✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงคืออะไร?
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท โดยเซลล์ดังกล่าวจะอยู่ในไขสันหลังและสมอง ซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง ทั้งกล้ามเนื้อแขนและขา รวมถึงอาการพูดไม่ชัด กลืนลำบาก หายใจลำบากด้วยเช่นกัน โดยโรคนี้จะเกิดในกลุ่มผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี ซึ่งจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงด้วย
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่เกิดความผิดปกติกับเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่สั่งการการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การเดิน วิ่ง พูด โดยปกติแล้วเซลล์ประสาทสั่งการจะออกมาจากสมอง ไขสันหลังและกระจายไปต่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อเซลล์ดังกล่าวถูกทำลายและตายลง คำสั่งให้เกิดการเคลื่อนไหวก็จะส่งไปไม่ถึงกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่อาจเกิดจาก 2 ปัจจัยสำคัญคือ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล่าวได้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย เพราะฉะนั้นอาการที่แสดงออกมา จึงมีตั้งแต่ส่วนบนก็คือใบหน้า ไปจนถึงส่วนล่างก็คือขา โดยอาการที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะดังนี้
สำหรับโรคนี้มักจะมีอาการเตือนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อเกร็งและเริ่มหดเล็กลง พูดไม่ชัด หนังตาตก หายใจติดขัด หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
ทั้งนี้ทั้งนั้น แนวทางในการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแพทย์ จะขึ้นอยู่กับอาการ อายุ ตำแหน่งที่เกิดอาการของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
กล่าวได้ว่าโรคนี้ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่วิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้ก็ถือว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะมีชีวิตอยู่ได้หลังจากแสดงอาการ 2-4 ปี แต่ในผู้ป่วยบางรายสามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี หากมีการปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งและดูแลตัวเองอย่างดี รวมถึงการได้รับกำลังใจที่ดีจากครอบครัวหรือคนรอบข้าง ก็มีส่วนทำให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตอยู่ได้ยาวนาน
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด ALS ยังเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ซึ่งการรักษาของแพทย์คือการบรรเทาอาการให้ดีขึ้น และยืดระยะเวลาในการมีชีวิตของผู้ป่วยให้นานขึ้น แต่สามารถป้องกันตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคได้ และหากเป็นแล้วก็ควรปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด รวมถึงการดูแลตัวเองอย่างดี สังเกตอาการอย่างสม่ำเสมอ
สามารถเกิดจากกรรมพันธุ์ได้ เนื่องจากมีการศึกษาและพบส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมในผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่อาจเป็นตัวทำให้เกิดโรคได้ และผู้ที่มีพ่อหรือแม่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงถึง 50%
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. จักรี ธัญยนพพร
(แพทย์ประสาทศัลยศาสตร์)
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
พ.บ. เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยรังสิต
ว.ว. ประสาทศัลยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงคืออะไร?
สาเหตุของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการของโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
อาการที่บ่งบอกว่าถึงเวลาต้องไปพบแพทย์
การรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
การป้องกันโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
ดูแลตัวเองอย่างไรเมื่อเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Amyotrophic Lateral Sclerosis) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาท โดยเซลล์ดังกล่าวจะอยู่ในไขสันหลังและสมอง ซึ่งควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงลง ทั้งกล้ามเนื้อแขนและขา รวมถึงอาการพูดไม่ชัด กลืนลำบาก หายใจลำบากด้วยเช่นกัน โดยโรคนี้จะเกิดในกลุ่มผู้ที่มีอายุระหว่าง 40-60 ปี ซึ่งจะพบในเพศชายมากกว่าเพศหญิงด้วย
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่เกิดความผิดปกติกับเซลล์ประสาทที่ทำหน้าที่สั่งการการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การเดิน วิ่ง พูด โดยปกติแล้วเซลล์ประสาทสั่งการจะออกมาจากสมอง ไขสันหลังและกระจายไปต่างส่วนต่างๆ ของร่างกาย เมื่อเซลล์ดังกล่าวถูกทำลายและตายลง คำสั่งให้เกิดการเคลื่อนไหวก็จะส่งไปไม่ถึงกล้ามเนื้อ ทำให้เกิดเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเป็นโรคที่ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่อาจเกิดจาก 2 ปัจจัยสำคัญคือ การถ่ายทอดทางพันธุกรรมและสภาพแวดล้อมหรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง กล่าวได้ว่าสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกส่วนของร่างกาย เพราะฉะนั้นอาการที่แสดงออกมา จึงมีตั้งแต่ส่วนบนก็คือใบหน้า ไปจนถึงส่วนล่างก็คือขา โดยอาการที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะดังนี้
สำหรับโรคนี้มักจะมีอาการเตือนต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นกล้ามเนื้อเกร็งและเริ่มหดเล็กลง พูดไม่ชัด หนังตาตก หายใจติดขัด หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบไปพบแพทย์เพื่อทำการรักษา
ทั้งนี้ทั้งนั้น แนวทางในการรักษาโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงของแพทย์ จะขึ้นอยู่กับอาการ อายุ ตำแหน่งที่เกิดอาการของผู้ป่วย ซึ่งแพทย์จะเลือกวิธีที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ร่างกายของผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง
กล่าวได้ว่าโรคนี้ยังไม่พบสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดโรค เพราะฉะนั้นจึงไม่สามารถป้องกันได้ 100% แต่วิธีการปฏิบัติดังต่อไปนี้ก็ถือว่าสามารถลดความเสี่ยงในการเกิดโรคนี้ได้เช่นกัน
โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจะมีชีวิตอยู่ได้หลังจากแสดงอาการ 2-4 ปี แต่ในผู้ป่วยบางรายสามารถอยู่ได้ถึง 10 ปี หากมีการปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งและดูแลตัวเองอย่างดี รวมถึงการได้รับกำลังใจที่ดีจากครอบครัวหรือคนรอบข้าง ก็มีส่วนทำให้ผู้ป่วยดำรงชีวิตอยู่ได้ยาวนาน
โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิด ALS ยังเป็นโรคที่รักษาไม่หายขาด ซึ่งการรักษาของแพทย์คือการบรรเทาอาการให้ดีขึ้น และยืดระยะเวลาในการมีชีวิตของผู้ป่วยให้นานขึ้น แต่สามารถป้องกันตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคได้ และหากเป็นแล้วก็ควรปฏิบัติตัวตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัด รวมถึงการดูแลตัวเองอย่างดี สังเกตอาการอย่างสม่ำเสมอ
สามารถเกิดจากกรรมพันธุ์ได้ เนื่องจากมีการศึกษาและพบส่วนหนึ่งของสารพันธุกรรมในผู้ที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ที่อาจเป็นตัวทำให้เกิดโรคได้ และผู้ที่มีพ่อหรือแม่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงมีความเสี่ยงเป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงถึง 50%
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
นพ. จักรี ธัญยนพพร
(แพทย์ประสาทศัลยศาสตร์)
โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
พ.บ. เกียรตินิยมอันดับ 2 มหาวิทยาลัยรังสิต
ว.ว. ประสาทศัลยศาสตร์ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า
ปรึกษาคุณหมอผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล