✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคไขมันในเลือดสูงคืออะไร?
สาเหตุของโรคไขมันในเลือดสูง
อาการของโรคไขมันในเลือดสูง
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคไขมันในเลือดสูง
ยารักษาโรคไขมันในเลือดสูง
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคไขมันในเลือดสูง
การป้องกันโรคไขมันในเลือดสูง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคไขมันในเลือดสูง
โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งทั่วไปแล้วไขมันในร่างกายของคนเราจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกายมีการสะสมไขมันเหล่านี้เป็นปริมาณมาก ไขมันจะไปเกาะตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สาเหตุของโรคไขมันในเลือดสูงหรือคอเลสเตอรอลสูงเกิดจากหลายปัจจัย เช่น
โดยปกติแล้วโรคไขมันในเลือดสูงจะไม่แสดงอาการอะไร จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเจาะเลือดไปตรวจหาระดับไขมันแต่ละชนิด แต่การที่มีระดับไขมันในเลือดสูงโดยไม่รักษา อาจทำให้ตับอ่อนอักเสบส่งผลให้ปวดท้อง เมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากอาจทำให้เกิดปื้นหนาสีเหลืองบริเวณหนังตา ฝ่ามือ ข้อศอกได้ รวมถึงอาจมีอาการปวดตามเนื้อตัวและข้อ
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยแพทย์จะสามารถระบุว่าเป็นโรคไขมันในเลือดสูงได้จากการเจาะเลือดไปตรวจหากระดับของไขมันแต่ละชนิด เนื่องจากมีการตรวจไขมันไตรกลีเซอไรด์ด้วย จึงต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือด 12 ชั่วโมง ดื่มได้แค่น้ำเปล่าเท่านั้น
การรักษาโรคไขมันในเลือดสูงจะใช้วิธีทานยาเพื่อลดระดับไขมันในเลือด รวมถึงผู้ป่วยจำเป็นจะต้องควบคุมอาหารที่ทาน วิธีการปรุงอาหาร และปริมาณอาหารที่เหมาะสม งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และการออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายดึงไขมันไปใช้ได้
ยาที่ใช้รักษาภาวะไขมันในเลือดสูงมีอยู่หลายกลุ่ม ได้แก่
การใช้ยาลดไขมันในเลือดจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งต้องมีการพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามความเสี่ยง ชนิดของไขมัน และความรุนแรงของโรค
ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดไขมันในเลือดบางรายอาจพบผลข้างเคียง คือ อาการวิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง ปวดกล้ามเนื้อและข้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตับอักเสบ ไปจนถึงส่งผลให้ค่าน้ำตาลสูงขึ้น (ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2)
สำหรับยาลดไขมันในเลือดมีข้อห้ามในยาที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ได้แก่
แพทย์จะมีการตรวจวัดค่าไขมันในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงที่ต้องรับประทานยาลดไขมัน เพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยมีระดับไขมันที่เหมาะสมแล้วหรือไม่ เมื่อค่าไขมันลดลงจนถึงระดับที่เหมาะสมแพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง จึงจะสามารถหยุดยาได้ ดังนั้นยาลดไขมันไม่จำเป็นต้องใช้ไปตลอดชีวิตเสมอไป
ยาลดไขมันแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป ก่อนการใช้ยาลดไขมันจึงต้องมีการตรวจประเมินสุขภาพและระดับไขมันโดยแพทย์เสียก่อน อีกทั้งในระหว่างการใช้ยาก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ดังนั้นผู้ป่วยแต่ละรายจึงเหมาะกับยาลดไขมันแตกต่างกันไปและไม่ควรซื้อรับประทานเอง
การป้องกันโรคไขมันในเลือดสูงสามารถทำได้หลายวิธี เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคอาหาร โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลาย จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงหรือคอเลสเตอรอลสูง ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และพยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน งดกการสูบบุหรี่และงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมไปถึงเข้ารับการตรวจเช็คระดับไขมันในเลือดสูงเป็นระยะเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตนเอง ซึ่งหากสามารถปฏิบัติตามนี้ได้อย่างครบถ้วนจะช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคไขมันในเลือดสูงได้อย่างมาก
ค่าปกติของคลอเลสเตอรอลรวมไม่ควรเกิน 200 มก./ดล. โดยมีค่าคลอเลสเตอรอลประเภท LDL ต่ำกว่า 120 มก./ดล. ส่วนคลอเลสเตอรอลประเภท HDL ควรสูงกว่า 35 มก./ดล.
คอเลสเตอรอลรวม
คอเลสเตอรอลประเภท LDL
การมีไขมันในเลือดสูงไม่ได้เป็นข้อห้ามในการบริจาคเลือด แต่พบว่าในโลหิตของผู้บริจาคที่มีไขมันสูงมักมีลักษณะขุ่นขาวมากกว่าปกติจนไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงหรือคอเลสเตอรอลสูงควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งและทำการควบคุมอาหารจนระดับไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงจะสามารถบริจาคเลือดได้ และควรงดรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการบริจาคเลือด
เกณฑ์ในการพิจารณาการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงหรือคอเลสเตอรอลสูงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีหลักเกณฑ์คร่าวๆ ดังนี้
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคไขมันในเลือดสูงคืออะไร?
สาเหตุของโรคไขมันในเลือดสูง
อาการของโรคไขมันในเลือดสูง
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคไขมันในเลือดสูง
ยารักษาโรคไขมันในเลือดสูง
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคไขมันในเลือดสูง
การป้องกันโรคไขมันในเลือดสูง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคไขมันในเลือดสูง
โรคไขมันในเลือดสูง (Dyslipidemia) เป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดมากกว่าปกติ ซึ่งทั่วไปแล้วไขมันในร่างกายของคนเราจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ชนิด คือ
อย่างไรก็ตาม เมื่อร่างกายมีการสะสมไขมันเหล่านี้เป็นปริมาณมาก ไขมันจะไปเกาะตามผนังหลอดเลือดทำให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตัน เลือดไหลเวียนได้ไม่สะดวก ซึ่งนำไปสู่ความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ มากมาย โดยเฉพาะโรคหัวใจและหลอดเลือด อัมพฤกษ์ อัมพาต และเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
สาเหตุของโรคไขมันในเลือดสูงหรือคอเลสเตอรอลสูงเกิดจากหลายปัจจัย เช่น
โดยปกติแล้วโรคไขมันในเลือดสูงจะไม่แสดงอาการอะไร จะรู้ได้ก็ต่อเมื่อเจาะเลือดไปตรวจหาระดับไขมันแต่ละชนิด แต่การที่มีระดับไขมันในเลือดสูงโดยไม่รักษา อาจทำให้ตับอ่อนอักเสบส่งผลให้ปวดท้อง เมื่อระดับไตรกลีเซอไรด์สูงมากอาจทำให้เกิดปื้นหนาสีเหลืองบริเวณหนังตา ฝ่ามือ ข้อศอกได้ รวมถึงอาจมีอาการปวดตามเนื้อตัวและข้อ
ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงหรือมีพฤติกรรมเสี่ยง ควรเข้ารับการตรวจสุขภาพประจำปี โดยแพทย์จะสามารถระบุว่าเป็นโรคไขมันในเลือดสูงได้จากการเจาะเลือดไปตรวจหากระดับของไขมันแต่ละชนิด เนื่องจากมีการตรวจไขมันไตรกลีเซอไรด์ด้วย จึงต้องงดอาหารก่อนเจาะเลือด 12 ชั่วโมง ดื่มได้แค่น้ำเปล่าเท่านั้น
การรักษาโรคไขมันในเลือดสูงจะใช้วิธีทานยาเพื่อลดระดับไขมันในเลือด รวมถึงผู้ป่วยจำเป็นจะต้องควบคุมอาหารที่ทาน วิธีการปรุงอาหาร และปริมาณอาหารที่เหมาะสม งดเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ และการออกกำลังกายสม่ำเสมอเพื่อให้ร่างกายดึงไขมันไปใช้ได้
ยาที่ใช้รักษาภาวะไขมันในเลือดสูงมีอยู่หลายกลุ่ม ได้แก่
การใช้ยาลดไขมันในเลือดจะขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ซึ่งต้องมีการพิจารณาให้เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละรายตามความเสี่ยง ชนิดของไขมัน และความรุนแรงของโรค
ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดไขมันในเลือดบางรายอาจพบผลข้างเคียง คือ อาการวิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน มวนท้อง ปวดกล้ามเนื้อและข้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ตับอักเสบ ไปจนถึงส่งผลให้ค่าน้ำตาลสูงขึ้น (ในผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2)
สำหรับยาลดไขมันในเลือดมีข้อห้ามในยาที่มีคุณสมบัติในการยับยั้งการทำงานของเอนไซม์ ได้แก่
แพทย์จะมีการตรวจวัดค่าไขมันในผู้ป่วยไขมันในเลือดสูงที่ต้องรับประทานยาลดไขมัน เพื่อตรวจดูว่าผู้ป่วยมีระดับไขมันที่เหมาะสมแล้วหรือไม่ เมื่อค่าไขมันลดลงจนถึงระดับที่เหมาะสมแพทย์อาจให้ผู้ป่วยรับประทานยาต่อเนื่องไปอีกระยะหนึ่ง จึงจะสามารถหยุดยาได้ ดังนั้นยาลดไขมันไม่จำเป็นต้องใช้ไปตลอดชีวิตเสมอไป
ยาลดไขมันแต่ละชนิดมีคุณสมบัติและผลข้างเคียงที่แตกต่างกันออกไป ก่อนการใช้ยาลดไขมันจึงต้องมีการตรวจประเมินสุขภาพและระดับไขมันโดยแพทย์เสียก่อน อีกทั้งในระหว่างการใช้ยาก็อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นได้ ดังนั้นผู้ป่วยแต่ละรายจึงเหมาะกับยาลดไขมันแตกต่างกันไปและไม่ควรซื้อรับประทานเอง
การป้องกันโรคไขมันในเลือดสูงสามารถทำได้หลายวิธี เริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและการบริโภคอาหาร โดยเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์อย่างหลากหลาย จำกัดการบริโภคอาหารที่มีไขมันสูงหรือคอเลสเตอรอลสูง ควบคู่กับการออกกำลังกายเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ และพยายามควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน งดกการสูบบุหรี่และงดการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมไปถึงเข้ารับการตรวจเช็คระดับไขมันในเลือดสูงเป็นระยะเพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตนเอง ซึ่งหากสามารถปฏิบัติตามนี้ได้อย่างครบถ้วนจะช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคไขมันในเลือดสูงได้อย่างมาก
ค่าปกติของคลอเลสเตอรอลรวมไม่ควรเกิน 200 มก./ดล. โดยมีค่าคลอเลสเตอรอลประเภท LDL ต่ำกว่า 120 มก./ดล. ส่วนคลอเลสเตอรอลประเภท HDL ควรสูงกว่า 35 มก./ดล.
คอเลสเตอรอลรวม
คอเลสเตอรอลประเภท LDL
การมีไขมันในเลือดสูงไม่ได้เป็นข้อห้ามในการบริจาคเลือด แต่พบว่าในโลหิตของผู้บริจาคที่มีไขมันสูงมักมีลักษณะขุ่นขาวมากกว่าปกติจนไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงหรือคอเลสเตอรอลสูงควรรับประทานยาตามแพทย์สั่งและทำการควบคุมอาหารจนระดับไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ปกติจึงจะสามารถบริจาคเลือดได้ และควรงดรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงอย่างน้อย 6 ชั่วโมงก่อนการบริจาคเลือด
เกณฑ์ในการพิจารณาการใช้ยาในผู้ป่วยที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงหรือคอเลสเตอรอลสูงขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์และความเสี่ยงของผู้ป่วยแต่ละราย โดยมีหลักเกณฑ์คร่าวๆ ดังนี้
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล