✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
ยาคุมกำเนิดคืออะไร?
ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดมีกี่ประเภท?
ยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด กับ 28 เม็ด ต่างกันอย่างไร?
หลักการเลือกยาคุมกำเนิด
วิธีกินยาคุมกำเนิด
ยาคุมกำเนิดออกฤทธิ์อย่างไร?
ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุมกำเนิด
หากลืมรับประทานยาคุมกำเนิดต้องทำอย่างไร?
ข้อห้ามในการใช้ยาคุมกำเนิด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการกินยาคุมกำเนิด
ยาคุมกำเนิด (Birth Control Pill) เป็นยาเม็ดชนิดหนึ่งเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ของสตรี ในตัวยาบรรจุฮอร์โมนเพศหญิงเอาไว้ 2 ชนิด ซึ่งก็คือเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสติน (Progestin)* เพราะฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ไม่ได้ ผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมคุมกำเนิดโดยรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด เพราะช่วยยับยั้งการตั้งครรภ์ได้ดี แถมยังหาซื้อง่ายตามร้านขายยาทั่วไป รวมถึงมีความปลอดภัยต่อร่างกายในระยะยาวมากกว่าการรับประทานยาคุมฉุกเฉิน ทำให้ยาคุมเป็นตัวเลือกที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เลือกใช้
*โปรเจสติน คือฮอร์โมนสังเคราะห์เพื่อผลิตฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนเหมือนฮอร์โมนในร่างกาย
ยาคุมกำเนิดในปัจจุบัน มีทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่
ยาคุมกำเนิด 1 แผงจะมีจำนวนเม็ดไม่เท่ากัน มีจำหน่ายทั้งยาคุมแบบ 21 เม็ด และยาคุมแบบ 28 เม็ด ความแตกต่างที่ทำให้ยาคุมมีจำนวนเม็ดไม่เท่ากันก็คือ จำนวนวันที่ต้องรับประทาน วิธีกินยาคุมกำเนิด และสิ่งที่บรรจุอยู่ในตัวยาคุม โดยมีรายละเอียดดังนี้
การเลือกใช้ยาคุมกำเนิดจะต้องพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของยาคุมแต่ละชนิด รวมถึงสภาพร่างกายของสตรีเองด้วย เพราะผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจทำให้ระบบในร่างกายผิดปกติได้ เพื่อให้ได้ยาคุมที่เหมาะสมกับผู้ใช้ควรมีหลักการในการเลือกยาคุมกำเนิด ดังนี้
วิธีการกินยาคุมกำเนิดที่มีจำนวนยาไม่เท่ากันนั้น มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น จะขออธิบายวิธีกินยาคุมโดยแบ่งออกเป็นวิธีกินยาคุม 21 เม็ด และ 28 เม็ด
ยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน จะมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเพื่อขัดขวางการปฏิสนธิของอสุจิและไข่ ซึ่งการออกฤทธิ์ของยาคุมทั้งชนิดฮอร์โมนรวมและฮอร์โมนเดียว จะทำให้เกิดเมือกที่ปากมดลูกหนาขึ้นเพื่อไม่ให้อสุจิเดินทางไปหาไข่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้ผนังมดลูกบางลงเพื่อไม่ให้ตัวอ่อนสามารถฝังตัวได้ รวมถึงยับยั้งการตกไข่เพื่อไม่ให้ไข่สุกหรือทำให้ไข่ออกจากรังไข่ยากขึ้น และยังทำให้ท่อนำไข่เกิดการเคลื่อนตัวเพื่อไม่ให้ตัวอ่อนที่ผ่านการปฏิสนธิแล้วฝังตัวได้ในเวลาที่เหมาะสมตามธรรมชาติของร่างกาย ฉะนั้นแล้วเพื่อให้การออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพควรรับประทานยาคุมอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
ไม่ว่าจะรับประทานยาคุมชนิดไหนเข้าไป มักจะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับร่างกายในระหว่างที่ต้องกินยาคุม มาดูกันดีกว่าว่ามีผลข้างเคียงอะไรบ้าง โดยจำแนกออกเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมและฮอร์โมนเดี่ยว
เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าบางทีผู้ใช้อาจมีการหลงลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ้าง หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เอื้อต่อการรับประทานยาคุมให้ต่อเนื่องได้ ผู้หญิงหลายคนจึงต้องมีวิธีรับประทานยาคุมเวลาหลงลืมเพื่อรักษาประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์ให้คงอยู่ได้
ยาคุมกำเนิดมีผลข้างเคียงทำให้ร่างกายบวมน้ำ ซึ่งจะส่งผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้ ผู้หญิงคนไหนต้องการรับประทานยาคุมที่ไม่ทำให้อ้วน แนะนำให้เลือกใช้ยาคุมที่มีตัวยาดรอสไพรีโนน (Drospirenone) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดการบวมน้ำของร่างกายได้
ยาคุมกำเนิดไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งแต่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากขึ้น ถ้าหากมีการรับประทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ทานยาคุมมากกว่า 1 ปี เนื่องจากมะเร็งเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงเกินไป อาจทำให้เซลล์มะเร็งในร่างกายเติบโตตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามฮอร์โมนเอสโตรเจนในยาคุมเป็นการสังเคราะห์ขึ้นมา อยู่ในร่างกายไม่นานก็สลายตามธรรมชาติ เมื่อหยุดกินยาคุมปริมาณฮอร์โมนก็จะน้อยลง ทำให้โอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลดลง ฉะนั้นแล้วยาคุมกำเนิดไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง การเป็นมะเร็งยังคงเกิดจากสาเหตุหลักอื่นๆ เช่น กรรมพันธุ์ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร สภาพแวดล้อม
สาเหตุที่ทำให้ตั้งครรภ์อาจจะมาจากการรับประทานยาคุมที่ไม่ถูกต้อง หรือขาดวินัยในการรับประทานยาคุม จากบทความของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า การที่ร่างกายไม่ได้รับยาคุมอย่างสม่ำเสมอทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง 9% ทำให้เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ ฉะนั้นแล้วการรับประทานยาคุมที่ถูกต้องและสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ยาคุมฮอร์โมนต่ำคือยาคุมที่มีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ในขณะที่ยังคงมีฮอร์โมนโปรเจสตินในปริมาณปกติ อย่างเช่น ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหรือการไหลเวียนของเลือด และสำคัญที่สุดีผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมหลังคลอดไม่ควรรับประทานยาคุมฮอร์โมนรวมเด็ดขาด เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะไปยับยั้งการผลิตน้ำนมของแม่ ยาคุมฮอร์โมนต่ำจึงเป็นทางเลือกที่ดีสุดนั่นเอง
หากอยู่ในช่วงระหว่างการรับประทานยาคุมกำเนิดสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย ฉะนั้นแล้วต้องรับประทานยาคุมติดต่อกันเกิน 7 วันก่อน ถึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ และต้องรับประทานยาคุมในช่วงเวลาเดียวกันต่อไปจนกว่าจะหมดแผง
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
• อาการคนท้องในระยะเริ่มต้น และการดูแลตัวเองฉบับคุณแม่มือใหม่
• ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
• ยาเลื่อนประจำเดือน (Period Delay Tablets)
• ตาบอดสี (Color Blindness)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. จิรภัทร สุริยะชัยสวัสดิ์ (GP)
โรงพยาบาลกรุงเทพ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
ยาคุมกำเนิดคืออะไร?
ยาคุมกำเนิดแบบเม็ดมีกี่ประเภท?
ยาคุมกำเนิดแบบ 21 เม็ด กับ 28 เม็ด ต่างกันอย่างไร?
หลักการเลือกยาคุมกำเนิด
วิธีกินยาคุมกำเนิด
ยาคุมกำเนิดออกฤทธิ์อย่างไร?
ผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุมกำเนิด
หากลืมรับประทานยาคุมกำเนิดต้องทำอย่างไร?
ข้อห้ามในการใช้ยาคุมกำเนิด
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการกินยาคุมกำเนิด
ยาคุมกำเนิด (Birth Control Pill) เป็นยาเม็ดชนิดหนึ่งเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ของสตรี ในตัวยาบรรจุฮอร์โมนเพศหญิงเอาไว้ 2 ชนิด ซึ่งก็คือเอสโตรเจน (Estrogen) และ โปรเจสติน (Progestin)* เพราะฮอร์โมนเหล่านี้มีผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้อสุจิเข้าไปผสมกับไข่ไม่ได้ ผู้หญิงส่วนใหญ่นิยมคุมกำเนิดโดยรับประทานยาคุมกำเนิดชนิดเม็ด เพราะช่วยยับยั้งการตั้งครรภ์ได้ดี แถมยังหาซื้อง่ายตามร้านขายยาทั่วไป รวมถึงมีความปลอดภัยต่อร่างกายในระยะยาวมากกว่าการรับประทานยาคุมฉุกเฉิน ทำให้ยาคุมเป็นตัวเลือกที่ผู้หญิงส่วนใหญ่เลือกใช้
*โปรเจสติน คือฮอร์โมนสังเคราะห์เพื่อผลิตฮอร์โมนโปรเจสเทอโรนเหมือนฮอร์โมนในร่างกาย
ยาคุมกำเนิดในปัจจุบัน มีทั้งหมด 2 ชนิด ได้แก่
ยาคุมกำเนิด 1 แผงจะมีจำนวนเม็ดไม่เท่ากัน มีจำหน่ายทั้งยาคุมแบบ 21 เม็ด และยาคุมแบบ 28 เม็ด ความแตกต่างที่ทำให้ยาคุมมีจำนวนเม็ดไม่เท่ากันก็คือ จำนวนวันที่ต้องรับประทาน วิธีกินยาคุมกำเนิด และสิ่งที่บรรจุอยู่ในตัวยาคุม โดยมีรายละเอียดดังนี้
การเลือกใช้ยาคุมกำเนิดจะต้องพิจารณาถึงข้อดีและข้อเสียของยาคุมแต่ละชนิด รวมถึงสภาพร่างกายของสตรีเองด้วย เพราะผลข้างเคียงที่เกิดขึ้นอาจทำให้ระบบในร่างกายผิดปกติได้ เพื่อให้ได้ยาคุมที่เหมาะสมกับผู้ใช้ควรมีหลักการในการเลือกยาคุมกำเนิด ดังนี้
วิธีการกินยาคุมกำเนิดที่มีจำนวนยาไม่เท่ากันนั้น มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย เพื่อให้เข้าใจยิ่งขึ้น จะขออธิบายวิธีกินยาคุมโดยแบ่งออกเป็นวิธีกินยาคุม 21 เม็ด และ 28 เม็ด
ยาคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน จะมีคุณสมบัติในการเปลี่ยนแปลงระบบสืบพันธุ์เพศหญิงเพื่อขัดขวางการปฏิสนธิของอสุจิและไข่ ซึ่งการออกฤทธิ์ของยาคุมทั้งชนิดฮอร์โมนรวมและฮอร์โมนเดียว จะทำให้เกิดเมือกที่ปากมดลูกหนาขึ้นเพื่อไม่ให้อสุจิเดินทางไปหาไข่ได้ นอกจากนี้ยังทำให้ผนังมดลูกบางลงเพื่อไม่ให้ตัวอ่อนสามารถฝังตัวได้ รวมถึงยับยั้งการตกไข่เพื่อไม่ให้ไข่สุกหรือทำให้ไข่ออกจากรังไข่ยากขึ้น และยังทำให้ท่อนำไข่เกิดการเคลื่อนตัวเพื่อไม่ให้ตัวอ่อนที่ผ่านการปฏิสนธิแล้วฝังตัวได้ในเวลาที่เหมาะสมตามธรรมชาติของร่างกาย ฉะนั้นแล้วเพื่อให้การออกฤทธิ์ป้องกันการตั้งครรภ์เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพควรรับประทานยาคุมอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง
ไม่ว่าจะรับประทานยาคุมชนิดไหนเข้าไป มักจะมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นกับร่างกายในระหว่างที่ต้องกินยาคุม มาดูกันดีกว่าว่ามีผลข้างเคียงอะไรบ้าง โดยจำแนกออกเป็นผลข้างเคียงจากการรับประทานยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนรวมและฮอร์โมนเดี่ยว
เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ว่าบางทีผู้ใช้อาจมีการหลงลืมรับประทานยาคุมกำเนิดบ้าง หรืออยู่ในสถานการณ์ที่ไม่เอื้อต่อการรับประทานยาคุมให้ต่อเนื่องได้ ผู้หญิงหลายคนจึงต้องมีวิธีรับประทานยาคุมเวลาหลงลืมเพื่อรักษาประสิทธิภาพการป้องกันการตั้งครรภ์ให้คงอยู่ได้
ยาคุมกำเนิดมีผลข้างเคียงทำให้ร่างกายบวมน้ำ ซึ่งจะส่งผลต่อน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นได้ ผู้หญิงคนไหนต้องการรับประทานยาคุมที่ไม่ทำให้อ้วน แนะนำให้เลือกใช้ยาคุมที่มีตัวยาดรอสไพรีโนน (Drospirenone) เป็นส่วนประกอบ ซึ่งมีฤทธิ์ช่วยลดการบวมน้ำของร่างกายได้
ยาคุมกำเนิดไม่ได้ทำให้เป็นมะเร็งแต่จะเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งมากขึ้น ถ้าหากมีการรับประทานยาคุมติดต่อกันเป็นเวลานาน เช่น ทานยาคุมมากกว่า 1 ปี เนื่องจากมะเร็งเกิดจากระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายสูงเกินไป อาจทำให้เซลล์มะเร็งในร่างกายเติบโตตามไปด้วย แต่อย่างไรก็ตามฮอร์โมนเอสโตรเจนในยาคุมเป็นการสังเคราะห์ขึ้นมา อยู่ในร่างกายไม่นานก็สลายตามธรรมชาติ เมื่อหยุดกินยาคุมปริมาณฮอร์โมนก็จะน้อยลง ทำให้โอกาสเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งลดลง ฉะนั้นแล้วยาคุมกำเนิดไม่ใช่ปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดโรคมะเร็ง การเป็นมะเร็งยังคงเกิดจากสาเหตุหลักอื่นๆ เช่น กรรมพันธุ์ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร สภาพแวดล้อม
สาเหตุที่ทำให้ตั้งครรภ์อาจจะมาจากการรับประทานยาคุมที่ไม่ถูกต้อง หรือขาดวินัยในการรับประทานยาคุม จากบทความของมหาวิทยาลัยมหิดลพบว่า การที่ร่างกายไม่ได้รับยาคุมอย่างสม่ำเสมอทำให้ประสิทธิภาพในการป้องกันลดลง 9% ทำให้เพิ่มโอกาสการตั้งครรภ์ได้ ฉะนั้นแล้วการรับประทานยาคุมที่ถูกต้องและสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญ
ยาคุมฮอร์โมนต่ำคือยาคุมที่มีปริมาณของฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำ ในขณะที่ยังคงมีฮอร์โมนโปรเจสตินในปริมาณปกติ อย่างเช่น ยาคุมฮอร์โมนเดี่ยว ซึ่งเหมาะสำหรับผู้หญิงที่มีปัญหาสุขภาพ โดยเฉพาะปัญหาเกี่ยวกับหลอดเลือดหรือการไหลเวียนของเลือด และสำคัญที่สุดีผู้หญิงที่อยู่ในช่วงให้นมหลังคลอดไม่ควรรับประทานยาคุมฮอร์โมนรวมเด็ดขาด เพราะฮอร์โมนเอสโตรเจนจะไปยับยั้งการผลิตน้ำนมของแม่ ยาคุมฮอร์โมนต่ำจึงเป็นทางเลือกที่ดีสุดนั่นเอง
หากอยู่ในช่วงระหว่างการรับประทานยาคุมกำเนิดสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้อย่างปลอดภัย ฉะนั้นแล้วต้องรับประทานยาคุมติดต่อกันเกิน 7 วันก่อน ถึงจะสามารถมีเพศสัมพันธ์ได้ และต้องรับประทานยาคุมในช่วงเวลาเดียวกันต่อไปจนกว่าจะหมดแผง
บทความอื่นๆ ที่คุณอาจสนใจ
• อาการคนท้องในระยะเริ่มต้น และการดูแลตัวเองฉบับคุณแม่มือใหม่
• ครรภ์เป็นพิษ (Preeclampsia)
• ยาเลื่อนประจำเดือน (Period Delay Tablets)
• ตาบอดสี (Color Blindness)
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
พญ. จิรภัทร สุริยะชัยสวัสดิ์ (GP)
โรงพยาบาลกรุงเทพ
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล