✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
ยา Acyclovir คืออะไร?
ชื่อทางการค้า Acyclovir
การออกฤทธิ์ของยา Acyclovir
รูปแบบของยา Acyclovir
ยา Acyclovir ราคาประมาณเท่าไหร่
วิธีใช้ยา Acyclovir และปริมาณที่เหมาะสม
ข้อควรระวังในการใช้ยา Acyclovir
ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยา Acyclovir
ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับยา Acyclovir
ใช้ยา Acyclovir เกินขนาดควรทำอย่างไร?
ลืมใช้ยา Acyclovir ควรทำอย่างไร?
การเก็บรักษายา Acyclovir
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยา Acyclovir
ยาอะไซโคลเวียร์ หรือ Acyclovir เป็นยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสได้หลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อไวรัสจำพวกเฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex virus) หรือ HSV-1 และ HSV-2 และ Varicella virus ที่ผิวหนังเยื่อบุต่างๆ เช่น โรคเริม โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างคล้ายกันกับ Purine nucleoside ที่เข้าไปรบกวนการสร้างและสังเคราะห์สารทางพันธุกรรม (DNA) ของเชื้อไวรัส ช่วยให้เชื้อไวรัสอ่อนกำลังลง ทำให้อาการป่วยหายไวขึ้น ลดอาการเจ็บปวดหรือคันบริเวณแผลที่เกิดจากไวรัส นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ตัวยา Acyclovir ยังช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย
ชื่อมาตรฐานคือ Acyclovir หรือ BNN และ rINN มีชื่อสามัญทางยาในภาษาไทยว่า อะไซโคลเวียร์ และมีชื่อทางการค้าว่า อะไซเวียร์ (Acyvir), เอซีวี (A.C.V.), อะโซแวกซ์ (Azovax), ไคลโนเวียร์ (Clinovir), โคลวิน (Clovin), โคลวิรา (Clovira), โคลเซอร์ (Colsor), โคเวียร์ (Covir), ไซโคลแรกซ์ (Cyclorax), ดีโคลเวียร์ (Declovir), เอนเทียร์ (Entir), ฟาเลิร์ม (Falerm), ไวเวียร์ (Vivir), ไวโซ (Vizo), เซวิน (Zevin), โซโควิน (Zocovin), โซวิแรกซ์ (Zovirax) ฯลฯ
ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex) ที่บริเวณผิวหนังและเยื่อบุเมือก (Mucous membrane) เช่น โรคเริม โรคงูสวัด โรคอีสุกอีใส เป็นต้น โดยจะช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสชนิด Herpes simplex virus 1 (HSV-1) ได้มากที่สุด และรองลงมาเป็นเชื้อไวรัสชนิด Herpes simplex virus 2 (HSV-2) รวมไปถึงเชื้อไวรัส VZV, EBV และ CMV ตามลําดับ
ประเทศไทยมีรูปแบบของยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) จำหน่าย ทั้งรูปแบบยาเม็ด ยาฉีด ยาป้ายตา ยาทาผิวหนังเฉพาะที่ในระดับความเข้มข้นของตัวยา 5%
จากการสำรวจราคากลาง มักขึ้นอยู่กับขนาดบรรจุและรูปแบบของยา โดยพบว่ารูปแบบเม็ดขนาดบรรจุ 200 มิลลิกรัม ราคาเริ่มต้นที่ 3 บาท
ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) มีวิธีใช้รักษาโรค และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยแบ่งตามช่วงวัย ดังนี้
รักษาโรคเริม
รักษาโรคอีสุกอีใส
รักษาโรคเริม
รักษาโรคอีสุกอีใส
จะเป็นการให้ยาตามน้ำหนักตัวของเด็ก คือ ยา Acyclovir 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 800 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งคร่าวๆ ตามช่วงอายุได้ ดังนี้
อาการข้างเคียงทั่วไปของยา Acyclovir ดังนี้
อาการแพ้ยา Acyclovir ดังนี้
หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบหยุดยาและไปพบแพทย์ทันที
กลุ่มยาที่ไม่ควรรับประทานร่วมกับยา Acyclovir มีด้วยกันหลายตัว เนื่องจากอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาตัวใดตัวหนึ่งลดลง ทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงขึ้น หรืออาจทำให้ตัวยาอยู่ในร่างกายนานกว่าปกติ ซึ่งตัวยาที่ไม่ควรรับประทานร่วมกับยา Acyclovir เช่น
หากมีการใช้ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) เกิดขนาด ผู้ป่วยต้องคอยสังเกตอาการว่ามีอาการข้างเคียงและแพ้รุนแรงหรือไม่ เช่น ถ้ามีอาการผื่นลมพิษ ผิวและตามีสีเหลือง เลือดออกบริเวณผิวหนังมากผิดปกติ ชัก เป็นลม หายใจติดขัด แน่นหน้าอก เลือดออกขณะปัสสาวะ หรือปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เห็นภาพหลอน ฯลฯ ผู้ป่วยต้องรีบเข้าพบแพทย์โดยทันที
กรณีที่ลืมรับประทานยาแนะนำว่า ให้รับประทานในครั้งถัดไปแทน โดยที่ไม่ต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือแพ้ยารุนแรงได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องรับประทานเวลาเดิมทุกครั้งเป็นประจำทุกวันเพื่อป้องกันการลืม
การเก็บรักษายาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ในเบื้องต้นต้องเก็บในบรรจุภัณฑ์เดิมที่บรรจุมาทีแรก ต้องเก็บในอุณหภูมิ 15-25 องศาเซลเซียส และไม่ควรเก็บในที่ร้อน ชื้น ทั้งนี้เมื่อหมดอายุต้องเก็บทิ้งโดยทันที
เนื่องจากยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) มีหลายรูปแบบและหลายขนาด จำเป็นต้องปรึกษาเภสัชกรได้ตามร้านขายยาก่อนซื้อใช้เองทุกครั้ง
Acyclovir cream เป็นยาชนิดครีมทาผิวที่มีตัวยา Acyclovir ช่วยในเรื่องการลดอาการปวด และทำให้แผลหายไวขึ้น แต่ไม่ช่วยฆ่าเชื้อหรือลดปริมาณเชื้อ
สำหรับผู้ที่แพ้ Acyclovir สามารถใช้ยา Famcyclovir และ Valacyclovir แทนได้
เบื้องต้นแพทย์จะจ่ายยาให้ในปริมาณที่เหมาะสมกับอาการของโรคและช่วงวัย โดยทั่วไปจะให้รับประทานในปริมาณ 200 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 วัน เป็นต้น หรือให้รับประทานตามที่แพทย์และเภสัชกรกำหนดอย่างเคร่งครัด
แบบรับประทานสามารถใช้ได้หลายขนาด เช่น 200 400 800 มิลลิกรัม ส่วนยาแบบทาจะมีระดับความเข้มข้น 3%-5% ซึ่งรูปแบบรับประทานจะให้ประสิทธิภาพดีกว่าแบบทา ทั้งความคุ้มค่า ความสะดวก และผลลัพธ์ที่ดีกว่า
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
ทีมเภสัชกรของ Raksa
ปรึกษาเภสัชกรผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล
✅ บทความนี้ได้รับการตรวจสอบแล้ว
KEY POINTS:
Table of Contents
ยา Acyclovir คืออะไร?
ชื่อทางการค้า Acyclovir
การออกฤทธิ์ของยา Acyclovir
รูปแบบของยา Acyclovir
ยา Acyclovir ราคาประมาณเท่าไหร่
วิธีใช้ยา Acyclovir และปริมาณที่เหมาะสม
ข้อควรระวังในการใช้ยา Acyclovir
ผลข้างเคียงและอาการแพ้ยา Acyclovir
ยาที่ไม่ควรใช้ร่วมกับยา Acyclovir
ใช้ยา Acyclovir เกินขนาดควรทำอย่างไร?
ลืมใช้ยา Acyclovir ควรทำอย่างไร?
การเก็บรักษายา Acyclovir
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับยา Acyclovir
ยาอะไซโคลเวียร์ หรือ Acyclovir เป็นยาที่ใช้รักษาโรคติดเชื้อไวรัสได้หลายชนิด โดยเฉพาะเชื้อไวรัสจำพวกเฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex virus) หรือ HSV-1 และ HSV-2 และ Varicella virus ที่ผิวหนังเยื่อบุต่างๆ เช่น โรคเริม โรคงูสวัด และโรคอีสุกอีใส ซึ่งเป็นสารสังเคราะห์ที่มีโครงสร้างคล้ายกันกับ Purine nucleoside ที่เข้าไปรบกวนการสร้างและสังเคราะห์สารทางพันธุกรรม (DNA) ของเชื้อไวรัส ช่วยให้เชื้อไวรัสอ่อนกำลังลง ทำให้อาการป่วยหายไวขึ้น ลดอาการเจ็บปวดหรือคันบริเวณแผลที่เกิดจากไวรัส นอกจากนี้สำหรับผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ตัวยา Acyclovir ยังช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไปยังส่วนอื่นๆ ของร่างกายอีกด้วย
ชื่อมาตรฐานคือ Acyclovir หรือ BNN และ rINN มีชื่อสามัญทางยาในภาษาไทยว่า อะไซโคลเวียร์ และมีชื่อทางการค้าว่า อะไซเวียร์ (Acyvir), เอซีวี (A.C.V.), อะโซแวกซ์ (Azovax), ไคลโนเวียร์ (Clinovir), โคลวิน (Clovin), โคลวิรา (Clovira), โคลเซอร์ (Colsor), โคเวียร์ (Covir), ไซโคลแรกซ์ (Cyclorax), ดีโคลเวียร์ (Declovir), เอนเทียร์ (Entir), ฟาเลิร์ม (Falerm), ไวเวียร์ (Vivir), ไวโซ (Vizo), เซวิน (Zevin), โซโควิน (Zocovin), โซวิแรกซ์ (Zovirax) ฯลฯ
ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ ซิมเพล็กซ์ (Herpes simplex) ที่บริเวณผิวหนังและเยื่อบุเมือก (Mucous membrane) เช่น โรคเริม โรคงูสวัด โรคอีสุกอีใส เป็นต้น โดยจะช่วยยับยั้งเชื้อไวรัสชนิด Herpes simplex virus 1 (HSV-1) ได้มากที่สุด และรองลงมาเป็นเชื้อไวรัสชนิด Herpes simplex virus 2 (HSV-2) รวมไปถึงเชื้อไวรัส VZV, EBV และ CMV ตามลําดับ
ประเทศไทยมีรูปแบบของยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) จำหน่าย ทั้งรูปแบบยาเม็ด ยาฉีด ยาป้ายตา ยาทาผิวหนังเฉพาะที่ในระดับความเข้มข้นของตัวยา 5%
จากการสำรวจราคากลาง มักขึ้นอยู่กับขนาดบรรจุและรูปแบบของยา โดยพบว่ารูปแบบเม็ดขนาดบรรจุ 200 มิลลิกรัม ราคาเริ่มต้นที่ 3 บาท
ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) มีวิธีใช้รักษาโรค และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม โดยแบ่งตามช่วงวัย ดังนี้
รักษาโรคเริม
รักษาโรคอีสุกอีใส
รักษาโรคเริม
รักษาโรคอีสุกอีใส
จะเป็นการให้ยาตามน้ำหนักตัวของเด็ก คือ ยา Acyclovir 20 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมแต่ไม่เกิน 800 มิลลิกรัมต่อวัน แบ่งคร่าวๆ ตามช่วงอายุได้ ดังนี้
อาการข้างเคียงทั่วไปของยา Acyclovir ดังนี้
อาการแพ้ยา Acyclovir ดังนี้
หากมีอาการเหล่านี้ให้รีบหยุดยาและไปพบแพทย์ทันที
กลุ่มยาที่ไม่ควรรับประทานร่วมกับยา Acyclovir มีด้วยกันหลายตัว เนื่องจากอาจทำให้ประสิทธิภาพของยาตัวใดตัวหนึ่งลดลง ทำให้เกิดผลข้างเคียงรุนแรงขึ้น หรืออาจทำให้ตัวยาอยู่ในร่างกายนานกว่าปกติ ซึ่งตัวยาที่ไม่ควรรับประทานร่วมกับยา Acyclovir เช่น
หากมีการใช้ยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) เกิดขนาด ผู้ป่วยต้องคอยสังเกตอาการว่ามีอาการข้างเคียงและแพ้รุนแรงหรือไม่ เช่น ถ้ามีอาการผื่นลมพิษ ผิวและตามีสีเหลือง เลือดออกบริเวณผิวหนังมากผิดปกติ ชัก เป็นลม หายใจติดขัด แน่นหน้าอก เลือดออกขณะปัสสาวะ หรือปัสสาวะน้อยกว่าปกติ เห็นภาพหลอน ฯลฯ ผู้ป่วยต้องรีบเข้าพบแพทย์โดยทันที
กรณีที่ลืมรับประทานยาแนะนำว่า ให้รับประทานในครั้งถัดไปแทน โดยที่ไม่ต้องเพิ่มปริมาณยาเป็นสองเท่า เพราะอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงหรือแพ้ยารุนแรงได้ ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องรับประทานเวลาเดิมทุกครั้งเป็นประจำทุกวันเพื่อป้องกันการลืม
การเก็บรักษายาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) ในเบื้องต้นต้องเก็บในบรรจุภัณฑ์เดิมที่บรรจุมาทีแรก ต้องเก็บในอุณหภูมิ 15-25 องศาเซลเซียส และไม่ควรเก็บในที่ร้อน ชื้น ทั้งนี้เมื่อหมดอายุต้องเก็บทิ้งโดยทันที
เนื่องจากยาอะไซโคลเวียร์ (Acyclovir) มีหลายรูปแบบและหลายขนาด จำเป็นต้องปรึกษาเภสัชกรได้ตามร้านขายยาก่อนซื้อใช้เองทุกครั้ง
Acyclovir cream เป็นยาชนิดครีมทาผิวที่มีตัวยา Acyclovir ช่วยในเรื่องการลดอาการปวด และทำให้แผลหายไวขึ้น แต่ไม่ช่วยฆ่าเชื้อหรือลดปริมาณเชื้อ
สำหรับผู้ที่แพ้ Acyclovir สามารถใช้ยา Famcyclovir และ Valacyclovir แทนได้
เบื้องต้นแพทย์จะจ่ายยาให้ในปริมาณที่เหมาะสมกับอาการของโรคและช่วงวัย โดยทั่วไปจะให้รับประทานในปริมาณ 200 มิลลิกรัม ทุก 4 ชั่วโมง ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 5 วัน เป็นต้น หรือให้รับประทานตามที่แพทย์และเภสัชกรกำหนดอย่างเคร่งครัด
แบบรับประทานสามารถใช้ได้หลายขนาด เช่น 200 400 800 มิลลิกรัม ส่วนยาแบบทาจะมีระดับความเข้มข้น 3%-5% ซึ่งรูปแบบรับประทานจะให้ประสิทธิภาพดีกว่าแบบทา ทั้งความคุ้มค่า ความสะดวก และผลลัพธ์ที่ดีกว่า
✅ ตรวจสอบข้อมูลโดย
ทีมเภสัชกรของ Raksa
ปรึกษาเภสัชกรผ่านแอป Raksa
แหล่งข้อมูล