✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคโควิด-19 คืออะไร?
รู้จักกับไวรัสโคโรนา
ทำไมเชื้อ COVID-19 จึงมีหลายสายพันธุ์?
สาเหตุของโรคโควิด-19
การตรวจหาเชื้อ COVID-19
อาการของโรคโควิด 19
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคโควิด-19
ยารักษาโรคโควิด-19
การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคโควิด 19
การป้องกันโรคโควิด-19
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคโควิด 19
โรคโควิด-19 (COVID-19) หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นโรคที่เริ่มระบาดในช่วงเดือนธันวาคมปี 2019 โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า SARS-CoV-2 ซึ่งมีต้นตอการพบเชื้อครั้งแรกที่ตลาดอาหารทะเลในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และแพร่ระบาดสู่ประเทศอื่นๆ อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งมีการพบผู้ติดเชื้อในเกือบทุกประเทศทั่วโลก
ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนามากกว่า 199 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 4 ล้านคน จาก 220 ประเทศ นับเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก
ไวรัสโคโรนา (Coronaviruses หรือ CoVs) คือตระกูลหนึ่งของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ลักษณะเด่นของไวรัสตระกูลนี้คือ เป็นไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิด RNA มีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีน และล้อมรอบด้วยปุ่มหนามที่เกิดจากกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ดูคล้าย ‘มงกุฎ’ จึงถูกตั้งชื่อว่า Coronavirus
โดยมากแล้วมักพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสัตว์ แต่ก็มีไวรัสโคโรนาที่พบการติดเชื้อและก่อโรคในมนุษย์ (Human coronaviruses) อยู่มากกว่า 30 สายพันธุ์ด้วยกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกคร่าวๆ ได้ 2 กลุ่ม ดังนี้
เช่น HCoV-229E, HCoV-OC43, HCoV-NL63, และ HCoV-HKU1
เป็น 4 สายพันธุ์หลักที่มักก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง มักเป็นเพียงไข้หวัดทั่วไป (Common Cold) โดยมีการพบว่าไวรัส 4 สายพันธุ์นี้เป็นสาเหตุให้เกิดไข้หวัดราว 30% ของผู้ป่วยทั้งหมด
และถึงแม้จะพบได้น้อย แต่ไวรัส 4 สายพันธุ์ดังกล่าวอาจก่อโรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่มีอาการรุนแรงได้เช่นกัน เช่น ปอดอักเสบ (Pneumonia) และโรคหลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) โดยมักพบการติดเชื้ออื่นๆ ในระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย รวมถึงอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง นอกจากนี้ ไวรัส HCoV-OC43 ยังอาจกลายพันธุ์จนทำให้เกิดการติดเชื้อในสมองได้อีกด้วย
ตัวอย่างเชื้อไวรัส เช่น
เช่นเดียวไวรัสชนิดอื่นๆ ไวรัส SARS-CoV-2 นั้นสามารถแพร่พันธุ์ได้ด้วยการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตัวเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง โดยขั้นตอนการถ่ายทอดพันธุกรรมนี้ อาจเกิดข้อผิดพลาด (Copying Errors) ขึ้น และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ (Genetic Mutation)
การกลายพันธุ์ไม่ได้ทำให้เชื้อไวรัสพัฒนาเป็นเชื้อที่รุนแรงขึ้นเสมอไป บางครั้งไวรัสอาจกลายพันธุ์และหายไปเอง แต่หากไวรัสที่กลายพันธุ์แล้วยังคงอยู่และได้รับการตรวจพบ ก็จะถูกบันทึกเป็นสายพันธุ์ (Variant) ใหม่ๆ ต่อไป
เมื่อไวรัสสะสมการกลายพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ การทำงานของไวรัสก็จะแตกต่างไปจากเชื้อดั้งเดิม ทำให้วัคซีนที่เคยใช้รับมือกับเชื้อดั้งเดิมได้อาจมีประสิทธิภาพลดลง รวมถึงองค์ประกอบหรือลักษณะบางอย่างของไวรัสอาจเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้นหรือเพิ่มจำนวนได้เร็วขึ้น
ปัจจุบัน ไวรัส SARS-CoV-2 มี Variant ใหม่ๆ ที่ตรวจพบจำนวนมาก แต่ Variant ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดอยู่ในกลุ่ม ‘สายพันธุ์ที่น่ากังวล’ (Variants of Concern; VOC) มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อลดการกล่าวโทษประเทศที่มีการตรวจพบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ WHO จึงเปลี่ยนชื่อสายพันธุ์เหล่านี้เป็นอักษรกรีก ได้แก่
จากการศึกษาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 นักวิจัยพบว่ามีนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) คล้ายกับเชื้อที่พบจากค้างคาวในประเทศจีน จึงทำให้เกิดการสันนิษฐานว่า ต้นกำเนิดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มาจากไวรัสที่พบในค้างคาว และเกิดการกลายพันธุ์จนสามารถแพร่จากสัตว์มาสู่คนได้ จนนำไปสู่การติดเชื้อจากคนสู่คนในที่สุด
เชื้อ COVID-19 สามารถติดต่อได้จากการรับละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย เช่น การไอจามรดกัน รวมถึงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น การสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ สัมผัสเชื้อที่อยู่บนพื้นผิวของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ และเชื้อในอากาศ ผ่านการรับเชื้อทางตา จมูก ปาก
เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 อาจอยู่บนพื้นผิวต่างๆ ได้ยาวนานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงไปจนถึง 9 วัน โดยพบว่าเชื้อจะตายอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ใต้รังสี UV จากแสงแดด ในทางตรงกันข้าม เชื้อจะอยู่บนพื้นผิวหรือในอากาศได้อย่างยาวนานที่อุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่า โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) ต่ำ อย่างไรก็ตาม WHO ยืนยันว่าเชื้อโควิด-19 ยังคงสามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้ในทุกๆ สภาพอากาศและสภาพแวดล้อม
วิธีการตรวจเชื้อ COVID-19 ที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
เมื่อติดเชื้อโรคโควิด 19 ผู้ติดเชื้ออาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการเลยก็ได้ และความรุนแรงของอาการที่แสดงก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้ติดเชื้อก่อนได้รับเชื้อด้วย ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้
ในผู้ป่วยที่แสดงอาการ มักมีอาการที่สังเกตได้ คือ มีไข้ ไอแห้ง เจ็บคอ น้ำมูกไหล หายใจเหนื่อยหอบ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้น
ในผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการทางระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงได้ ได้แก่ ปวดบวม คออักเสบ ไตวาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
อาการที่บ่งบอกว่าควรไปพบแพทย์คือ ไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียอย่างมาก ไอถี่ มีเสมหะ หายใจแรงแล้วรู้สึกเจ็บหน้าอก
ทั้งนี้ หากสงสัยว่าตนเองได้รับเชื้อ หรือมีการใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ ควรแยกตัวจากคนอื่นๆ และเริ่มกักตัวเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันทันที โดยสามารถตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยการเข้ารับการตรวจแบบ RT-PCR ที่โรงพยาบาล หรือแล็บเทคนิคการแพทย์อื่นๆ ที่ได้รับการรับรอง หรือตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ Rapid Antigen Test ที่ได้รับการรับรองจากอย. หากผลเป็นบวก ควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที
กรมการแพทย์ได้แบ่งการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ออกเป็น 3 กรณี ตามระดับความรุนแรงของอาการ ดังนี้
คือผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการใดๆ หรือมีอาการไม่รุนแรง กล่าวคือ มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น และไม่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วม และภาพถ่ายรังสีปอดปกติ แนะนำให้กักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือพักที่โรงพยาบาลสนามหรือ Hospitel เป็นเวลา 14 วัน โดยระหว่างนี้อาจจะได้รับยาตามอาการ หรือยา Favipiravir ตามดุลยพินิจของแพทย์
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1000
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน แพทย์อาจมีการให้ยา Favipiravir ร่วมกับยา Corticosteroid ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
คือผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เอกซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือการลดลงของออกซิเจนมากกว่า 3% หลังออกแรงของค่าที่วัดได้ในครั้งแรกที่ออกแรง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น
ในผู้ป่วยสีแดง แพทย์จะให้ Favipiravir เป็นเวลา 5-10 วัน โดยอาจให้ร่วมกับ Lopinavir/Ritonavir เป็นเวลา 5-10 วัน ร่วมกับ Corticosteroid
ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (High-Flow Nasal Cannula) รวมถึงเครื่องมือเพื่อประคับประคองการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในผู้ป่วยวิกฤติ
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโควิด-19 ให้หายขาดได้ ตัวยาที่ใช้ในปัจจุบันเป็นยาที่ทดลองใช้กับผู้ป่วย และมีความสามารถในการลดอาการเจ็บป่วยหรือยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสได้ เช่น
เชื้อไวรัสโควิด-19 มีมากกว่า 10 สายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์ที่มีการระบาดในประเทศไทย ณ ปัจจุบันและน่ากังวลมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์อัลฟ่า สายพันธุ์เบต้า สายพันธุ์แกมม่า สายพันธุ์เดลต้า นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์อื่นๆ ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ สายพันธุ์เอปซิลอน สายพันธุ์เซต้า สายพันธุ์อีต้า สายพันธุ์ทีต้า สายพันธุ์ไอโอต้า สายพันธุ์แคปป้า
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดคำว่า covid-19 ย่อมาจาก CO คือ Corona Vi คือ Virus D คือ Disease และ 19 คือ 2019 ชื่อทางการที่ใช้ในปัจจุบันคือ SARS-CoV-2
อาการ covid-19 ที่แสดงออกมาในผู้ป่วย ได้แก่ ไข้สูง ไอ มีเสมหะ หายใจเร็ว หอบ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ทั้งนี้ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการ
การใส่หน้ากากอนามัยควรเลือกขนาดที่พอดีกับใบหน้า แต่ไม่ควรใส่ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ชวบ เนื่องจากจะหายใจไม่ออก ทางที่ดีคือไม่ควรพาเด็กเล็กไปยังสถานที่เสี่ยง
เชื้อไวรัส Covid-19 สามารถเกาะอยู่บนพื้นผิว เช่น โลหะ ไม้ แก้ว อะลูมิเนียม กระดาษ ได้นาน 4-5 วันที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิต่ำลงถึง 4 องศาเซลเซียส เชื้อไวรัสมีชีวิตได้นานถึง 28 วัน และถ้าอุณหภูมิสูงถึง 30 องศาสเซลเซียส จะมีอายุไม่เกิน 24 ชั่วโมงเท่านั้น
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
• วิธีตรวจโควิด-19 มีแบบไหนบ้าง ต่างกันอย่างไรและตรวจแบบไหนแม่นยำกว่า
• วัคซีนโควิด-19 Sinovac (Sinovac COVID-19 Vaccine)
• วัคซีนโควิด-19 AstraZeneca (AstraZeneca COVID-19 Vaccine)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคโควิด-19 คืออะไร?
รู้จักกับไวรัสโคโรนา
ทำไมเชื้อ COVID-19 จึงมีหลายสายพันธุ์?
สาเหตุของโรคโควิด-19
การตรวจหาเชื้อ COVID-19
อาการของโรคโควิด 19
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคโควิด-19
ยารักษาโรคโควิด-19
การปฏิบัติตนเมื่อเป็นโรคโควิด 19
การป้องกันโรคโควิด-19
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคโควิด 19
โรคโควิด-19 (COVID-19) หรือ โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 เป็นโรคที่เริ่มระบาดในช่วงเดือนธันวาคมปี 2019 โดยเกิดจากการติดเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า SARS-CoV-2 ซึ่งมีต้นตอการพบเชื้อครั้งแรกที่ตลาดอาหารทะเลในเมืองอู่ฮั่น ประเทศจีน และแพร่ระบาดสู่ประเทศอื่นๆ อย่างรวดเร็ว จนกระทั่งมีการพบผู้ติดเชื้อในเกือบทุกประเทศทั่วโลก
ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนามากกว่า 199 ล้านคน และมีผู้เสียชีวิตมากกว่า 4 ล้านคน จาก 220 ประเทศ นับเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดการระบาดครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของโลก
ไวรัสโคโรนา (Coronaviruses หรือ CoVs) คือตระกูลหนึ่งของไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจและระบบทางเดินอาหาร ลักษณะเด่นของไวรัสตระกูลนี้คือ เป็นไวรัสที่มีสารพันธุกรรมชนิด RNA มีเปลือกหุ้มด้านนอกที่ประกอบด้วยโปรตีน และล้อมรอบด้วยปุ่มหนามที่เกิดจากกลุ่มคาร์โบไฮเดรต ดูคล้าย ‘มงกุฎ’ จึงถูกตั้งชื่อว่า Coronavirus
โดยมากแล้วมักพบการติดเชื้อไวรัสโคโรนาในสัตว์ แต่ก็มีไวรัสโคโรนาที่พบการติดเชื้อและก่อโรคในมนุษย์ (Human coronaviruses) อยู่มากกว่า 30 สายพันธุ์ด้วยกัน ซึ่งสามารถแบ่งออกคร่าวๆ ได้ 2 กลุ่ม ดังนี้
เช่น HCoV-229E, HCoV-OC43, HCoV-NL63, และ HCoV-HKU1
เป็น 4 สายพันธุ์หลักที่มักก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจที่ไม่รุนแรง มักเป็นเพียงไข้หวัดทั่วไป (Common Cold) โดยมีการพบว่าไวรัส 4 สายพันธุ์นี้เป็นสาเหตุให้เกิดไข้หวัดราว 30% ของผู้ป่วยทั้งหมด
และถึงแม้จะพบได้น้อย แต่ไวรัส 4 สายพันธุ์ดังกล่าวอาจก่อโรคในระบบทางเดินหายใจส่วนบนที่มีอาการรุนแรงได้เช่นกัน เช่น ปอดอักเสบ (Pneumonia) และโรคหลอดลมฝอยอักเสบ (Bronchiolitis) โดยมักพบการติดเชื้ออื่นๆ ในระบบทางเดินหายใจร่วมด้วย รวมถึงอาจก่อให้เกิดอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหาร เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง นอกจากนี้ ไวรัส HCoV-OC43 ยังอาจกลายพันธุ์จนทำให้เกิดการติดเชื้อในสมองได้อีกด้วย
ตัวอย่างเชื้อไวรัส เช่น
เช่นเดียวไวรัสชนิดอื่นๆ ไวรัส SARS-CoV-2 นั้นสามารถแพร่พันธุ์ได้ด้วยการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตัวเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง โดยขั้นตอนการถ่ายทอดพันธุกรรมนี้ อาจเกิดข้อผิดพลาด (Copying Errors) ขึ้น และทำให้เกิดการกลายพันธุ์ (Genetic Mutation)
การกลายพันธุ์ไม่ได้ทำให้เชื้อไวรัสพัฒนาเป็นเชื้อที่รุนแรงขึ้นเสมอไป บางครั้งไวรัสอาจกลายพันธุ์และหายไปเอง แต่หากไวรัสที่กลายพันธุ์แล้วยังคงอยู่และได้รับการตรวจพบ ก็จะถูกบันทึกเป็นสายพันธุ์ (Variant) ใหม่ๆ ต่อไป
เมื่อไวรัสสะสมการกลายพันธุ์มากขึ้นเรื่อยๆ การทำงานของไวรัสก็จะแตกต่างไปจากเชื้อดั้งเดิม ทำให้วัคซีนที่เคยใช้รับมือกับเชื้อดั้งเดิมได้อาจมีประสิทธิภาพลดลง รวมถึงองค์ประกอบหรือลักษณะบางอย่างของไวรัสอาจเปลี่ยนแปลงไปจนทำให้สามารถแพร่เชื้อได้ง่ายขึ้นหรือเพิ่มจำนวนได้เร็วขึ้น
ปัจจุบัน ไวรัส SARS-CoV-2 มี Variant ใหม่ๆ ที่ตรวจพบจำนวนมาก แต่ Variant ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดอยู่ในกลุ่ม ‘สายพันธุ์ที่น่ากังวล’ (Variants of Concern; VOC) มีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ด้วยกัน ทั้งนี้ เพื่อลดการกล่าวโทษประเทศที่มีการตรวจพบเชื้อสายพันธุ์ใหม่ WHO จึงเปลี่ยนชื่อสายพันธุ์เหล่านี้เป็นอักษรกรีก ได้แก่
จากการศึกษาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 นักวิจัยพบว่ามีนิวคลีโอไทด์ (Nucleotide) คล้ายกับเชื้อที่พบจากค้างคาวในประเทศจีน จึงทำให้เกิดการสันนิษฐานว่า ต้นกำเนิดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2 มาจากไวรัสที่พบในค้างคาว และเกิดการกลายพันธุ์จนสามารถแพร่จากสัตว์มาสู่คนได้ จนนำไปสู่การติดเชื้อจากคนสู่คนในที่สุด
เชื้อ COVID-19 สามารถติดต่อได้จากการรับละอองฝอยจากระบบทางเดินหายใจของผู้ป่วย เช่น การไอจามรดกัน รวมถึงการสัมผัสกับสารคัดหลั่งของผู้ติดเชื้อ เช่น การสัมผัสน้ำลาย น้ำมูก เสมหะ สัมผัสเชื้อที่อยู่บนพื้นผิวของสิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ และเชื้อในอากาศ ผ่านการรับเชื้อทางตา จมูก ปาก
เชื้อไวรัส SARS-CoV-2 ที่ก่อให้เกิดโรค COVID-19 อาจอยู่บนพื้นผิวต่างๆ ได้ยาวนานตั้งแต่ 2 ชั่วโมงไปจนถึง 9 วัน โดยพบว่าเชื้อจะตายอย่างรวดเร็วเมื่ออยู่ใต้รังสี UV จากแสงแดด ในทางตรงกันข้าม เชื้อจะอยู่บนพื้นผิวหรือในอากาศได้อย่างยาวนานที่อุณหภูมิห้องหรือต่ำกว่า โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความชื้นสัมพัทธ์ (Relative Humidity) ต่ำ อย่างไรก็ตาม WHO ยืนยันว่าเชื้อโควิด-19 ยังคงสามารถถ่ายทอดจากคนสู่คนได้ในทุกๆ สภาพอากาศและสภาพแวดล้อม
วิธีการตรวจเชื้อ COVID-19 ที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 ประเภท คือ
เมื่อติดเชื้อโรคโควิด 19 ผู้ติดเชื้ออาจแสดงอาการหรือไม่แสดงอาการเลยก็ได้ และความรุนแรงของอาการที่แสดงก็อาจแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งเกี่ยวข้องกับสุขภาพผู้ติดเชื้อก่อนได้รับเชื้อด้วย ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวมีแนวโน้มที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายได้
ในผู้ป่วยที่แสดงอาการ มักมีอาการที่สังเกตได้ คือ มีไข้ ไอแห้ง เจ็บคอ น้ำมูกไหล หายใจเหนื่อยหอบ ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นอาการเบื้องต้น
ในผู้ป่วยบางรายอาจพบอาการทางระบบทางเดินหายใจที่รุนแรงได้ ได้แก่ ปวดบวม คออักเสบ ไตวาย ซึ่งอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้
อาการที่บ่งบอกว่าควรไปพบแพทย์คือ ไข้สูงเกิน 37.5 องศาเซลเซียส ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลียอย่างมาก ไอถี่ มีเสมหะ หายใจแรงแล้วรู้สึกเจ็บหน้าอก
ทั้งนี้ หากสงสัยว่าตนเองได้รับเชื้อ หรือมีการใกล้ชิดกับผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าติดเชื้อ ควรแยกตัวจากคนอื่นๆ และเริ่มกักตัวเป็นเวลาอย่างน้อย 14 วันทันที โดยสามารถตรวจยืนยันการติดเชื้อด้วยการเข้ารับการตรวจแบบ RT-PCR ที่โรงพยาบาล หรือแล็บเทคนิคการแพทย์อื่นๆ ที่ได้รับการรับรอง หรือตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ Rapid Antigen Test ที่ได้รับการรับรองจากอย. หากผลเป็นบวก ควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทันที
กรมการแพทย์ได้แบ่งการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 ออกเป็น 3 กรณี ตามระดับความรุนแรงของอาการ ดังนี้
คือผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อแต่ไม่มีอาการใดๆ หรือมีอาการไม่รุนแรง กล่าวคือ มีไข้ ไอ มีน้ำมูก ตาแดง ผื่นขึ้น และไม่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ร่วม และภาพถ่ายรังสีปอดปกติ แนะนำให้กักตัวที่บ้าน (Home Isolation) หรือพักที่โรงพยาบาลสนามหรือ Hospitel เป็นเวลา 14 วัน โดยระหว่างนี้อาจจะได้รับยาตามอาการ หรือยา Favipiravir ตามดุลยพินิจของแพทย์
ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีอาการเหนื่อยหอบ หายใจเร็ว มีปัจจัยเสี่ยงอาการรุนแรงหรือโรคร่วม เช่น อายุมากกว่า 60 ปี โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคปอดเรื้อรังอื่นๆ ไตเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคหัวใจแต่กำเนิด โรคหลอดเลือดสมอง เบาหวานที่คุมไม่ได้ ภาวะอ้วน น้ำหนักเกิน 90 กิโลกรัม ตับแข็ง ภูมิคุ้มกันต่ำ และเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 1000
ผู้ป่วยกลุ่มนี้ควรเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 14 วัน แพทย์อาจมีการให้ยา Favipiravir ร่วมกับยา Corticosteroid ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์
คือผู้ป่วยที่มีอาการหอบเหนื่อย หายใจลำบาก เอกซเรย์พบปอดอักเสบรุนแรง มีภาวะปอดบวม ความอิ่มตัวของเลือดน้อยกว่า 96% หรือการลดลงของออกซิเจนมากกว่า 3% หลังออกแรงของค่าที่วัดได้ในครั้งแรกที่ออกแรง ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลเท่านั้น
ในผู้ป่วยสีแดง แพทย์จะให้ Favipiravir เป็นเวลา 5-10 วัน โดยอาจให้ร่วมกับ Lopinavir/Ritonavir เป็นเวลา 5-10 วัน ร่วมกับ Corticosteroid
ในผู้ป่วยบางรายที่มีอาการรุนแรง แพทย์อาจจะต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ (High-Flow Nasal Cannula) รวมถึงเครื่องมือเพื่อประคับประคองการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในผู้ป่วยวิกฤติ
ปัจจุบันยังไม่มียาที่สามารถรักษาโควิด-19 ให้หายขาดได้ ตัวยาที่ใช้ในปัจจุบันเป็นยาที่ทดลองใช้กับผู้ป่วย และมีความสามารถในการลดอาการเจ็บป่วยหรือยับยั้งการแพร่กระจายของไวรัสได้ เช่น
เชื้อไวรัสโควิด-19 มีมากกว่า 10 สายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์ที่มีการระบาดในประเทศไทย ณ ปัจจุบันและน่ากังวลมี 4 สายพันธุ์ ได้แก่ สายพันธุ์อัลฟ่า สายพันธุ์เบต้า สายพันธุ์แกมม่า สายพันธุ์เดลต้า นอกจากนี้ยังมีสายพันธุ์อื่นๆ ที่ต้องเฝ้าระวัง ได้แก่ สายพันธุ์เอปซิลอน สายพันธุ์เซต้า สายพันธุ์อีต้า สายพันธุ์ทีต้า สายพันธุ์ไอโอต้า สายพันธุ์แคปป้า
องค์การอนามัยโลกได้กำหนดคำว่า covid-19 ย่อมาจาก CO คือ Corona Vi คือ Virus D คือ Disease และ 19 คือ 2019 ชื่อทางการที่ใช้ในปัจจุบันคือ SARS-CoV-2
อาการ covid-19 ที่แสดงออกมาในผู้ป่วย ได้แก่ ไข้สูง ไอ มีเสมหะ หายใจเร็ว หอบ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ทั้งนี้ในผู้ป่วยบางรายอาจไม่แสดงอาการ
การใส่หน้ากากอนามัยควรเลือกขนาดที่พอดีกับใบหน้า แต่ไม่ควรใส่ในเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 2 ชวบ เนื่องจากจะหายใจไม่ออก ทางที่ดีคือไม่ควรพาเด็กเล็กไปยังสถานที่เสี่ยง
เชื้อไวรัส Covid-19 สามารถเกาะอยู่บนพื้นผิว เช่น โลหะ ไม้ แก้ว อะลูมิเนียม กระดาษ ได้นาน 4-5 วันที่อุณหภูมิ 20 องศาเซลเซียส หากอุณหภูมิต่ำลงถึง 4 องศาเซลเซียส เชื้อไวรัสมีชีวิตได้นานถึง 28 วัน และถ้าอุณหภูมิสูงถึง 30 องศาสเซลเซียส จะมีอายุไม่เกิน 24 ชั่วโมงเท่านั้น
บทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
• วิธีตรวจโควิด-19 มีแบบไหนบ้าง ต่างกันอย่างไรและตรวจแบบไหนแม่นยำกว่า
• วัคซีนโควิด-19 Sinovac (Sinovac COVID-19 Vaccine)
• วัคซีนโควิด-19 AstraZeneca (AstraZeneca COVID-19 Vaccine)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล