✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
กาฬโรคคืออะไร?
สาเหตุของกาฬโรค
อาการของกาฬโรค
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษากาฬโรค
ยารักษากาฬโรค
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นกาฬโรค
การป้องกันกาฬโรค
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกาฬโรค
ทุกวันนี้หากใครพูดถึง “กาฬโรค” ก็แทบไม่มีคนสนใจฟัง เพราะคิดว่าเป็นโรคติดต่อในอดีตที่ปัจจุบันแทบไม่พบแล้ว แต่ความจริงก็คือ ทุกวันนี้ทุกประเทศทั่วโลกยังคงพบผู้ที่ติดเชื้อกาฬโรคไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อปี 2020 ในมองโกเลียที่อยู่ในเขตปกครองของจีน พบว่ามีผู้ป่วยกาฬโรคจนจีนต้องประกาศยกระดับการเตือนภัย เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้น้อยแต่ลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะแค่หายใจร่วมกันก็สามารถติดเชื้อได้แล้ว
กาฬโรคเป็นโรคติดต่อโดยเริ่มจากสัตว์สู่คน ซึ่งกาฬโรคมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น “Black Death” หรือ “Plaque” เหตุผลที่นิยมเรียกกาฬโรคว่า “มรณะดำ” (Black Death) เนื่องจากในอดีตกาฬโรคถือเป็นโรคร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่ง ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนอย่างมหาศาลชนิดที่ไม่มีโรคใดเทียบชั้นได้ จนถึงขนาดที่คนไทยพร้อมใจกันตั้งชื่อให้โรคนี้ว่า “โรคห่า” เลยทีเดียว
Yersinia Pestis (เยอร์ซิเนีย เปสติส) คือเชื้อกาฬโรค โดยเชื้อนี้มักพบอยู่ในหนูหรือกระรอกที่เป็นสัตว์ฟันแทะ ซึ่งมีหมัดหนู (Rodent Flea) เป็นพาหะสำคัญ และเมื่อหนูถูกหมัดที่มีเชื้อนี้กัดแล้วหนูไปกัดคนต่อ ก็จะเกิดการติดต่อกลายเป็นโรคระบาดต่อไป
อาการที่เห็นได้ชัดคือต่อมน้ำเหลืองบวมหรือรู้สึกเจ็บบริเวณนั้น ซึ่งอาการบวมมักจะเกิดที่ คอ รักแร้ หรือขาหนีบ โดยบริเวณที่บวมมักจะมีขนาดประมาณฟองไข่ไก่ ซึ่งอาจจะเกิดบริเวณอวัยวะเดียวหรือหลายอวัยวะก็ได้
กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague) คือกาฬโรคชนิดหนึ่งที่พบได้มาก โดยจะเกิดการบวมที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นบริเวณที่เชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ได้ง่ายมาก ดังนั้นการปล่อยเอาไว้จึงอันตรายอย่างยิ่ง
อาการของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง
กาฬโรคปอด (Pneumonic Plague) คือกาฬโรคชนิดที่ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว หรือผู้ป่วยมีโอกาสหมดสติได้ภายใน 2 วันหลังจากการรับเชื้อ นอกจากนี้กาฬโรคปอดยังเป็นประเภทกาฬโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรงที่สุด ทั้งยังติดต่อจากคนสู่คนได้ง่ายที่สุดด้วย เพราะเพียงแค่ไอจามรดกันก็ติดต่อได้เร็วไม่แพ้ไฟลามทุ่งเลยทีเดียว
อาการของกาฬโรคปอด
หมอกาฬโรค หรือนิยมเรียกกันว่าหมออีกาดำ (Plague Doctor) จัดเป็นกลุ่มคนสำคัญระดับโลกในช่วงยุคกลาง (คริสต์ศตวรรษที่ 13-17) เพราะเป็นกลุ่มคนที่อุทิศตนเพื่อรักษาเฉพาะโรคกาฬโรคโดยตรง เนื่องจากยุคกลางถือเป็นยุคทองของกาฬโรค แต่กลับเป็นยุคมืดของมนุษย์ เกิดการระบาดของกาฬโรคหนักหนาสาหัสมาก โดยเฉพาะช่วงปี ค.ศ.1348-1350 คาดว่ามีชาวยุโรปกว่า 30-60 % หรือ 450 ล้านคนที่ล้มตายด้วยกาฬโรค
ดังนั้นหมอที่รักษาเฉพาะกาฬโรคจึงมีผู้ต้องการสูง จนกระทั่งเกิดศึกลักพาตัวหมอกาฬโรคกันเลยทีเดียว และแม้แต่หมอที่จบใหม่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ ก็ยังถูกเกณฑ์มาเป็นหมอกาฬโรคกันหมด จนทำให้ผู้ที่ทำอาชีพนี้ได้รับค่าตอบแทนสูง เป็นที่นับหน้าถือตาและได้รับความเคารพ
ส่วนสาเหตุที่เรียกหมอกาฬโรคว่า “หมออีกา” ก็มาจากชุดของหมอกาฬโรค ซึ่งมีลักษณะคล้ายเสื้อคลุมยาวปกปิดทั้งตัว และสวมหน้ากากมีปากคล้ายจะงอยนกหรือปากอีกา โดยจะใส่เครื่องสมุนไพรลงไปในจะงอยปากอีกา เพราะเชื่อว่ากลิ่นหอมของสมุนไพรจะป้องกันเชื้อกาฬโรคที่อยู่ในอากาศได้
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่ากาฬโรค (Black Death หรือ Plaque ) เกิดจากหมัดที่มากัดหนูเป็นพาหะ แต่นอกจากนี้สัตว์อื่นๆ ก็สามารถเป็นพาหะของกาฬโรคได้เช่นกัน เพราะเมื่อหนูต้นเรื่องตายแล้ว หมัดหนูก็จะไปหาเหยื่อรายใหม่คือสัตว์อื่นๆ หรือแม้กระทั่งคน โดยมันจะกระโดดไปอาศัยแล้วกัดจนทำให้ติดเชื้อนั่นเอง
อาการของกาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) ที่พบได้ชัดเจน หลังจากการรับเชื้อไปประมาณ 2-8 วัน คือ
1. อาการเริ่มแรกจะคล้ายกับอาการไข้หวัดใหญ่ คือจะเริ่มมีไข้สูง รู้สึกหนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเนื้อตัว เพลียง่าย คลื่นไส้ อยากอาเจียน
2. จากนั้นมักจะพบอาการที่แตกต่างกันไป แต่จะพบอาการได้ใน 3 รูปแบบ ดังนี้
เมื่อรู้ว่าตัวเองเสี่ยงได้รับเชื้อ อาจจะใกล้ชิดกับผู้ป่วยมาก่อน หรือถูกสัตว์ที่เป็นพาหะกัด แล้วเริ่มมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเชื้อกาฬโรคจะแสดงอาการและรุนแรงขึ้นภายใน 1-5 วันเท่านั้น
สำหรับการรักษากาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นกาฬโรคประเภทใด และรักษาโดยการใช้ยาตามอาการ แต่ในบางรายคุณหมอก็จำเป็นจะต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย ซึ่งกาฬโรคเป็นโรคที่จะต้องรักษาค่อนข้างยาวนานจนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์
ส่วนใหญ่คุณหมอจะรักษากาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) โดยใช้ยาปฏิชีวนะต่างๆ เช่น
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกาฬโรคแล้ว การดูแลตนเองให้แข็งแรง และทำตามคำสั่งคุณหมออย่างเคร่งครัดคือสิ่งสำคัญ แต่ก็ต้องไม่ลืมรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ดังนั้นการใช้หน้ากากอนามัยตลอดเวลาจึงช่วยให้ผู้อื่นปลอดภัย และไม่แพร่เชื้อ
ผู้ป่วยกาฬโรคที่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะตามที่คุณหมอสั่ง ไม่ควรชะล่าใจ หากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติ ซึ่งอาจเนื่องมาจากการใช้ยา เช่น เตตราไซคลิน (Tetracycline) ยานี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ปวดตามข้อ หรืออาจส่งผลให้เกล็ดเลือดต่ำลงได้
พาหะหรือตัวนำของกาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) ไม่ใช่แค่หนูดังที่ได้กล่าวข้างต้น ดังนั้นไม่ว่าสัตว์หรือคนก็เป็นพาหะได้ทั้งสิ้น หากในบ้านมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว กระต่าย กระรอก ก็อาจเป็นพาหะได้ แต่หากอยู่ในฟาร์ม พวกวัว ควาย ก็สามารถเป็นพาหะของโรคได้เช่นกัน
พบกาฬโรค (Plaque) ครั้งแรกในโลกช่วงยุคกลางตอนต้น หรือ ค.ศ. 541-542 ซึ่งในยุคนี้เรียกว่า “กาฬโรคแห่งจัสติเนียน” (Plague of Justinian) โดยการระบาดเริ่มมาจากจีน ผ่านทางการส่งธัญพืชเข้ามาในเมือง และแพร่เข้าสู่กรุงคอนสแตนติโนเปิลแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก จนมีคนในเมืองล้มตายไปไม่ต่ำกว่าวันละ 10,000 คน หรือคิดเป็น 40% ของคนในเมือง
จากนั้นความน่ากลัวของกาฬโรคก็แพร่ไปสู่เมดิเตอร์เรเนียนและที่อื่นๆ ต่อไป จนกระทั่งในช่วง ค.ศ. 541-700 เป็นที่น่าตกใจอย่างยิ่งที่มีคนตายด้วยกาฬโรคทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน จนทำให้ประชากรในยุโรปลดลงไปกว่าครึ่ง
กาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) คือโรคติดเชื้อชนิดรุนแรง ซึ่งมาจากเชื้อแบคทีเรีย (Yersinia Pestis) และที่ต้องกล่าวว่าเข้าขั้นรุนแรง ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลย เพราะเชื้อสามารถแพร่ได้เร็วมาก หากคุณสงสัยว่าตนเองเป็นกาฬโรค ก็ควรรีบแยกตัวออกจากคนในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด และรีบติดต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เพื่อให้ทางโรงพยาบาลจัดหาห้องแยก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของกาฬโรคได้
การติดต่อของกาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) สามารถเกิดได้หลายทาง ดังนี้
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
กาฬโรคคืออะไร?
สาเหตุของกาฬโรค
อาการของกาฬโรค
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษากาฬโรค
ยารักษากาฬโรค
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นกาฬโรค
การป้องกันกาฬโรค
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับกาฬโรค
ทุกวันนี้หากใครพูดถึง “กาฬโรค” ก็แทบไม่มีคนสนใจฟัง เพราะคิดว่าเป็นโรคติดต่อในอดีตที่ปัจจุบันแทบไม่พบแล้ว แต่ความจริงก็คือ ทุกวันนี้ทุกประเทศทั่วโลกยังคงพบผู้ที่ติดเชื้อกาฬโรคไม่น้อย โดยเฉพาะเมื่อปี 2020 ในมองโกเลียที่อยู่ในเขตปกครองของจีน พบว่ามีผู้ป่วยกาฬโรคจนจีนต้องประกาศยกระดับการเตือนภัย เนื่องจากเป็นโรคที่พบได้น้อยแต่ลุกลามได้อย่างรวดเร็ว เพราะแค่หายใจร่วมกันก็สามารถติดเชื้อได้แล้ว
กาฬโรคเป็นโรคติดต่อโดยเริ่มจากสัตว์สู่คน ซึ่งกาฬโรคมีชื่อเรียกอีกหลายชื่อ เช่น “Black Death” หรือ “Plaque” เหตุผลที่นิยมเรียกกาฬโรคว่า “มรณะดำ” (Black Death) เนื่องจากในอดีตกาฬโรคถือเป็นโรคร้ายแรงที่สุดโรคหนึ่ง ซึ่งคร่าชีวิตผู้คนอย่างมหาศาลชนิดที่ไม่มีโรคใดเทียบชั้นได้ จนถึงขนาดที่คนไทยพร้อมใจกันตั้งชื่อให้โรคนี้ว่า “โรคห่า” เลยทีเดียว
Yersinia Pestis (เยอร์ซิเนีย เปสติส) คือเชื้อกาฬโรค โดยเชื้อนี้มักพบอยู่ในหนูหรือกระรอกที่เป็นสัตว์ฟันแทะ ซึ่งมีหมัดหนู (Rodent Flea) เป็นพาหะสำคัญ และเมื่อหนูถูกหมัดที่มีเชื้อนี้กัดแล้วหนูไปกัดคนต่อ ก็จะเกิดการติดต่อกลายเป็นโรคระบาดต่อไป
อาการที่เห็นได้ชัดคือต่อมน้ำเหลืองบวมหรือรู้สึกเจ็บบริเวณนั้น ซึ่งอาการบวมมักจะเกิดที่ คอ รักแร้ หรือขาหนีบ โดยบริเวณที่บวมมักจะมีขนาดประมาณฟองไข่ไก่ ซึ่งอาจจะเกิดบริเวณอวัยวะเดียวหรือหลายอวัยวะก็ได้
กาฬโรคต่อมน้ำเหลือง (Bubonic Plague) คือกาฬโรคชนิดหนึ่งที่พบได้มาก โดยจะเกิดการบวมที่ต่อมน้ำเหลือง ซึ่งเป็นบริเวณที่เชื้อสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆ ได้ง่ายมาก ดังนั้นการปล่อยเอาไว้จึงอันตรายอย่างยิ่ง
อาการของกาฬโรคต่อมน้ำเหลือง
กาฬโรคปอด (Pneumonic Plague) คือกาฬโรคชนิดที่ทำให้ระบบหายใจล้มเหลว หรือผู้ป่วยมีโอกาสหมดสติได้ภายใน 2 วันหลังจากการรับเชื้อ นอกจากนี้กาฬโรคปอดยังเป็นประเภทกาฬโรคที่สร้างความเสียหายรุนแรงที่สุด ทั้งยังติดต่อจากคนสู่คนได้ง่ายที่สุดด้วย เพราะเพียงแค่ไอจามรดกันก็ติดต่อได้เร็วไม่แพ้ไฟลามทุ่งเลยทีเดียว
อาการของกาฬโรคปอด
หมอกาฬโรค หรือนิยมเรียกกันว่าหมออีกาดำ (Plague Doctor) จัดเป็นกลุ่มคนสำคัญระดับโลกในช่วงยุคกลาง (คริสต์ศตวรรษที่ 13-17) เพราะเป็นกลุ่มคนที่อุทิศตนเพื่อรักษาเฉพาะโรคกาฬโรคโดยตรง เนื่องจากยุคกลางถือเป็นยุคทองของกาฬโรค แต่กลับเป็นยุคมืดของมนุษย์ เกิดการระบาดของกาฬโรคหนักหนาสาหัสมาก โดยเฉพาะช่วงปี ค.ศ.1348-1350 คาดว่ามีชาวยุโรปกว่า 30-60 % หรือ 450 ล้านคนที่ล้มตายด้วยกาฬโรค
ดังนั้นหมอที่รักษาเฉพาะกาฬโรคจึงมีผู้ต้องการสูง จนกระทั่งเกิดศึกลักพาตัวหมอกาฬโรคกันเลยทีเดียว และแม้แต่หมอที่จบใหม่ไม่ค่อยมีประสบการณ์ ก็ยังถูกเกณฑ์มาเป็นหมอกาฬโรคกันหมด จนทำให้ผู้ที่ทำอาชีพนี้ได้รับค่าตอบแทนสูง เป็นที่นับหน้าถือตาและได้รับความเคารพ
ส่วนสาเหตุที่เรียกหมอกาฬโรคว่า “หมออีกา” ก็มาจากชุดของหมอกาฬโรค ซึ่งมีลักษณะคล้ายเสื้อคลุมยาวปกปิดทั้งตัว และสวมหน้ากากมีปากคล้ายจะงอยนกหรือปากอีกา โดยจะใส่เครื่องสมุนไพรลงไปในจะงอยปากอีกา เพราะเชื่อว่ากลิ่นหอมของสมุนไพรจะป้องกันเชื้อกาฬโรคที่อยู่ในอากาศได้
ดังที่ได้กล่าวแล้วว่ากาฬโรค (Black Death หรือ Plaque ) เกิดจากหมัดที่มากัดหนูเป็นพาหะ แต่นอกจากนี้สัตว์อื่นๆ ก็สามารถเป็นพาหะของกาฬโรคได้เช่นกัน เพราะเมื่อหนูต้นเรื่องตายแล้ว หมัดหนูก็จะไปหาเหยื่อรายใหม่คือสัตว์อื่นๆ หรือแม้กระทั่งคน โดยมันจะกระโดดไปอาศัยแล้วกัดจนทำให้ติดเชื้อนั่นเอง
อาการของกาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) ที่พบได้ชัดเจน หลังจากการรับเชื้อไปประมาณ 2-8 วัน คือ
1. อาการเริ่มแรกจะคล้ายกับอาการไข้หวัดใหญ่ คือจะเริ่มมีไข้สูง รู้สึกหนาวสั่น ปวดศีรษะ ปวดเนื้อตัว เพลียง่าย คลื่นไส้ อยากอาเจียน
2. จากนั้นมักจะพบอาการที่แตกต่างกันไป แต่จะพบอาการได้ใน 3 รูปแบบ ดังนี้
เมื่อรู้ว่าตัวเองเสี่ยงได้รับเชื้อ อาจจะใกล้ชิดกับผู้ป่วยมาก่อน หรือถูกสัตว์ที่เป็นพาหะกัด แล้วเริ่มมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์ทันที เพราะเชื้อกาฬโรคจะแสดงอาการและรุนแรงขึ้นภายใน 1-5 วันเท่านั้น
สำหรับการรักษากาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) แพทย์จะวินิจฉัยว่าเป็นกาฬโรคประเภทใด และรักษาโดยการใช้ยาตามอาการ แต่ในบางรายคุณหมอก็จำเป็นจะต้องให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ หรือต้องใช้เครื่องช่วยหายใจร่วมด้วย ซึ่งกาฬโรคเป็นโรคที่จะต้องรักษาค่อนข้างยาวนานจนกว่าร่างกายจะฟื้นตัวได้อย่างสมบูรณ์
ส่วนใหญ่คุณหมอจะรักษากาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) โดยใช้ยาปฏิชีวนะต่างๆ เช่น
เมื่อได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกาฬโรคแล้ว การดูแลตนเองให้แข็งแรง และทำตามคำสั่งคุณหมออย่างเคร่งครัดคือสิ่งสำคัญ แต่ก็ต้องไม่ลืมรับผิดชอบต่อสังคมด้วย ดังนั้นการใช้หน้ากากอนามัยตลอดเวลาจึงช่วยให้ผู้อื่นปลอดภัย และไม่แพร่เชื้อ
ผู้ป่วยกาฬโรคที่จำเป็นต้องกินยาปฏิชีวนะตามที่คุณหมอสั่ง ไม่ควรชะล่าใจ หากพบว่าตนเองมีอาการผิดปกติ ซึ่งอาจเนื่องมาจากการใช้ยา เช่น เตตราไซคลิน (Tetracycline) ยานี้อาจทำให้เกิดผลข้างเคียง เช่น คลื่นไส้ อาเจียน มีผื่นขึ้นที่ผิวหนัง ปวดตามข้อ หรืออาจส่งผลให้เกล็ดเลือดต่ำลงได้
พาหะหรือตัวนำของกาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) ไม่ใช่แค่หนูดังที่ได้กล่าวข้างต้น ดังนั้นไม่ว่าสัตว์หรือคนก็เป็นพาหะได้ทั้งสิ้น หากในบ้านมีสัตว์เลี้ยง เช่น สุนัข แมว กระต่าย กระรอก ก็อาจเป็นพาหะได้ แต่หากอยู่ในฟาร์ม พวกวัว ควาย ก็สามารถเป็นพาหะของโรคได้เช่นกัน
พบกาฬโรค (Plaque) ครั้งแรกในโลกช่วงยุคกลางตอนต้น หรือ ค.ศ. 541-542 ซึ่งในยุคนี้เรียกว่า “กาฬโรคแห่งจัสติเนียน” (Plague of Justinian) โดยการระบาดเริ่มมาจากจีน ผ่านทางการส่งธัญพืชเข้ามาในเมือง และแพร่เข้าสู่กรุงคอนสแตนติโนเปิลแห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก จนมีคนในเมืองล้มตายไปไม่ต่ำกว่าวันละ 10,000 คน หรือคิดเป็น 40% ของคนในเมือง
จากนั้นความน่ากลัวของกาฬโรคก็แพร่ไปสู่เมดิเตอร์เรเนียนและที่อื่นๆ ต่อไป จนกระทั่งในช่วง ค.ศ. 541-700 เป็นที่น่าตกใจอย่างยิ่งที่มีคนตายด้วยกาฬโรคทั่วโลกมากกว่า 100 ล้านคน จนทำให้ประชากรในยุโรปลดลงไปกว่าครึ่ง
กาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) คือโรคติดเชื้อชนิดรุนแรง ซึ่งมาจากเชื้อแบคทีเรีย (Yersinia Pestis) และที่ต้องกล่าวว่าเข้าขั้นรุนแรง ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เลย เพราะเชื้อสามารถแพร่ได้เร็วมาก หากคุณสงสัยว่าตนเองเป็นกาฬโรค ก็ควรรีบแยกตัวออกจากคนในครอบครัวหรือผู้ใกล้ชิด และรีบติดต่อเจ้าหน้าที่สาธารณสุขทันที เพื่อให้ทางโรงพยาบาลจัดหาห้องแยก ซึ่งจะช่วยลดการระบาดของกาฬโรคได้
การติดต่อของกาฬโรค (Black Death หรือ Plaque) สามารถเกิดได้หลายทาง ดังนี้
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. ปองคุณ อารยะทรงศักดิ์ (GP)
คลินิคส่วนตัว
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล