็นคีลอยด์ให้เล็กลงได้ ส่วนใหญ่แพทย์จะใช้วิธีรักษาคีลอยด์อย่างน้อย 2 วิธีร่วมกัน อย่างไรก็ตามการรักษาขึ้นอยู่กับลักษณะแผลคีลอยด์ด้วย แพทย์จะพิจารณาวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามความเหมาะสม โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นอกจากวิธีการรักษาตามข้างต้นแล้ว ยังมีวิธีการรักษาอื่น ๆ ที่ช่วยเสริมให้คีลอยด์มีสภาพผิวและสีกลมกลืนกับผิวหนังมากขึ้น เช่น การเลเซอร์ การจี้เย็น รวมถึงการฉายรังสี
ยารักษาที่นิยมใช้กันทั่วไปส่วนใหญ่จะเป็นยาทาภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่จะมีสรรพคุณช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้คีลอยด์อ่อนนุ่ม และช่วยลดความนูนของคีลอยด์ลง ยาทารักษาคีลอยด์มีรายละเอียดดังนี้
นอกจากการป้องกันไม่เกิดการบาดเจ็บของผิวหนัง ทั้งงดสัก งดทำศัลยกรรม งดบีบสิว งดแกะเกาผิวหนังแล้ว แต่หลายครั้งก็ไม่สามารถเลี่ยงได้ ดังนั้นสิ่งสำคัญคือการดูแลแผลเมื่อเกิดบาดแผล เป็นวิธีป้องกันการเกิดแผลเป็นคีลอยด์ได้ดีที่สุด สามารถทำได้ดังนี้
รอยแผลจากสิวก็สามารถสร้างคีลอยด์ได้เช่นกัน โดยกระบวนการเกิดคีลอยด์จากสิวเหมือนกับแผลคีลอยด์ในจุดอื่นๆ ของร่างกาย โดยเมื่อแผลที่เกิดจากสิวเข้าสู่การฟื้นฟูตัวเอง จะมีการผลิตคอลลาเจนและการสร้างเนื้อเยื่อใหม่เพื่อสมานแผล แต่หากผิวบริเวณนั้นสร้างเนื้อเยื่อมากเกินไปก็จะทำให้เกิดเป็นคีลอยด์ได้ สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ซิลิโคน ใช้ยาทา การฉีดยาสเตียรอยด์ และวิธีอื่นๆ ตามดุลยพินิจของแพทย์
ถ้ารีบเข้ารับการรักษาจากแพทย์ผิวหนังตั้งแต่เริ่มเกิดคีลอยด์ พร้อมกับการดูแลแผลคีลอยด์เป็นอย่างดีและสม่ำเสมอ มีโอกาสที่คีลอยด์จากการเจาะหูจะมีขนาดเล็กลงได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นคีลอยด์เป็นลักษณะของแผลเป็นที่มีโอกาสเกิดซ้ำได้สูง
ไม่ได้ เนื่องจากการรักษาคีลอยด์ถือว่าเป็นการรักษาเพื่อความสวยงาม จึงไม่เข้าข่ายการใช้สิทธิประกันสังคมเพื่อการรักษาโรค
แผ่นแปะคีลอยด์ที่เป็นแผ่นซิลิโคน จะช่วยให้คีลอยด์อ่อนตัวลงและยุบตัวลงได้ แต่จะต้องใช้อย่างน้อย 2-3 เดือนขึ้นไป และแปะไว้อย่างน้อย 12 ชั่วโมงต่อวัน
การฉีดคีลอยด์ คือการฉีดคอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroid) เข้าไปในผิวหนังแท้ตรงบริเวณที่เกิดคีลอยด์ จะต้องอาศัยการฉีดสารเข้าไปซ้ำๆ ทุก 4-6 เดือน ก็จะทำให้แผลคีลอยด์แบนราบลง จำนวนครั้งหรือระยะเวลาในการรักษาจะขึ้นอยู่กับการตอบสนองของแต่ละคน
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. ชัญญา สื่อวีระชัย (ตจแพทย์)
โรงพยาบาลลาดพร้าว
ว.ว. สาขาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.บ. คณะแพทยศาสตร์ รพ. รามาธิบดี
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล