✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
Aspirin คือยาอะไร?
ชื่อทางการค้าของ Aspirin
การออกฤทธิ์ของ Aspirin
รูปแบบของยา Aspirin
ยา Aspirin ราคาเท่าไหร่?
วิธีการใช้ยา Aspirin และปริมาณที่เหมาะสม
ข้อควรระวังในการใช้ยา Aspirin
ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยา Aspirin
ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับยา Aspirin
ใช้ยา Aspirin เกินขนาดควรทำอย่างไร?
การเก็บรักษายา Aspirin
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ยา Aspirin
แอสไพริน (Aspirin) มีชื่อเต็มว่า Acetyl Salicylic Acid เป็นกลุ่มยา Salicylates ใช้สำหรับแก้ปวด ลดไข้ แก้อักเสบที่เราคุ้นเคยกันดี หากใช้ระยะยาวสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งลำไส้ได้ด้วย ซึ่งเมื่อก่อนยาแอสไพรินเปรียบเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ทุกบ้านต้องมีเลยทีเดียว เนื่องจากหาซื้อง่ายตามร้านสะดวกซื้อ ให้ประสิทธิภาพในการแก้ปวด ลดไข้ได้รวดเร็ว แต่หลังจากนั้นได้มีผลวิจัยออกมาว่า แอสไพรินมีผลข้างเคียงที่ส่งผลเสียกับร่างกาย ความนิยมจึงค่อยๆ ลดลง และหันไปใช้ยาพาราเซตามอลแทน
ย้อนกลับไปเมื่อ 2,500 ปีก่อน ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) แพทย์ชาวกรีก ค้นพบว่าใบและเปลือกของต้นหลิว (Willow leaves and bark) สามารถลดไข้และแก้ปวดได้ ต่อมามีการเริ่มคิดค้นใหม่โดยนำสารซาลิซินมาสังเคราะห์เป็นกรดอเซติวซาลิไซลิก (Acetyl salicylic acid) และเรียกว่า แอสไพริน ภายหลังในปี ค.ศ. 1915 บริษัทไบเออร์ได้ผลิตเป็นรูปแบบผงออกวางจำหน่ายไปทั่วโลก นอกจากนี้ Aspinrin ยังมีชื่อทางการค้ายี่ห้ออื่น เช่น Bayer Aspirin, ALKA-SELTZER, Asatab, Cardiprin 100 mg
แอสไพรินนอกจากมีฤทธิ์ในการช่วยรักษาอาการอักเสบ อาการปวด และแก้ไข้ด้วยการยับยั้งกระบวนการผลิตสารพลอสตาแกลนดินแล้ว ยังมีกลไกการออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ มีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดโดยจะช่วยยับยั้ง Acetylating ซึ่งมีหน้าที่ทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกันเพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดสมอง รวมถึงมีฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตาย (Apoptosis) เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ทั้งนี้การป้องกันทั้งสองโรคนี้จะต้องทานแอสไพรินเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ทำให้แอสไพรินเกิดการใช้อย่างแพร่หลายทางการแพทย์
แอสไพรินมีการผลิตออกมาใช้หลายรูปแบบ ทั้งแบบผง เม็ด และน้ำ แต่แอสไพรินไวต่อความร้อนและชื้นได้ง่าย จึงนิยมผลิตออกมาเป็นรูปแบบเม็ดโดยมีปริมาณบรรจุที่ 60-1,200 มิลลิกรัม ซึ่งรูปแบบเม็ดจะช่วยเลี่ยงการเสื่อมสลายของยาได้ดีกว่ารูปแบบอื่นๆ
จากการสำรวจราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดของตัวยา มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 13-15 บาทต่อแผง
การใช้แอสไพรินสามารถแบ่งการรักษาออกตามขนาดของยา ดังนี้
การทานยาแอสไพรินควรทานพร้อมอาหารเพื่อเลี่ยงไม่ให้ยาระคายเคืองกระเพาะอาหาร สำหรับยาเม็ดห้ามกัดหรือเคี้ยวให้เม็ดยาแตกหักก่อนกลืน
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาแอสไพรินที่พบบ่อย เช่น
ผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ยาแอสไพริน เช่น
หากเกิดผลข้างเคียงเหล่านี้แม้แต่อาการเดียวให้หยุดยาและไปพบแพทย์ทันที
ให้คอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ใบหน้าบวม คัดจมูก หอบ หายใจขัด บริเวณผิวหนังมีอาการช้ำเป็นจ้ำเลือด มีเสียงในหู ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ท้องอืด จุกเสียดท้อง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที
Aspirin มีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหารได้ หากมีการรับประทานเกินขนาด หรือทานเป็นเวลานานติดต่อกันโดยไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์ หรือทานคู่กับกลุ่มยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกัน
เป็นกลุ่มยาแก้ปวด แก้อักเสบ ลดไข้เช่นเดียวกัน แต่ยา Paracetamol จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่สามารถซื้อได้เองทั่วไป ส่วนยา Aspirin เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ จำเป็นต้องได้รับยาตามความดูแลของแพทย์
เนื่องจากยา Paracetamol มีผลข้างเคียงน้อย เมื่อมีอาการปวด อักเสบ มีไข้สามารถทานได้เลยทันที ไม่เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และทานร่วมกับยากลุ่มอื่นได้ด้วย
ยาแอสไพรินสามารถใช้ต่อเนื่องได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์
Aspirin มีคุณสมบัติต้านการเกาะกลุ่มของเลือด จึงสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้เมื่อทานเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ในปริมาน 75-325 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้สั่งยาให้ตามความเหมาะสม
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
ทีมเภสัชกรของ Raksa
ปรึกษาเภสัชกรผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
Aspirin คือยาอะไร?
ชื่อทางการค้าของ Aspirin
การออกฤทธิ์ของ Aspirin
รูปแบบของยา Aspirin
ยา Aspirin ราคาเท่าไหร่?
วิธีการใช้ยา Aspirin และปริมาณที่เหมาะสม
ข้อควรระวังในการใช้ยา Aspirin
ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยา Aspirin
ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับยา Aspirin
ใช้ยา Aspirin เกินขนาดควรทำอย่างไร?
การเก็บรักษายา Aspirin
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการใช้ยา Aspirin
แอสไพริน (Aspirin) มีชื่อเต็มว่า Acetyl Salicylic Acid เป็นกลุ่มยา Salicylates ใช้สำหรับแก้ปวด ลดไข้ แก้อักเสบที่เราคุ้นเคยกันดี หากใช้ระยะยาวสามารถป้องกันโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และโรคมะเร็งลำไส้ได้ด้วย ซึ่งเมื่อก่อนยาแอสไพรินเปรียบเป็นยาสามัญประจำบ้านที่ทุกบ้านต้องมีเลยทีเดียว เนื่องจากหาซื้อง่ายตามร้านสะดวกซื้อ ให้ประสิทธิภาพในการแก้ปวด ลดไข้ได้รวดเร็ว แต่หลังจากนั้นได้มีผลวิจัยออกมาว่า แอสไพรินมีผลข้างเคียงที่ส่งผลเสียกับร่างกาย ความนิยมจึงค่อยๆ ลดลง และหันไปใช้ยาพาราเซตามอลแทน
ย้อนกลับไปเมื่อ 2,500 ปีก่อน ฮิปโปเครตีส (Hippocrates) แพทย์ชาวกรีก ค้นพบว่าใบและเปลือกของต้นหลิว (Willow leaves and bark) สามารถลดไข้และแก้ปวดได้ ต่อมามีการเริ่มคิดค้นใหม่โดยนำสารซาลิซินมาสังเคราะห์เป็นกรดอเซติวซาลิไซลิก (Acetyl salicylic acid) และเรียกว่า แอสไพริน ภายหลังในปี ค.ศ. 1915 บริษัทไบเออร์ได้ผลิตเป็นรูปแบบผงออกวางจำหน่ายไปทั่วโลก นอกจากนี้ Aspinrin ยังมีชื่อทางการค้ายี่ห้ออื่น เช่น Bayer Aspirin, ALKA-SELTZER, Asatab, Cardiprin 100 mg
แอสไพรินนอกจากมีฤทธิ์ในการช่วยรักษาอาการอักเสบ อาการปวด และแก้ไข้ด้วยการยับยั้งกระบวนการผลิตสารพลอสตาแกลนดินแล้ว ยังมีกลไกการออกฤทธิ์ที่สำคัญคือ มีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือดโดยจะช่วยยับยั้ง Acetylating ซึ่งมีหน้าที่ทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกันเพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดสมอง รวมถึงมีฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตาย (Apoptosis) เพื่อรักษาโรคมะเร็ง ทั้งนี้การป้องกันทั้งสองโรคนี้จะต้องทานแอสไพรินเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ทำให้แอสไพรินเกิดการใช้อย่างแพร่หลายทางการแพทย์
แอสไพรินมีการผลิตออกมาใช้หลายรูปแบบ ทั้งแบบผง เม็ด และน้ำ แต่แอสไพรินไวต่อความร้อนและชื้นได้ง่าย จึงนิยมผลิตออกมาเป็นรูปแบบเม็ดโดยมีปริมาณบรรจุที่ 60-1,200 มิลลิกรัม ซึ่งรูปแบบเม็ดจะช่วยเลี่ยงการเสื่อมสลายของยาได้ดีกว่ารูปแบบอื่นๆ
จากการสำรวจราคาจะขึ้นอยู่กับขนาดของตัวยา มีราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 13-15 บาทต่อแผง
การใช้แอสไพรินสามารถแบ่งการรักษาออกตามขนาดของยา ดังนี้
การทานยาแอสไพรินควรทานพร้อมอาหารเพื่อเลี่ยงไม่ให้ยาระคายเคืองกระเพาะอาหาร สำหรับยาเม็ดห้ามกัดหรือเคี้ยวให้เม็ดยาแตกหักก่อนกลืน
ผลข้างเคียงจากการใช้ยาแอสไพรินที่พบบ่อย เช่น
ผลข้างเคียงรุนแรงจากการใช้ยาแอสไพริน เช่น
หากเกิดผลข้างเคียงเหล่านี้แม้แต่อาการเดียวให้หยุดยาและไปพบแพทย์ทันที
ให้คอยสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด ถ้ามีอาการผิดปกติ เช่น วิงเวียนศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน ใบหน้าบวม คัดจมูก หอบ หายใจขัด บริเวณผิวหนังมีอาการช้ำเป็นจ้ำเลือด มีเสียงในหู ระคายเคืองกระเพาะอาหาร ท้องอืด จุกเสียดท้อง ต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลโดยทันที
Aspirin มีฤทธิ์กัดกระเพาะอาหารได้ หากมีการรับประทานเกินขนาด หรือทานเป็นเวลานานติดต่อกันโดยไม่ได้อยู่ในความดูแลของแพทย์ หรือทานคู่กับกลุ่มยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกัน
เป็นกลุ่มยาแก้ปวด แก้อักเสบ ลดไข้เช่นเดียวกัน แต่ยา Paracetamol จัดเป็นยาสามัญประจำบ้าน ที่สามารถซื้อได้เองทั่วไป ส่วนยา Aspirin เป็นยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ จำเป็นต้องได้รับยาตามความดูแลของแพทย์
เนื่องจากยา Paracetamol มีผลข้างเคียงน้อย เมื่อมีอาการปวด อักเสบ มีไข้สามารถทานได้เลยทันที ไม่เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร และทานร่วมกับยากลุ่มอื่นได้ด้วย
ยาแอสไพรินสามารถใช้ต่อเนื่องได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม และต้องอยู่ในการควบคุมดูแลของแพทย์
Aspirin มีคุณสมบัติต้านการเกาะกลุ่มของเลือด จึงสามารถป้องกันโรคหลอดเลือดสมองได้เมื่อทานเป็นระยะเวลานานติดต่อกัน ในปริมาน 75-325 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งแพทย์จะเป็นผู้สั่งยาให้ตามความเหมาะสม
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
ทีมเภสัชกรของ Raksa
ปรึกษาเภสัชกรผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล