✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Content
โรคนอนไม่หลับคืออะไร?
ประเภทของการนอนไม่หลับ
สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับ
อาการของโรคนอนไม่หลับ
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคนอนไม่หลับ
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การวินิจฉัยและการรักษาโรคนอนไม่หลับ
ยารักษาโรคนอนไม่หลับ
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคนอนไม่หลับ
การป้องกันโรคนอนไม่หลับ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคนอนไม่หลับ
การนอนหลับพักผ่อนเปรียบเสมือนการชาร์จแบตเตอรี่ให้กับตัวเองในทุกๆ วัน แต่สำหรับคนที่มีอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือตื่นขึ้นมาตอนกลางดึกบ่อยครั้ง อาการเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการชาร์จพลังงานของร่างกาย เมื่อตื่นเช้ามาจึงรู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ อารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันถึงขั้นเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือได้เลยทีเดียว
โรคนอนไม่หลับ (ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Insomnia Disorder”) คือโรคความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนที่ทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับไม่สนิท โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้อ่อนเพลียมาก ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีสมาธิ ปวดศีรษะ ฯลฯ จนไม่สามารถเรียนหรือทำงาน หรือทำกิจวัตรอื่นๆ ตามปกติได้
การนอนไม่หลับมีทั้งประเภทที่เกิดขึ้นช่วงสั้นๆ (Acute) และแบบเรื้อรัง (Chronic) ซึ่งทั้ง 2 แบบสามารถหายแล้วกลับมาเป็นใหม่ได้ โดยสามารถแบ่งประเภทตามอาการได้ดังนี้
อาการนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ปัจจัยทางร่างกาย ปัจจัยทางจิตใจ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม และอุปนิสัยการนอน (Sleep Hygiene)
อาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะในคนกลุ่มต่อไปนี้ที่จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
อาการต่อไปนี้มักเป็นข้อบ่งชี้ว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
ลักษณะของอาการนอนไม่หลับสามารถแบ่งได้ 4 แบบ ดังนี้
การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง เพราะการนอนที่ไม่เพียงพอสามารถส่งผลต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยจะสังเกตได้เลยว่าคุณภาพการใช้ชีวิตลดลงกว่าปกติ เช่น
หากอาการนอนไม่กลับเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน รบกวนจิตใจ หรือมีผลกระทบต่ออารมณ์และประสิทธิภาพในการทำงาน คุณควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและรักษาอย่างถูกต้อง หากแพทย์พบว่าคุณนอนไม่หลับเนื่องจากโรคความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน (Sleep Disorder) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงตามมา แพทย์อาจจะแนะนำให้เข้ารับการทดสอบการนอน (Sleep Test)
แพทย์จะวินิจฉัยอาการนอนไม่หลับด้วยการสอบถามประวัติสุขภาพ ลักษณะและคุณภาพการนอน อุปนิสัยการนอน ปัญหาที่ทำให้เกิดความกังวลใจ ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ นอกจากนี้อาจมีการตรวจเพิ่มเติมอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น
การรักษาโรคนอนไม่หลับขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยแต่ละบุคคล หากเกิดจากอุปนิสัยการนอน แพทย์จะให้คำแนะนำในการปรับอุปนิสัยการนอนที่ถูกต้อง แต่หากอาการนอนไม่หลับส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลียหรือง่วงนอนระหว่างวัน และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็อาจต้องใช้ยานอนหลับ ซึ่งเป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง
ในกรณีที่อาการนอนไม่หลับเกิดจากโรคทางจิตใจหรือระบบประสาท เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ แพทย์จะให้การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุเหล่านี้ก่อน หากอาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้น ก็อาจต้องมีการบำบัดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความคิดที่ส่งผลต่อการนอน และใช้เทคนิคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกายที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และการจำกัดชั่วโมงการนอน
ยานอนหลับมักเป็นยาอันตรายที่ต้องสั่งโดยแพทย์ และหยุดยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ยาที่ใช้รักษาอาการนอนไม่หลับคือกลุ่มยาต่อไปนี้
ในการรักษาอาการนอนไม่หลับให้ได้ผล ผู้ป่วยควรจะมีอุปนิสัยการนอน (Sleep Hygiene) ที่ดีด้วยเช่นกัน แพทย์มักพิจารณาให้ใช้ยาช่วยให้หลับร่วมด้วยเฉพาะในรายที่จำเป็นเท่านั้น และมักให้เป็นช่วงสั้น ๆ เป็นครั้งคราว
การฝึกอุปนิสัยการนอนหลับที่ดีเป็นการบรรเทาและป้องกันอาการนอนไม่หลับที่ทำได้ด้วยตนเองในเบื้องต้น ปฏิบัติได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้
หากมีอาการนอนไม่หลับต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง หรือโทรปรึกษาที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเข้ารับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
ยานอนหลับเป็นยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์เท่านั้น ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอื่นๆ และได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ เพื่อประเมินอาการว่าจำเป็นต้องใช้ยานอนหลับหรือไม่
การนอนไม่หลับเพราะฮอร์โมนมักเกิดขึ้นในผู้หญิงวัยทอง ซึ่งจะอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปี – 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้เป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการนอนหลับ การรับประทานฮอร์โมนเพศหญิงจะสามารถช่วยลดอาการนอนไม่หลับได้ หากจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมน ผู้ป่วยควรอยู่ในการกำกับดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
การเปิดเพลงเบาๆ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย และการทำสมาธิ (Meditation) เป็นเวลา 15-20 นาทีก่อนนอนจะช่วยให้รู้สึกสบายและผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้ ควรจัดบรรยากาศการนอนให้สบายที่สุด เช่น อุณหภูมิเย็นพอเหมาะ ที่นอนสะอาด ไม่มีแสง สี เสียง รบกวนการนอน และในห้องนอนไม่ควรมีสิ่งเร้าอื่นๆ ที่กระตุ้นความสนใจ
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
• โรคกลัวความรัก (Philophobia)
• โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)
• โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder: GAD)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. บุฑบท พฤกษาพนาชาติ (จิตแพทย์)
โรงพยาบาลนครพิงค์
พบ. เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วว. จิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.รามาธิบดี
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Content
โรคนอนไม่หลับคืออะไร?
ประเภทของการนอนไม่หลับ
สาเหตุของโรคนอนไม่หลับ
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคนอนไม่หลับ
อาการของโรคนอนไม่หลับ
ภาวะแทรกซ้อนจากโรคนอนไม่หลับ
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การวินิจฉัยและการรักษาโรคนอนไม่หลับ
ยารักษาโรคนอนไม่หลับ
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคนอนไม่หลับ
การป้องกันโรคนอนไม่หลับ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคนอนไม่หลับ
การนอนหลับพักผ่อนเปรียบเสมือนการชาร์จแบตเตอรี่ให้กับตัวเองในทุกๆ วัน แต่สำหรับคนที่มีอาการนอนไม่หลับ หลับไม่สนิท หรือตื่นขึ้นมาตอนกลางดึกบ่อยครั้ง อาการเหล่านี้ย่อมส่งผลต่อการชาร์จพลังงานของร่างกาย เมื่อตื่นเช้ามาจึงรู้สึกไม่สดชื่น อ่อนเพลีย ไม่มีสมาธิ อารมณ์แปรปรวน ซึ่งอาการเหล่านี้สามารถกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันถึงขั้นเปลี่ยนจากหน้ามือเป็นหลังมือได้เลยทีเดียว
โรคนอนไม่หลับ (ภาษาอังกฤษเรียกว่า “Insomnia Disorder”) คือโรคความผิดปกติเกี่ยวกับการนอนที่ทำให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ หลับยาก หรือหลับไม่สนิท โดยอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นต่อเนื่องและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวัน เช่น ทำให้อ่อนเพลียมาก ไม่มีเรี่ยวแรง ไม่มีสมาธิ ปวดศีรษะ ฯลฯ จนไม่สามารถเรียนหรือทำงาน หรือทำกิจวัตรอื่นๆ ตามปกติได้
การนอนไม่หลับมีทั้งประเภทที่เกิดขึ้นช่วงสั้นๆ (Acute) และแบบเรื้อรัง (Chronic) ซึ่งทั้ง 2 แบบสามารถหายแล้วกลับมาเป็นใหม่ได้ โดยสามารถแบ่งประเภทตามอาการได้ดังนี้
อาการนอนไม่หลับเกิดได้จากหลายปัจจัย ตั้งแต่ปัจจัยทางร่างกาย ปัจจัยทางจิตใจ ปัจจัยสิ่งแวดล้อม และอุปนิสัยการนอน (Sleep Hygiene)
อาการนอนไม่หลับเกิดขึ้นได้กับคนทุกวัย โดยเฉพาะในคนกลุ่มต่อไปนี้ที่จะมีความเสี่ยงมากกว่าคนทั่วไป
อาการต่อไปนี้มักเป็นข้อบ่งชี้ว่าคุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ
ลักษณะของอาการนอนไม่หลับสามารถแบ่งได้ 4 แบบ ดังนี้
การนอนหลับที่มีคุณภาพเป็นเรื่องสำคัญที่ไม่ควรละเลยอย่างยิ่ง เพราะการนอนที่ไม่เพียงพอสามารถส่งผลต่อทั้งสุขภาพร่างกายและจิตใจ โดยจะสังเกตได้เลยว่าคุณภาพการใช้ชีวิตลดลงกว่าปกติ เช่น
หากอาการนอนไม่กลับเริ่มรบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน รบกวนจิตใจ หรือมีผลกระทบต่ออารมณ์และประสิทธิภาพในการทำงาน คุณควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยโรคและรักษาอย่างถูกต้อง หากแพทย์พบว่าคุณนอนไม่หลับเนื่องจากโรคความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน (Sleep Disorder) ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการที่รุนแรงตามมา แพทย์อาจจะแนะนำให้เข้ารับการทดสอบการนอน (Sleep Test)
แพทย์จะวินิจฉัยอาการนอนไม่หลับด้วยการสอบถามประวัติสุขภาพ ลักษณะและคุณภาพการนอน อุปนิสัยการนอน ปัญหาที่ทำให้เกิดความกังวลใจ ร่วมกับการตรวจร่างกายอย่างละเอียดเพื่อค้นหาสาเหตุของอาการนอนไม่หลับ นอกจากนี้อาจมีการตรวจเพิ่มเติมอย่างเฉพาะเจาะจง เช่น
การรักษาโรคนอนไม่หลับขึ้นอยู่กับสาเหตุของอาการนอนไม่หลับในผู้ป่วยแต่ละบุคคล หากเกิดจากอุปนิสัยการนอน แพทย์จะให้คำแนะนำในการปรับอุปนิสัยการนอนที่ถูกต้อง แต่หากอาการนอนไม่หลับส่งผลให้รู้สึกอ่อนเพลียหรือง่วงนอนระหว่างวัน และส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน ก็อาจต้องใช้ยานอนหลับ ซึ่งเป็นยาที่ต้องสั่งจ่ายโดยแพทย์เท่านั้น ไม่ควรซื้อยากินเอง เพราะอาจเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียง
ในกรณีที่อาการนอนไม่หลับเกิดจากโรคทางจิตใจหรือระบบประสาท เช่น โรคซึมเศร้า โรคไบโพลาร์ แพทย์จะให้การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุเหล่านี้ก่อน หากอาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้น ก็อาจต้องมีการบำบัดเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและความคิดที่ส่งผลต่อการนอน และใช้เทคนิคอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น การออกกำลังกายที่ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลาย และการจำกัดชั่วโมงการนอน
ยานอนหลับมักเป็นยาอันตรายที่ต้องสั่งโดยแพทย์ และหยุดยาภายใต้คำแนะนำของแพทย์เท่านั้น ยาที่ใช้รักษาอาการนอนไม่หลับคือกลุ่มยาต่อไปนี้
ในการรักษาอาการนอนไม่หลับให้ได้ผล ผู้ป่วยควรจะมีอุปนิสัยการนอน (Sleep Hygiene) ที่ดีด้วยเช่นกัน แพทย์มักพิจารณาให้ใช้ยาช่วยให้หลับร่วมด้วยเฉพาะในรายที่จำเป็นเท่านั้น และมักให้เป็นช่วงสั้น ๆ เป็นครั้งคราว
การฝึกอุปนิสัยการนอนหลับที่ดีเป็นการบรรเทาและป้องกันอาการนอนไม่หลับที่ทำได้ด้วยตนเองในเบื้องต้น ปฏิบัติได้ตามคำแนะนำต่อไปนี้
หากมีอาการนอนไม่หลับต่อเนื่องเกิน 2 สัปดาห์ ควรรีบปรึกษาเจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือพบแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้านทุกแห่ง หรือโทรปรึกษาที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 ฟรีตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อเข้ารับการดูแลรักษาที่ถูกต้อง
ยานอนหลับเป็นยาที่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์เท่านั้น ผู้ป่วยจะต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลหรือสถานพยาบาลอื่นๆ และได้รับการวินิจฉัยโดยแพทย์ เพื่อประเมินอาการว่าจำเป็นต้องใช้ยานอนหลับหรือไม่
การนอนไม่หลับเพราะฮอร์โมนมักเกิดขึ้นในผู้หญิงวัยทอง ซึ่งจะอยู่ในช่วงอายุตั้งแต่ 40 ปี – 60 ปีขึ้นไป เนื่องจากร่างกายผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจนและฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดลง ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้เป็นฮอร์โมนที่ช่วยกระตุ้นการนอนหลับ การรับประทานฮอร์โมนเพศหญิงจะสามารถช่วยลดอาการนอนไม่หลับได้ หากจำเป็นต้องใช้ฮอร์โมน ผู้ป่วยควรอยู่ในการกำกับดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด
การเปิดเพลงเบาๆ เพื่อสร้างบรรยากาศผ่อนคลาย และการทำสมาธิ (Meditation) เป็นเวลา 15-20 นาทีก่อนนอนจะช่วยให้รู้สึกสบายและผ่อนคลายมากขึ้น นอกจากนี้ ควรจัดบรรยากาศการนอนให้สบายที่สุด เช่น อุณหภูมิเย็นพอเหมาะ ที่นอนสะอาด ไม่มีแสง สี เสียง รบกวนการนอน และในห้องนอนไม่ควรมีสิ่งเร้าอื่นๆ ที่กระตุ้นความสนใจ
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
• โรคกลัวความรัก (Philophobia)
• โรคไบโพลาร์ (Bipolar Disorder)
• โรควิตกกังวลทั่วไป (Generalized Anxiety Disorder: GAD)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. บุฑบท พฤกษาพนาชาติ (จิตแพทย์)
โรงพยาบาลนครพิงค์
พบ. เกียรตินิยม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
วว. จิตเวชเด็กและวัยรุ่น รพ.รามาธิบดี
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล