✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
อาหารเป็นพิษคืออะไร?
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ
อาการอาหารเป็นพิษ
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาอาหารเป็นพิษ
ยารักษาอาการอาหารเป็นพิษ
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการอาหารเป็นพิษ
อาหารสำหรับคนท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ
การป้องกันอาหารเป็นพิษ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาหารเป็นพิษ
อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) หรือ ลำไส้อักเสบติดเชื้อ (Acute Infectious Diarrhea) เป็นภาวะที่เกิดจากการรับประทานอาหาร ขนม หรือน้ำที่มีเชื้อโรคอยู่เข้าไป ร่างกายจึงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียตอบสนองออกมา ซึ่งจะเกิดอาการเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน และส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีอาการไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง
อาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป ซึ่งเชื้อโรคและอาหารที่มักจะพบเชื้อได้มีดังนี้
เชื้อโรคเหล่านี้จะมีการผลิตสารพิษบางอย่างขึ้นมา แม้อาหารนั้นๆ จะมีการปรุงสุกเรียบร้อยแล้ว แต่สารพิษเหล่านี้มีความสามารถทนทานต่อความร้อนได้ ทำให้ผู้ป่วยที่ทานอาหารจานนั้นเข้าไปเกิดอาการอาหารเป็นพิษในที่สุด
ผู้ที่ป่วยด้วยอาหารเป็นพิษ ส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และบางรายอาจมีอาการไข้ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ร่างกายได้รับเข้าไป ซึ่งอาการจะแสดงหลังจากรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไปแล้วประมาณ 2 – 16 ชั่วโมง
หากมีการติดเชื้อรุนแรง ผู้ที่ป่วยด้วยอาหารเป็นพิษอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง หรือการทำงานของอวัยวะล้มเหลวเฉียบพลัน จนทำให้ร่างกายเกิดการช็อก และร้ายแรงที่สุดก็คืออาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นควรสังเกตอาการของตนเองอยู่ตลอด ถ้ามีอะไรผิดปกติหรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป
เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นอาหารเป็นพิษส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง และไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อ จึงเป็นการรักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งมีแนวทางดังนี้
ในกรณีที่ต้องรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ในร่างกาย
วิธีการรักษาอาหารเป็นพิษ จะอาศัยการรับประทานยาตามอาการควบคู่ไปกับการจิบน้ำเกลือแร่เป็นหลัก ซึ่งในท้องตลาดก็มีตัวยาแก้อาหารเป็นพิษอยู่หลายชนิดด้วยกัน เพราะฉะนั้นก่อนจะตัดสินใจใช้ยาชนิดใด ผู้ป่วยควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรที่ร้านขายยาก่อนทุกครั้ง
สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยอาหารเป็นพิษ และมีอาการท้องเสียรุนแรง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือน้ำซาวข้าว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หน้ามืด ปากแห้ง จะได้รับการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งตัวยาฆ่าเชื้อที่แพทย์หรือเภสัชกรมักจะให้กลับมารับประทานมีดังนี้
ยาฆ่าเชื้อสำหรับคนทั่วไป
ยาฆ่าเชื้อสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะเหล่านี้ ต้องรับประทานยาแก้อาหารเป็นพิษตามที่แพทย์หรือเภสัชกรสั่งอย่างเคร่งครัด แม้ว่าอาการจะดีขึ้นมากแล้ว แต่ก็ยังต้องรับประทานยาให้ครบ ไม่อย่างนั้นอาจทำให้การรักษาในครั้งนั้นๆ ไม่ได้ผลและเชื้อเกิดการดื้อยา ส่งผลให้การรักษาในครั้งต่อไปจำเป็นต้องใช้ตัวยาอื่นที่มีราคาแพงกว่าแทน
อาการปวดท้องมักจะพบร่วมกับอาการท้องเสีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ป่วยอาหารเป็นพิษมักจะรู้สึกปวดท้องแบบบิดเป็นพักๆ เนื่องจากลำไส้เกิดการบีบตัว แพทย์หรือเภสัชกรจึงมักจะให้ยาคลายการบีบตัวของลำไส้หรือยาแก้ปวดท้องอย่าง Hyoscine (Buscopan) กลับมารับประทาน
การฉีดยาให้กับผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษา เรียกได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการคลื่นไส้อาเจียนและอาการปวดท้องได้ไวขึ้น ซึ่งหลังจากที่ฉีดยาแล้ว ผู้ป่วยยังคงต้องรับประทานยาต่างๆ ตามอาการ และในกรณีได้รับยาปฏิชีวนะให้รับประทานตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเช่นกัน
ผู้ที่ป่วยด้วยอาหารเป็นพิษอาจจะเคยได้ยินเรื่องการรับประทานคาร์บอนเพื่อรักษาอาการท้องเสียมาบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วยังไม่มีการยืนยันทางการแพทย์ว่า คาร์บอนสามารถดูดซับสารพิษได้จริง แต่ถ้าผู้ป่วยต้องการรับประทาน ควรเว้นระยะห่างจากการทานยาชนิดอื่นๆ ประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้คาร์บอนไปดูดซับตัวยาที่รับประทานไปก่อนหน้านี้ จนทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง
อาหารสำหรับผู้ป่วยอาหารเป็นพิษควรจะเป็นอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก และควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและย่อยยาก เพราะอาจทำให้ลำไส้ทำงานหนักขึ้น อาการที่เป็นอยู่อาจแย่ลงกว่าเดิมได้
ผู้ที่ป่วยเป็นอาหารเป็นพิษ หากอาการไม่รุนแรงมาก มีเพียงคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย สามารถหายเองได้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง
ยาแก้อาหารเป็นพิษที่มีขายอยู่ในเซเว่น จะมีเพียงยาผงถ่านคาร์บอนที่แก้อาการท้องเสีย และผงเกลือแร่สำหรับผู้ที่สูญเสียน้ำจากการท้องเสีย หากเป็นยาชนิดอื่นๆ ผู้ป่วยจำเป็นต้องไปหาซื้อที่ร้านขายยาและเภสัชกรเป็นผู้แนะนำ
ผู้ที่ป่วยเป็นอาหารเป็นพิษสามารถทานยาธาตุน้ำขาวได้ เพราะจะช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย
ไม่ได้ เพราะนมเป็นอาหารที่ย่อยยากต้องใช้น้ำย่อยที่จำเพาะซึ่งสร้างบริเวณผิวของลำไส้เล็ก เมื่อมีอาการของโรคทำให้ลำไส้ถูกทำลาย ส่งผลขาดเอนไซม์ในการช่วยย่อยได้ เกิดกระบวนการหมักภายในลำไส้ รวมไปถึงร่างกายของผู้ป่วยบางคนไม่มีเอนไซม์ที่สามารถย่อยโปรตีนในนมวัวได้ การกินนมจึงอาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดอาการท้องเสียมากขึ้นกว่าเดิม
ผู้ที่ป่วยด้วยอาหารเป็นพิษสามารถทานได้ เพราะกล้วยมีโพแทสเซียม ทดแทนเกลือแร่ที่เสียไป และพบว่าในกล้วยน้ำว้าดิบมีสารที่เรียกว่า แทนนิน ในตำรับแพทย์แผนไทยสารตัวนี้สามารถช่วยยับยั้งแบคทีเรียได้
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
• แพ้อาหารทะเล (Seafood Allergy)
• โรคภูมิแพ้ (Allergy)
• ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)
• ตาบอดสี (Color Blindness)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. บดินทร์ อนันตระวนิชย์ (GP)
คลินิกส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
อาหารเป็นพิษคืออะไร?
สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอาหารเป็นพิษ
อาการอาหารเป็นพิษ
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาอาหารเป็นพิษ
ยารักษาอาการอาหารเป็นพิษ
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อมีอาการอาหารเป็นพิษ
อาหารสำหรับคนท้องเสียจากอาหารเป็นพิษ
การป้องกันอาหารเป็นพิษ
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาหารเป็นพิษ
อาหารเป็นพิษ (Food Poisoning) หรือ ลำไส้อักเสบติดเชื้อ (Acute Infectious Diarrhea) เป็นภาวะที่เกิดจากการรับประทานอาหาร ขนม หรือน้ำที่มีเชื้อโรคอยู่เข้าไป ร่างกายจึงมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสียตอบสนองออกมา ซึ่งจะเกิดอาการเร็วหรือช้านั้นขึ้นอยู่กับร่างกายของแต่ละคน และส่วนใหญ่ผู้ป่วยมักจะมีอาการไม่รุนแรง สามารถหายเองได้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง
อาหารเป็นพิษ เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าไป ซึ่งเชื้อโรคและอาหารที่มักจะพบเชื้อได้มีดังนี้
เชื้อโรคเหล่านี้จะมีการผลิตสารพิษบางอย่างขึ้นมา แม้อาหารนั้นๆ จะมีการปรุงสุกเรียบร้อยแล้ว แต่สารพิษเหล่านี้มีความสามารถทนทานต่อความร้อนได้ ทำให้ผู้ป่วยที่ทานอาหารจานนั้นเข้าไปเกิดอาการอาหารเป็นพิษในที่สุด
ผู้ที่ป่วยด้วยอาหารเป็นพิษ ส่วนใหญ่จะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง ท้องเสีย และบางรายอาจมีอาการไข้ร่วมด้วย ขึ้นอยู่กับชนิดของเชื้อโรคที่ร่างกายได้รับเข้าไป ซึ่งอาการจะแสดงหลังจากรับประทานอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไปแล้วประมาณ 2 – 16 ชั่วโมง
หากมีการติดเชื้อรุนแรง ผู้ที่ป่วยด้วยอาหารเป็นพิษอาจมีภาวะแทรกซ้อนได้ เช่น ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่อย่างรุนแรง หรือการทำงานของอวัยวะล้มเหลวเฉียบพลัน จนทำให้ร่างกายเกิดการช็อก และร้ายแรงที่สุดก็คืออาจทำให้เสียชีวิตได้ ดังนั้นควรสังเกตอาการของตนเองอยู่ตลอด ถ้ามีอะไรผิดปกติหรืออาการไม่ดีขึ้นภายใน 48 ชั่วโมง ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาต่อไป
เนื่องจากผู้ที่ป่วยเป็นอาหารเป็นพิษส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง และไม่จำเป็นต้องใช้ยาปฏิชีวนะในการฆ่าเชื้อ จึงเป็นการรักษาตามอาการของผู้ป่วยแต่ละคน ซึ่งมีแนวทางดังนี้
ในกรณีที่ต้องรักษาด้วยการให้ยาปฏิชีวนะ แพทย์จะพิจารณาให้ยาปฏิชีวนะกับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงหรือภูมิคุ้มกันต้านทานโรคต่ำ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่มีอยู่ในร่างกาย
วิธีการรักษาอาหารเป็นพิษ จะอาศัยการรับประทานยาตามอาการควบคู่ไปกับการจิบน้ำเกลือแร่เป็นหลัก ซึ่งในท้องตลาดก็มีตัวยาแก้อาหารเป็นพิษอยู่หลายชนิดด้วยกัน เพราะฉะนั้นก่อนจะตัดสินใจใช้ยาชนิดใด ผู้ป่วยควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรที่ร้านขายยาก่อนทุกครั้ง
สำหรับผู้ที่ป่วยด้วยอาหารเป็นพิษ และมีอาการท้องเสียรุนแรง ถ่ายเป็นมูกเลือด ถ่ายเหลวเป็นน้ำหรือน้ำซาวข้าว อ่อนเพลีย ไม่มีแรง หน้ามืด ปากแห้ง จะได้รับการให้ยาปฏิชีวนะเพื่อฆ่าเชื้อ ซึ่งตัวยาฆ่าเชื้อที่แพทย์หรือเภสัชกรมักจะให้กลับมารับประทานมีดังนี้
ยาฆ่าเชื้อสำหรับคนทั่วไป
ยาฆ่าเชื้อสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์และเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
ผู้ป่วยที่ได้รับยาปฏิชีวนะเหล่านี้ ต้องรับประทานยาแก้อาหารเป็นพิษตามที่แพทย์หรือเภสัชกรสั่งอย่างเคร่งครัด แม้ว่าอาการจะดีขึ้นมากแล้ว แต่ก็ยังต้องรับประทานยาให้ครบ ไม่อย่างนั้นอาจทำให้การรักษาในครั้งนั้นๆ ไม่ได้ผลและเชื้อเกิดการดื้อยา ส่งผลให้การรักษาในครั้งต่อไปจำเป็นต้องใช้ตัวยาอื่นที่มีราคาแพงกว่าแทน
อาการปวดท้องมักจะพบร่วมกับอาการท้องเสีย ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ที่ป่วยอาหารเป็นพิษมักจะรู้สึกปวดท้องแบบบิดเป็นพักๆ เนื่องจากลำไส้เกิดการบีบตัว แพทย์หรือเภสัชกรจึงมักจะให้ยาคลายการบีบตัวของลำไส้หรือยาแก้ปวดท้องอย่าง Hyoscine (Buscopan) กลับมารับประทาน
การฉีดยาให้กับผู้ป่วยอาหารเป็นพิษจะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ที่ทำการรักษา เรียกได้ว่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะทำให้ผู้ป่วยหายจากอาการคลื่นไส้อาเจียนและอาการปวดท้องได้ไวขึ้น ซึ่งหลังจากที่ฉีดยาแล้ว ผู้ป่วยยังคงต้องรับประทานยาต่างๆ ตามอาการ และในกรณีได้รับยาปฏิชีวนะให้รับประทานตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดเช่นกัน
ผู้ที่ป่วยด้วยอาหารเป็นพิษอาจจะเคยได้ยินเรื่องการรับประทานคาร์บอนเพื่อรักษาอาการท้องเสียมาบ้าง ซึ่งจริงๆ แล้วยังไม่มีการยืนยันทางการแพทย์ว่า คาร์บอนสามารถดูดซับสารพิษได้จริง แต่ถ้าผู้ป่วยต้องการรับประทาน ควรเว้นระยะห่างจากการทานยาชนิดอื่นๆ ประมาณ 2 ชั่วโมง เพื่อป้องกันไม่ให้คาร์บอนไปดูดซับตัวยาที่รับประทานไปก่อนหน้านี้ จนทำให้ประสิทธิภาพในการรักษาลดลง
อาหารสำหรับผู้ป่วยอาหารเป็นพิษควรจะเป็นอาหารอ่อนๆ เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก และควรหลีกเลี่ยงอาหารรสจัดและย่อยยาก เพราะอาจทำให้ลำไส้ทำงานหนักขึ้น อาการที่เป็นอยู่อาจแย่ลงกว่าเดิมได้
ผู้ที่ป่วยเป็นอาหารเป็นพิษ หากอาการไม่รุนแรงมาก มีเพียงคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และท้องเสีย สามารถหายเองได้ภายใน 24 – 48 ชั่วโมง
ยาแก้อาหารเป็นพิษที่มีขายอยู่ในเซเว่น จะมีเพียงยาผงถ่านคาร์บอนที่แก้อาการท้องเสีย และผงเกลือแร่สำหรับผู้ที่สูญเสียน้ำจากการท้องเสีย หากเป็นยาชนิดอื่นๆ ผู้ป่วยจำเป็นต้องไปหาซื้อที่ร้านขายยาและเภสัชกรเป็นผู้แนะนำ
ผู้ที่ป่วยเป็นอาหารเป็นพิษสามารถทานยาธาตุน้ำขาวได้ เพราะจะช่วยบรรเทาอาการท้องเสีย
ไม่ได้ เพราะนมเป็นอาหารที่ย่อยยากต้องใช้น้ำย่อยที่จำเพาะซึ่งสร้างบริเวณผิวของลำไส้เล็ก เมื่อมีอาการของโรคทำให้ลำไส้ถูกทำลาย ส่งผลขาดเอนไซม์ในการช่วยย่อยได้ เกิดกระบวนการหมักภายในลำไส้ รวมไปถึงร่างกายของผู้ป่วยบางคนไม่มีเอนไซม์ที่สามารถย่อยโปรตีนในนมวัวได้ การกินนมจึงอาจเป็นการกระตุ้นให้เกิดอาการท้องเสียมากขึ้นกว่าเดิม
ผู้ที่ป่วยด้วยอาหารเป็นพิษสามารถทานได้ เพราะกล้วยมีโพแทสเซียม ทดแทนเกลือแร่ที่เสียไป และพบว่าในกล้วยน้ำว้าดิบมีสารที่เรียกว่า แทนนิน ในตำรับแพทย์แผนไทยสารตัวนี้สามารถช่วยยับยั้งแบคทีเรียได้
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
• แพ้อาหารทะเล (Seafood Allergy)
• โรคภูมิแพ้ (Allergy)
• ไส้ติ่งอักเสบ (Appendicitis)
• ตาบอดสี (Color Blindness)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. บดินทร์ อนันตระวนิชย์ (GP)
คลินิกส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล